สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การทดสอบสารเคมีในอาหาร

จะทดสอบสารเคมีที่มีอยู่ในอาหารอย่างไรดีค่ะ

โดย:  kwankaw   [28 ก.ค. 2551 17:03]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด สารเคมีในอาหาร-สารเจือปน สารปรุงแต่ง สารตกค้าง  /  ฐานข้อมูล แหล่งสารสนเทศ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ทดสอบ โปรตีน ใช้ ไบยูเรต
ทดสอบ น้ำตาล ใช้ CuSo4
ทดสอบ แป้ง ใช้ iodine เป็นต้น

ปล. โปรตีน น้ำตาล แป้ง = สารเคมี

ทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร
http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=1025
http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=1012

โดย:  ปั๊ป ทีมงาน ChemTrack  [28 ก.ค. 2551 17:54](แก้ไขล่าสุด: 28 ก.ค. 2551 18:04)
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

ถ้าสำหรับชาวบ้านทั่วไป
ใช้ชุดทดสอบอาหารขององค์การเภสัชกรรมก็ได้
เช่นชุดทดสอบ Borax
สามารถทำเองได้

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ กรมควบคุมโรค  [30 ก.ค. 2551 05:13]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

แนะนำให้ดูคู่มือการดำเนินงานเฝ้าระวังทางสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของกองสุขาภืบาลอาหาร กรมอนามัย บอกวิธีตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนแบบง่ายๆ (ทีมงานchemtrackช่วยเก็บคู่มือนี้เพื่อแนะนำต่อด้วย)

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [30 ก.ค. 2551 08:41]
ข้อคิดเห็นที่ 2:4

ทําอย่างไง


โดย:  แบม  [4 มี.ค. 2552 18:01]
ข้อคิดเห็นที่ 3:5

ไปหัดทําอย่างไง

โดย:  แบม  [4 มี.ค. 2552 18:02]
ข้อคิดเห็นที่ 4:8

การทดสอบน้ำตาล
กลูโคส + สารละลายเบเนดิกต์  ตะกอนสีแดงอิฐ
ซูโคส + สารละลายเบเนดิกต์  สารละลายสีเขียวอมเหลือง





 

รูปที่ 1 กาทดสาลกลูโคส
2. ใช้สารละลายไอโอดีน ทดสอบทดสอบคาร์โบไฮเกุลใหญ่ ดังนี้

การทดสอบแป้ง
แป้ง + สารละลายไอโอดีน  สีน้ำเงินเข้ม
ไกลโคเจน + สารละลายไอโอดีน  สีน้ำตาลแกมแดง
เซลลูโลส + สารละลายไอโอดีน  ไม่พบการเปลี่ยนแปลง








                               
                                       
 
รูปที่ 3 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
การสังเคราะห์แสงของพืช    
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงต้องใช้พลังงาน พลังงานนี้มาจากแสงอาทิตย์เซลล์ของใบไม้ จะเห็นโครงสร้างกลมออกซิเจนจะเกิดได้จากการกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงต้องใช้พลังงาน พลังงานนี้มาจากแสงอาทิตย์เซลล์ของใบไม้ จะเห็นโค คลอโรฟิลล์เป็นสารที่ดูดแสงเงา และ น้ำ เป็น น้ำตาล ก๊าซออกซิเจนจะเกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังสมการรวมของ        กระบวนการทั้งหมดทั้งหมด ลังงานแสงถูกใช้ในการเปลี่ยน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล

 

  กระบวนการสังเคราะห์แสง


 




                 








6CO 2 + 6H 2 O +แสงและคลอโรฟิลล์  C 6 H 12 O 6 + 6O 2


                              การทดสอบผงชูรส
1.การทดสอบหาโซเดียมเมตาฟอสเฟตในผงชูรส   ทำได้โดยนำผงชูรสที่สงสัยปริมาณ 1 ช้อนชา ละลายในน้ำสะอาดครึ่งถ้วยแก้ว หยดน้ำปูนขาวผสมน้ำส้ม 4 - 5 หยดลงในน้ำสารละลายที่ต้องการทดสอบ ถ้าเป็นโซเดียมเมตาฟอสเฟตจะเกิดตะกอนสีขาว   แสดงว่าผงชูรสนั้นเป็นของปลอม ถ้าไม่เกิดตะกอนสีขาว แสดงว่าเป็นของแท้
        2.การทดสอบสาร บอแรกซ์   ทำได้โดยจุ่มผ้าหรือกระดาษขมิ้นลงในสารละลายของผงชูรสที่สงสัย ถ้าเป็นผงชูรสแท้จะไม่ทำให้ผ้าหรือกระดาษขมิ้นเปลี่ยนสี แต่ถ้าเป็นบอแรกซ์จะทำให้ผ้าหรือกระดาษขมิ้นเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีเรื่อ ๆ ทันที
     3.การทดสอบหาสารบอแรกซ์และโซเดียมเมตาฟอสเฟต   ทำได้โดยใส่ผงชูรสที่สงสัยปริมาณครึ่งช้อนชาลงในช้อนโลหะ นำไปเผาให้ร้อนจัด ถ้าเป็นผงชูรสแท้จะไหม้เป็นผงสีดำมีผงสีขาวปนเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นสารบอแรกซ์หรือโซเดียมเมตาฟอสเฟตหลังการเผาไหม้จะได้แต่ผงสีขาวเท่านั้น
ะยสารบอแรกซ์มูบด ปลาบด ทอดมัน เนื้อสด ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ
ขั้นตอนการทดสอบ
• ตักอาหาร 1 ช้อน ใส่ในถ้วย
• เติมน้ำยาทดสอบบอ แรกซ์ลงบนอาหารจนชุ่มแล้วกวนให้เข้ากัน
• จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น
• นำกระดาษขมิ้นที่จุ่มในอาหารจนเปียกแล้ววางบนจานกระเบื้องหรือแผ่นกระจกแล้วนำไปวางไว้กลางแดดนาน 10 นาที   ถ้ากระดาษขมิ้นมี   สีส้มจนถึงแดง   แสดงว่าอาหารมีสารบอ แรกซ์ปนอยู่    
สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดร ซัลไฟต์)
ใช้ทดสอบสารโซเดียมไฮโด ซัลไฟต์ในอาหาร เช่น ถั่วงอก น้ำตาลมะพร้าว ขิงฝอย หน่อไม้ดอง ทุเรียนกวน กระท้อน
ขั้นตอนการทดสอบ
• ถ้าอาหารเป็นของเหลว ให้เทตัวอย่างของเหลวนั้นลงในถ้วยพลาสติก จำนวน 5 มิลลิลิตร ถ้าอาหารเป็นของแข็ง ตักอาหารครึ่งช้อนชาใส่ในถ้วย เติมน้ำสะอาดประมาณ 10 มิลลิลิตร แล้วบดตัวอย่างให้แตก
• หยดน้ำยาทดสอบ จำนวน 1-3 หยด ลงในถ้วยเขย่าให้เข้ากัน สังเกตสีของส่วนที่เป็นน้ำในถ้วย
• ถ้าของเหลวมี สีเทา หรือ สีดำ แสดงว่าอาหารมีสารโซเดียมไฮโดร ซัลไฟต์
ถ้าของเหลวมี สีฟ้าอ่อน หรือ สีเขียว แสดงว่าอาหารไม่มีสารโซเดียมไฮโดร ซัลไฟต์
สารฟอร์มาลิน
               ใช้ทดสอบฟอร์มาลินในน้ำแช่อาหาร เช่น ปลาทะเล   อาหารทะเล
ขั้นตอนการทดสอบ
• เทน้ำแช่อาหารที่สงสัยลงในขวดสารทดสอบที่ 1 ให้ได้ความสูงของของเหลวประมาณ 1 ใน 3 ของขวด ( หากไม่มีน้ำแช่อาหาร แต่สงสัยว่าอาหารนั้นจะผ่านการแช่ฟอร์มาลินให้ใช้น้ำสะอาดรินผ่านอาหารนั้นมาในปริมาณที่พอตรวจได้ ) ปิดฝาขวดเขย่าจนสารทดสอบในขวดละลายหมด
• ถ่ายของเหลวจากขวด สารทดสอบที่ 1 ลงขวด สารทดสอบ 2 ปิดฝาขวดและเขย่าเล็กน้อย
• ถ่ายของเหลวจากขวดสารทดสอบที่ 2 ลงขวดสารทดสอบที่ 3 แล้วรีบปิดฝาขวด แกว่งเบาๆให้ของเหลวเข้ากัน สังเกตสีที่เกิดขึ้น
• ถ้ามีสีเกิดขึ้นตั้งแต่ สีชมพูจนถึงสีแดง แสดงว่าน้ำนั้นมีฟอร์มาลินผสมอยู่
สารกันรา ( กรดซาลิซิ ลิค )
               ใช้ทดสอบกรดซาลิซิ ลิคในอาหาร   เช่น ผักดอง – ผลไม้ดอง
ขั้นตอนการทดสอบ
• เทน้ำดองผักหรือน้ำดองผลไม้ ใส่ถ้วยเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ถ้วยละ 5 มิลลิลิตร
• หยดน้ำยาขวดเบอร์ 1 ( สีขาว ) ลงในถ้วยที่ 2 ประมาณครึ่งหลอดหยด
• เติมน้ำยาขวดเบอร์ 2 ( สีส้ม ) ลงในถ้วยทั้ง 2 ใบๆละ 1 มิลลิลิตร ( 1 หลอดหยด )
• ดูสีทันทีที่เติมน้ำยาจากขวดเบอร์ 2 ลงในถ้วยทั้ง 2 ใบ โดยไม่ต้องเขย่า
• ถ้าถ้วยที่ 1 มีสีเหมือนถ้วยที่ 2 แสดงว่าอาหารนั้นมีกรดซาลิซิ ลิค
ถ้าถ้วยที่ 1 มีสีไม่เหมือนถ้วยที่ 2 แสดงว่าอาหารนั้นไม่มีกรดซาลิซิ ลิค
แสง ดัง


โดย:  นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย(ปรัชญา อาร)โรงเรียน สิ่นหมิน  [22 ก.พ. 2553 21:28]
ข้อคิดเห็นที่ 5:14

Iodine
(I)
ไอโอดีน
________________________________________

เลขอะตอม 53 เป็นธาตุที่ 4 (นับจาก F) ของหมู่ VIIA ในตารางธาตุจัดเป็นโลหะ
น้ำหนักอะตอม 126.9044 amu
จุดหลอมเหลว 113.6 oC
จุดเดือด 185 oC
ความหนาแน่น 4.93 g/cc ที่ 20 oC
4.886 g/cc ที่ 60 oC
เลขออกซิเดชันสามัญ - 1, + 1, + 3, + 5, + 7

การค้นพบ
ค้นพบโดย Bernard Curtios นักเคมีชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1811 นักเคมีผู้นี้ขณะนั้นทำการผลิตโพแทสเซียมไนเตรด (KNO3) สำหรับใช้ในกองทัพนาโปเลียน (Napoleon) ซึ่งกรรมวิธีการผลิตใช้เถ้าหยาบ ๆ จาก kelp (เถ้าสาหร่ายทะเลชนิดหนึ่ง) ช่วยเก็บรักษาโพแทส (potash หรือ K2CO3) ขณะที่เขาล้าง kelp ด้วยกรดซัลฟูริกเพื่อทำลายสิ่งปนเปื้อน เขาสังเกตเกิดควันสีม่วง ซึ่งควบแน่นบนเครื่องมือที่ทำด้วยทองแดงของเขา และทำให้เครื่องมือนั้นผุกร่อน เขาพบว่าถ้านำสารละลายจากการล้าง kelp มาเติมกรดแก่มาก ๆ จะได้ตะกอนเป็นผงสีดำ และเมื่อนำตะกอนนี้ไปทำให้ร้อน ก็จะให้ไอสีม่วงเช่นกัน
ต่อมา F. Clement และ J.B. Desormes ได้ศึกษาสมบัติของสารที่ค้นพบใหม่นี้ J.L. Gay-Lussac เป็นคนแรกที่พบว่าสารนี้เป็นธาตุใหม่ และตั้งชื่อธาตุนี้ตามคำกรีกซึ่งมีความหมายว่าสีม่วง (violet)
การใช้ประโยชน์
1. ใช้ฆ่าเชื้อโรค เนื่องจาก I2 มีสมบัติฆ่าเชื้อโรคได้ นอกจากนี้ I2 และสารประกอบของ I2 ยังใช้ฆ่าเชื้อโรคของน้ำในสระว่ายน้ำฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่ม และฆ่าเชื้อโรคในระบบอื่น ๆ
2. ใช้เป็นตัวเร่งไอโอดีนและสารประกอบของไอโอดีน เช่น ในปฏิกิริยา dehydrogenation ของอัลเคน เป็นต้น
3. ใช้ในปฏิกิริยาการสังเคราะห์สารอินทรีย์ เช่น ปฏิกิริยาของ Hofmann, Williamson, wurtz และ Grignard
4. ใช้ในเคมีวิเคราะห์ ตามที่รู้จักกันว่า "Iodometry"
5. ไอโซโตปกัมมันตรังสี 131I ใช้เป็นตัว tracer ในปฏิกิริยาเคมี
ความเป็นพิษ
ไอโอดีนเป็นพิษมาก (ถ้าเข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูงเกินไป) ไอของไอโอดีนทำให้แสบตา กัดเยื่อจมูก และกัดผิวหนัง ระดับการทนได้ของไอของ I2 ในอากาศ คือ 0.1 ppm


โดย:  sent  [25 ม.ค. 2554 18:23]
ข้อคิดเห็นที่ 6:15

อยากทำแบบฝึกหัด

โดย:  มิ้นท์  [27 ก.ค. 2554 16:18]
ข้อคิดเห็นที่ 7:16

มั่วป่าวเรื่องแป้งไปไหน

โดย:  ป่่านรักเอ็ม  [4 ส.ค. 2554 15:19]
ข้อคิดเห็นที่ 8:17

ดีมาก มีความรู้  ดี@_@

โดย:  juk  [4 ก.ย. 2554 11:10]
ข้อคิดเห็นที่ 9:18

น่าร้ากเหมือนนิคเลยอ่ะ


โดย:  นิคผู้น่ารักที่สุดนัยจัยมุกเลย  [20 ธ.ค. 2554 11:18]
ข้อคิดเห็นที่ 10:19

ข้อมูลดีมากคัพขอบคุนจากจัย (^_^)  เลยน้าค้าบ
                                       
            จากนิค

โดย:  นิคผู้น่ารักที่สุดนัยจัยของมุกเลย  [20 ธ.ค. 2554 11:22]
ข้อคิดเห็นที่ 11:20

อยากรู้วิธีตรวจสอบ  ตะกั่ว ในขนม

โดย:  เราเอง  [18 ม.ค. 2555 13:44]
ข้อคิดเห็นที่ 12:21

เนื้อหาสาระดีมากค่ะ

โดย:  เเป้ง จุฑาทิพย์ เราเอง  [22 ส.ค. 2555 15:07]
ข้อคิดเห็นที่ 13:22

ดีสุดๆ

โดย:  สน  [18 ก.ย. 2555 14:37]
ข้อคิดเห็นที่ 14:23

ชอบมากเลยเรื่องนี้น่ะ   ชอบมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

โดย:  Miew  [3 ต.ค. 2555 19:55]
ข้อคิดเห็นที่ 15:24

จะตรวจสอบตะกั่วอย่างง่ายได้ยังไงค่ะ

โดย:  อริฏณา  [9 ก.ย. 2556 14:51]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้