สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ปรอท!!!!

คือวันนี้ผมไป ศึกษาภัณฑ์ มาเลยไปเห็นปรอท<Hg>มานขายอยู่ก็เลยไปซื้อมา แล้วทีนี้พอมาถึงบ้านก็เลยแกะดู แล้วเทออกมาใส่มือ แรกๆมันก็กลิ้งไปกลิ้งมาแล้วทีนี้มันไหลหลุดมือตกพื้นหมดเลยอ่าคับ ก็พายามเก็บเท่าที่เก็บได้ แต่ตอนนั้นตกใจอยู่เลยใช้มือเปล่าจับ แต่มานจามีเม็ดเล็กๆตกอยู่ตามพื้น จาทำยังไงดีอ่าคับ แล้วมานจามีปัญหารึเป่าทั้งที่ไปจับมันด้วยมือเปล่า กับที่มานตกอยู่พื้น แล้วจะมีวิธีแก้ไขปัญหายังไงคับ

โดย:  ...   [13 มี.ค. 2552 16:37]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด พิษวิทยา  /  โลหะหนัก
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

แล้วอีกอย่างนะคับปรอทมันจะระเหยที่อุณหภูมิได้รึเปล่าคับ เพราตอนที่นั้งเก็บอยู่เอาหน้าเข้าไปใกล้ๆมานตั้งหลายที จะมีปัญหารึเปล่าคับ

โดย:  ...  [13 มี.ค. 2552 16:39]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=1038

http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=723



โดย:  ปั๊ป ทีมงาน ChemTrack  [13 มี.ค. 2552 16:55]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ถ้าอ่านคำตอบแล้ว กรุณาส่ง mail และ เบอร์โทรศัพท์ มาที่ chemtrack@gmail.com เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โดย:  ปั๊ป ทีมงาน ChemTrack  [13 มี.ค. 2552 17:08]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :4

เพื่อเป็นความรู้ทั่วไปสำหรับคนอื่นๆที่มาอ่าน ขอให้ความรู้ทั่วไปว่า ปรอทเป็นโลหะที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิปกติ ให้ไอออกมาได้ เขาจึงเก็บปรอทไว้ในขวดที่มีน้ำปกคลุมผิวหน้าเพื่อกันการระเหยเป็นไอ พิษของปรอทไปหาอ่านต่อได้จากคำแนะนำข้างบน ที่เราควรระวังคือไม่สัมผัส และไม่สูดไอของมันเข้าไป ยังมีสารเคมีอันตรายที่ขายให้นักเรียนไปทดลองอีกหลายชนิด เช่น กรดกัดแก้ว ดังนั้นทั้งนักเรียนและครูควรหาความรู้เกี่ยวกับการใช้อย่างปลอดภัย และทำอย่างไรให้ผู้ขายทำหน้าที่รับผิดชอบต่อการขายด้วย

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [17 มี.ค. 2552 11:11]
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

หลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่จำหน่ายในประเทศไทย ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเขียว จะมีปริมาณปรอทไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อหลอด

ดังนั้น  การนำ ปรอท หนัก  หนึ่ง กรัม  มาเล่นบนมือ    ( สาม คน  มี่มาถาม ใน เว็บ นี้  ทำแบบนี้กันทั้งนั้น )  จึง มีโอกาส ได้รับไอปรอท สูงสุด  เท่ากับ  อยู่ใน บริเวณ ที่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ 100 หลอด แตก พร้อมกัน        

หรือ  เมื่อทำปรอทตกลงพื้น และ เก็บกวาดไม่หมด  จะเท่ากับ ทำหลอดฟลูออเรสเซนต์   ตกแตก หลายหลอด    ส่วนในกรณี ที่ ผู้ถามคนหนึ่ง  ทิ้ง ปรอท ที่เล่น ในมือ ไปทั้งหมด  ก็เท่ากับทำ หลอดฟลูออเรสเซนต์  กว่า 100 หลอด แตก ที่ บริเวณ นั้น    และ ส่งผล ต่อ ผู้คน ใน บริเวณ นั้น  อีกหลายคน        

ที่จำหน่ายในประเทศไทย ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเขียว จะมีปริมาณปรอทไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อ
หลอดฟลูออเรสเซนต์

โดย:  นักเคมี  [22 มี.ค. 2552 14:23]
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

มันสามารถซึมเข้าสู่ผิวหนัง และระเหยได้ครับ และเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายอย่างมากครับ
ลำพังมันเป็นโลหะที่วิ่งได้ อย่างที่เขาเรียกว่า ไวยังกับปรอท ก็นี่แหล่ะครับ
เราจะจับมันไม่ได้ ผมคิดว่าสัมผัสเพียงครั้งเดียวไม่น่าจะเป็น อะไรครับ
ไม่เหมือนนักวิทยาศาสตร์ สมัยก่อน ที่เสียชีวิตด้วยพิษ Hg เพราะเขาสัมผัส ติดต่อระยะยาว ครับ น่ายกย่องที่เขาได้สละชีพนะครับ

โดย:  ปลาหมอสี  [27 มี.ค. 2552 11:06]
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

หมอเดี๋ยวนี้เก่งครับ แพ้แล้วดูแป็บเดียวรู้แก้ได้ ไม่งั้นไม่มีวางขาย คงประมาณว่าไม่น่ากลัวเท่าไหร่

แต่ไม่แพร่หลายนักความรู้นี้ อาจจะเพราะว่มีคนมองในแง่ที่ไม่ดีนัก จึงมีใช้การปรอทอยู่ในคนบางกลุ่มที่จำกัด

โดย:  ก้อง  [27 ม.ค. 2556 16:04]
ข้อคิดเห็นที่ 7:8

ต้องขอโทษนะค่ะที่ไม่ได้แสดงความคิดเห็น
แต่จะถามว่าจะซื้อปรอทอุตสาหกรรมสีแดงได้ที่ไหนค่ะ
แล้วถ้าไครมีปรอทเหลวสีแดงช่วยติดต่อหน่อยนะค่ะ
โทรศัพท์.6819144806 ต้อม.เป็นพี่ชายค่ะ

โดย:  golf  [12 ก.พ. 2556 16:25]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้