สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

อาหาร

มีอาหารหลายชนิดที่เรากินโดยไม่รู้ว่ามีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงได้ สารเคมีสำคัญๆ ที่มักจะปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด ที่มักตรวจพบในอาหาร ได้แก่
สารบอแรกซ์ (Borax)  มีลักษณะเป็นผงสีขาวมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ ผงเนื้อนิ่ม
สารบอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น
ทำแก้ว เพื่อทำให้ทนความร้อน
เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง
เป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น
แต่แม่ค้ามักนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย
อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น
พิษของสารบอแรกซ์เกิดได้สองกรณี คือ
แบบเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง ส่วนอีกกรณีคือ
แบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ
คำแนะนำ
ผู้บริโภคไม่ซื้อเนื้อหมูที่ผิดปกติจากธรรมชาติ
หลีกเลี่ยงสารบอแรกซ์ในอาหารโดย ไม่ซื้อหมูบดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบดหรือสับเอง
ไม่กินอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานผิดปกติ
โทษของการผลิตหรือจำหน่ายอาหารซึ่งปนเปื้อนสารบอแรกซ์ ถือเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1) เป็นอาหารไม่บริสุทธิ ตามมาตรา 26(1) มีโทษตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สับเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ
เติมน้ำยาทดสอบบอแรกซ์จนแฉะกวนให้เข้ากัน
จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น
นำกระดาษขมิ้นไปตากแแดนาน 10 นาที
ดูสี ถ้ากระดาษขมิ้นมีสีแดง แสดงว่าตัวอย่างมีบอแรกซ์ปนอยู่
สารกันรา  หรือสารกันบูด เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก ซึ่งผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้น
อาหารที่มักพบว่ามีสารกันรา ได้แก่ น้ำผักดอง น้ำดองผลไม้ แหนม หมูยอ เป็นต้น
พิษของสารกันรา เมื่อกินเข้าไปจะทำลายเซลล์ในร่างกายให้ตาย หากกินเข้าไปมากๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้   ความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ หรือในบางรายที่กินเข้าไปไม่มากแต่แพ้ จะทำให้เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ มีไข้
หลีกเลี่ยงพิษจากสารกันราได้โดย เลือกกินอาหารที่สดใหม่ ไม่กินอาหารหมักดอง หรือเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพ มีเครื่องหมาย อย.
การทดสอบเบื้องต้นสารกันรา โดยชุดตรวจกรมซาลิซิลิคในอาหาร
สารฟอกขาว  หรือผงซักมุ้งหรือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium Hydrosulfite) เป็นสารเคมีที่ใช้ฟอกแห อวน แต่แม่ค้าบางรายนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร เพื่อให้อาหารมีสีขาว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาหารที่มักพบว่ามีการใช้สารฟอกขาว ได้แก่ ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว กระท้อน หน่อไม้ดอง น้ำตาลมะพร้าว ทุเรียนกวน
อันตรายของสารฟอกขาวคือ เมื่อสัมผัสโดยตรงจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และถ้ากินเข้าไป จะทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร เกิดอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตลดลง และหากกินมากอาจเสียชีวิตได้
หลีกเลี่ยงสารฟอกขาวได้โดยการเลือกกินอาหารที่มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่ขาวจนเกินไป
คำแนะนำ ผู้บริโภคควรใส่ใจในการเลือกอาหารที่มีความสะอาด และมีสีใกล้ธรรมชาติ จะช่วยให้ปลอดภัยจากอันตรายของสารฟอกขาว
การทดสอบเบื้องต้นสารฟอกขาว โดยใช้ชุดทดสอบสารฟอกขาวของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
นำถั่วงอกมาหั่นเป้นข้อเล็กๆ
เติมน้ำ 10 ซีซี บดให้เข้ากัน
หยดน้ำยา 3-4 หยด สังเกตดูสีน้ำยา
การอ่านผล ถ้าน้ำยาเป็นสีเทา ดำ แสดงว่ามีสารไฮโดรซัลไฟต์
สารฟอร์มาลิน(Formalin) หรือน้ำยาดองศพเป็นสารอันตรายที่แม่ค้าบางราย นำมาใช้ราดอาหารสด เพื่อให้ คงความสดอยู่ได้นาน ไม่บูดเน่าง่าย
อาหารที่มักตรวจพบว่ามีสารฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่ เช่น ผักสดต่างๆ อาหารทะเลสด และเนื้อสัตว์สด เป็นต้น
อันตรายของสารฟอร์มาลิน เมื่อกินเข้าไปจะเกิดเป็นพิษเฉียบพลัน ตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และอาจตายได้หากได้รับในปริมาณมาก
การทดสอบเบื้องต้นโดยใช้
ชุดทดสอบฟอร์มาลิน ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ยาฆ่าแมลง   หรือ สารเคมีสำหรับกำจัดแมลงซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป จนทำให้อาจตกค้างมากับผัก หรือผลไม้สด ปลาแห้ง
อันตรายจากยาฆ่าแมลง เมื่อเรากินเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียว จะเกิดพิษแบบเฉียบพลัน เช่น ทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก และหมดสติ หายใจขัด และอาจหยุดหายใจได้ แต่พิษที่พบมากที่สุดคือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เกิดสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
การหลีกเลี่ยงจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับอาหารคือ เลือกกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน เลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง กินผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ล้างและปอกเปลือก(ในชนิดที่ทำได้) ก่อนนำมาบริโภค และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ผักอนามัย ผักกางมุ้ง เป็นต้น
การทดสอบเบื้องต้นยาฆ่าแมลง โดยชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูตามอล)
ในท้องตลาดผู้บริโภคเคยเห็นหมูเนื้อแดงซึ่งมีแต่เนื้อล้วนๆ ไม่มีมันเลย ซึ่งมาจากความต้องการของผู้บริดภค ที่ต้องการเนื้อแดงล้วนๆไม่มีมันเลย ผู้เลี้ยงจึงให้หมูกินสารเคมี คือ ซาลบูตามอล
ซาลบูตามอล เป็นยาสำคัญที่ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด ช่วยในการขยายหลอดลม และมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ เมื่อมีการนำสารซาลบูตามอลไปใช้เร่งเนื้อแดงในหมู โดยให้หมูกินสารนี้ เมื่อตกค้างมาถึงผู้บริโภค อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน หญิงมีครรภ์
คำแนะนำ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยง ไม่กินเนื้อหมูที่มีสารดังกล่าว โดยเลือกหมูที่มีชั้นมันหนา และเลือกหมูที่อยู่ในลักษณะสีไม่แดงมาก  



โดย:  เด็กดี   [19 ก.ย. 2551 17:55]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ต้องการจะถามอะไร

โดย:  a  [6 ต.ค. 2551 10:45]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

http://www.gccthai.com/thai/?name=foodtestkit        Food Test Kit    ( ชุดทดสอบ สำหรับอาหาร )        

http://en.wikipedia.org/wiki/Sweetener        Sweetener    สารให้ความหวาน        
http://en.wikipedia.org/wiki/Sugar_substitute        Sugar Substitute        สารให้ความหวาน ที่ใช้แทน น้ำตาล        

http://www.fda.moph.go.th/project/foodsafety/foodsafety46f10.htm        ของ  กระทรวงสาธารณสุข        

http://en.wikipedia.org/wiki/Bleach        Bleach        สารฟอกขาว / สารฟอกสี        

http://en.wikipedia.org/wiki/Borax        Borax    ( บอแรกซ์ )

โดย:  นักเคมี  [11 ม.ค. 2552 22:15]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

http://en.wikipedia.org/wiki/Food_additive        Food Additives        สารปรุงแต่งอาหาร        
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_food_additives        List of Food Additives    ( A  to  Z )        
http://www.cspinet.org/reports/chemcuisine.htm        Food Additive Rating  ( Safe ,  Cut Back ,  Caution ,  Certain People should Avoid ,  Avoid )            
http://en.wikipedia.org/wiki/E_number        E Number Codes for Food Additives        
http://www.foodsafety.gov/~lrd/foodaddi.html        

http://www.ufmeducation.com/new/thai/tips.php        เคล็ด ( ไม่ ) ลับ กับ UFM        
http://www.ufmeducation.com/new/thai/detailtips.php?id=46        สารปรุงแต่งอาหารมีประโยชน์หรือโทษภัย  ตอน 1        
http://www.ufmeducation.com/new/thai/detailtips.php?id=47        สารปรุงแต่งอาหารมีประโยชน์หรือโทษภัย  ตอน 2      
http://www.ufmeducation.com/new/thai/detailtips.php?id=49        สารปรุงแต่งอาหารมีประโยชน์หรือโทษภัย  ตอน 3

โดย:  นักเคมี  [11 ม.ค. 2552 22:16]
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

คำวิจารณ์ เชิงลบ      

ทำไม ยังมีการใช้ บอแรกซ์  ทั้งๆที่ มี กฎหมาย  ประกาศ  ข้อบังคับ  บทลงโทษ  มากมาย  ( และ มีมานานแล้วด้วย )        

สิ่งที่  หน่วยงานรัฐ  พยายามทำ เพื่อ คุ้มครอง ผู้บริโภค จาก บอแรกซ์     อาจ เป็น การชี้ช่อง ให้ คนเลว    ว่า  มีที่ไหน หรือ ผลิตภัณฑ์ใด  ที่ พวกเขา น่าจะใช้ บอแรกซ์ ได้  ( โดยยอมเสี่ยง กับการถูกจับได้ )        

ตัวอย่าง    

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536)  กำหนดให้ บอแรกซ์เป็นสารที่ห้าม ใช้ในอาหาร  ผู้ฝ่าฝืน มีโทษให้ปรับไม่เกิน 20,000 บาท        
( ประกาศนี้  ชี้ช่องว่า  ใช้ บอแรกซ์ ใน อาหาร  มีโทษ ปรับ เพียง  ไม่เกิน 20,000 บาท )    ( น่าเสี่ยง )

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2544    กำหนดบอแรกซ์เป็นสินค้าควบคุมฉลากต้องมีข้อห้าม “บอแรกซ์อันตราย อาจทำให้ไตวาย ห้ามใช้ในอาหาร” ถ้าไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่การแสดงฉลาก ไม่ถูกต้อง ระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท  ถ้าเป็นการกระทำของ ผู้ผลิตหรือผู้สั่งหรือนำเข้า  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
( พระราชบัญญัติ นี้  ชี้ช่อง ให้ใช้ บอแรกซ์ ในอาหาร เช่นกัน )        

ทำไม  การออกประกาศ หรือ กฎหมาย กลายเป็น การชี้ช่อง      (  ก. เพราะ เชื่อว่า  เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่กวดขันให้เป็นไปตามกฎหมาย    ข. เพราะ เชื่อว่า เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่สามารถ สุ่มตรวจ จนพบ ผู้ทำผิด ได้    ค. เพราะ เชื่อว่า ผู้บริโภค ไม่รู้กฎหมาย และ ไม่รู้เรื่องอันตรายจากสารเคมี    ง. เพราะ คนเลว ทำเลวแน่ๆ ไม่ต้องมีเหตูผล หรือ เหตุจูงใจ ใดๆ )        


คำอธิบาย  สำหรับ ชุดทดสอบ บอแรกซ์  
ตัวอย่างอาหาร  
-  xxxxxx และผลิตภัณฑ์จาก xxxxxx  yyyy  zzzzz  aaaaa  bbbb  ccccc  dddddd  eeee
-  ffffggg  ffffhhhhh  ffffiiii  
-  jjjjjjj ที่ทำจาก kkk  llllllll  mmmmmm  nn  oooooo  ppppp  
-  qqqq  rrrrrrr    

( คำอธิบายนี้  ชี้ช่อง ว่า  มี ผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างน้อย 20 ชนิด  ที่ " น่าจะ " ใส่ บอแรกซ์ ลงไป )

โดย:  นักเคมี  [4 เม.ย. 2552 21:27]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้