สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

บอแรกซ์ ชื่อ ทางเคมีว่าอะไร

ชื่อทางเคมีของสารบอแรกซ์ สารที่ใช้ทำให้เนื้อนุ่มกรอบน่าทาน

โดย:  ผู้อยากรู้   [20 ม.ค. 2552 19:42]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป  /  สารเคมีในอาหาร-สารเจือปน สารปรุงแต่ง สารตกค้าง
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

ผงกรอบบอแรกซ์เป็นสารต้องห้ามใส่ในอาหาร มีวิธีตรวจสอบอย่างง่ายด้วยกระดาษขมิ้น

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [21 ม.ค. 2552 08:59]
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

( โปรดอ่านอีกครั้งหนึ่ง )        

บอแรกซ์  เป็น สารที่ห้ามใช้ใส่ในอาหาร    ไม่ใช่  สารที่ใช้ทำให้เนื้อนุ่มกรอบน่ารับประทาน

โดย:  นักเคมี  [21 ก.พ. 2552 21:34]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

คำวิจารณ์ เชิงลบ      

ทำไม ยังมีการใช้ บอแรกซ์  ทั้งๆที่ มี กฎหมาย  ประกาศ  ข้อบังคับ  บทลงโทษ  มากมาย  ( และ มีมานานแล้วด้วย )        

สิ่งที่  หน่วยงานรัฐ  พยายามทำ เพื่อ คุ้มครอง ผู้บริโภค จาก บอแรกซ์     อาจ เป็น การชี้ช่อง ให้ คนเลว    ว่า  มีที่ไหน หรือ ผลิตภัณฑ์ใด  ที่ พวกเขา น่าจะใช้ บอแรกซ์ ได้  ( โดยยอมเสี่ยง กับการถูกจับได้ )        

ตัวอย่าง    

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536)  กำหนดให้ บอแรกซ์เป็นสารที่ห้าม ใช้ในอาหาร  ผู้ฝ่าฝืน มีโทษให้ปรับไม่เกิน 20,000 บาท        
( ประกาศนี้  ชี้ช่องว่า  ใช้ บอแรกซ์ ใน อาหาร  มีโทษ ปรับ เพียง  ไม่เกิน 20,000 บาท )    ( น่าเสี่ยง )

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2544    กำหนดบอแรกซ์เป็นสินค้าควบคุมฉลากต้องมีข้อห้าม “บอแรกซ์อันตราย อาจทำให้ไตวาย ห้ามใช้ในอาหาร” ถ้าไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่การแสดงฉลาก ไม่ถูกต้อง ระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท  ถ้าเป็นการกระทำของ ผู้ผลิตหรือผู้สั่งหรือนำเข้า  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
( พระราชบัญญัติ นี้  ชี้ช่อง ให้ใช้ บอแรกซ์ ในอาหาร เช่นกัน )        

ทำไม  การออกประกาศ หรือ กฎหมาย กลายเป็น การชี้ช่อง      (  ก. เพราะ เชื่อว่า  เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่กวดขันให้เป็นไปตามกฎหมาย    ข. เพราะ เชื่อว่า เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่สามารถ สุ่มตรวจ จนพบ ผู้ทำผิด ได้    ค. เพราะ เชื่อว่า ผู้บริโภค ไม่รู้กฎหมาย และ ไม่รู้เรื่องอันตรายจากสารเคมี    ง. เพราะ คนเลว ทำเลวแน่ๆ ไม่ต้องมีเหตูผล หรือ เหตุจูงใจ ใดๆ )        


คำอธิบาย  สำหรับ ชุดทดสอบ บอแรกซ์  
ตัวอย่างอาหาร  
-  xxxxxx และผลิตภัณฑ์จาก xxxxxx  yyyy  zzzzz  aaaaa  bbbb  ccccc  dddddd  eeee
-  ffffggg  ffffhhhhh  ffffiiii  
-  jjjjjjj ที่ทำจาก kkk  llllllll  mmmmmm  nn  oooooo  ppppp  
-  qqqq  rrrrrrr    

( คำอธิบายนี้  ชี้ช่อง ว่า  มี ผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างน้อย 20 ชนิด  ที่ " น่าจะ " ใส่ บอแรกซ์ ลงไป )

โดย:  นักเคมี  [4 เม.ย. 2552 21:29]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :4

ชื่อทางเคมี -  sodium borate decahydrate  (แต่อย่าใช้ผสมอาหารเลยค่ะ  เป็นอันตรายในระยะยาว)

โดย:  ผศ.ดร.ลัดดาวัลย์ ผดุงทรัพย์  [23 ก.ค. 2553 16:56]
ข้อคิดเห็นที่ 3:5

รบกวนผู้รู้ ช่วยเขียนสมการเคมี ของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ในการทดสอบบอแรกซ์หน่อยค่ะ รบกวนด้วยนะคะ ^^

โดย:  Kig  [9 ก.พ. 2557 20:25]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้