สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

สารปรุงแต่งอาหาร

ความหมายของสารปรุงแต่งอาหารยกตัวอย่างและข้อมูล

โดย:  ฉัน   [2 พ.ย. 2549 17:51]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด สารเคมีในอาหาร-สารเจือปน สารปรุงแต่ง สารตกค้าง
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

สารใดบ้างที่สามารถแยกสีที่ปนเปื้อนในอาหารได้

โดย:  น.ส.นริศา  พลราชม  [10 พ.ย. 2549 12:13]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

อ้างจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ให้ความหมายของ วัตถุเจือปนอาหาร (Food additive) ว่าหมายถึง วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสีอาหาร การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพ มาตรฐาน หรือลักษณะของอาหาร ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่มิได้เจือปนในอาหาร แต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะแล้วใส่รวมอยู่กับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น ไม่รวมถึงสารอาหารที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เช่นโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่

ตัวอย่างวัตถุเจือปนในอาหารดูได้จากรายการสารเจือปนในอาหารที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เป็นอาหารควบคุมที่ลิงค์นี้ http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/food/ntf/DirtyFood3Attach.html

โดย:  วลัยพร  [13 พ.ย. 2549 12:38]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

อยากทราบความหมายของสารปรุงแต่งที่มีอันตราย


โดย:  เด็กน่ารัก  [29 พ.ย. 2549 12:03]
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

ไมที่ติ

โดย:  เด็กชาย สุทัศน์ พนุมรัมย์  [29 พ.ย. 2549 14:08]
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

ไม่มีที่ติToo

โดย:  คนที่Love pena  [23 ม.ค. 2550 20:41]
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

ก็ดีนะคะ

ขอบคุนมากค่ะ

โดย:  มิยู  [26 ส.ค. 2550 21:47]
ข้อคิดเห็นที่ 7:8

จะทำการบ้านว่างั้น


โดย:  อดิศร  [20 พ.ย. 2550 18:46]
ข้อคิดเห็นที่ 8:9

อ้างจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ให้ความหมายของ วัตถุเจือปนอาหาร (Food additive) ว่าหมายถึง วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสีอาหาร การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพ มาตรฐาน หรือลักษณะของอาหาร ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่มิได้เจือปนในอาหาร แต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะแล้วใส่รวมอยู่กับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น ไม่รวมถึงสารอาหารที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เช่นโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่


โดย:  งง  [21 ธ.ค. 2550 17:29]
ข้อคิดเห็นที่ 9:10

อ้างจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ให้ความหมายของ วัตถุเจือปนอาหาร (Food additive) ว่าหมายถึง วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสีอาหาร การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพ มาตรฐาน หรือลักษณะของอาหาร ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่มิได้เจือปนในอาหาร แต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะแล้วใส่รวมอยู่กับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น ไม่รวมถึงสารอาหารที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เช่นโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่

ตัวอย่างวัตถุเจือปนในอาหารดูได้จากรายการสารเจือปนในอาหารที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เป็นอาหารควบคุมที่ลิงค์นี้ http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/food/ntf/DirtyFood3Attach.html



โดย:  สาร  [21 ธ.ค. 2550 17:30]
ข้อคิดเห็นที่ 10:15

http://en.wikipedia.org/wiki/Food_additive        Food Additives        
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_food_additives        List of Food Additives    ( A  to  Z )        
http://www.cspinet.org/reports/chemcuisine.htm        Food Additive Rating  ( Safe ,  Cut Back ,  Caution ,  Certain People should Avoid ,  Avoid )            
http://en.wikipedia.org/wiki/E_number        E Number Codes for Food Additives        
http://www.foodsafety.gov/~lrd/foodaddi.html

โดย:  นักเคมี  [30 ส.ค. 2551 17:16]
ข้อคิดเห็นที่ 11:16

สารปรุงแต่งอาหารมีมากมายหลายชนิด
ชนิดแรก คือสารปรุงแต่งที่ได้จากธรรมชาติที่ไม่มีอันตราย
ชนิดที่สอง คือสารปปรุงแต่งที่ได้จากสีย้อมผ้ามีอันตรายมาก
มีสารตัวหนึ่งที่อาจให้ถึงตายได้คือ สารบอแรกช์สารตัวนี้
ถ้าเด็กเกิน5 กรัมตายผู้ใหญ่เกิน15กรัมตาย
สารตัวนี้เจอได้ที่ผงชูรส



โดย:  นักวิทยาศาสตร์  [13 ก.ย. 2551 10:58]
ข้อคิดเห็นที่ 12:17

อยากทราบประโยชน์ของสารเจือปน

โดย:  เบญ  [22 ก.ย. 2551 18:29]
ข้อคิดเห็นที่ 13:19

อยากทราบว่า สารให้ความหวานในเครื่องดื่มให้ใช้ตัวไหนบ้างและจำนวนเท่าไหร

โดย:  เล็ก  [28 พ.ย. 2551 10:24]
ข้อคิดเห็นที่ 14:20

......สารให้ความหวานที่องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริการับรองว่าปลอดภัย ได้แก่ Saccharine (sweet' N low) มีความหวาน 300 เท่าของน้ำตาล Aspartam (Nutrasweet, Equal) มีความหวาน 180 เท่า Acesulfame potassium นิยมใส่ในเครื่องดื่ม soft drink ความหวาน 200 เท่า sucralose ความหวาน 600 เท่าของน้ำตาล สารเหล่านี้มีค่าที่กำหนดปริมาณที่ใช้ผสมในอาหารที่คนสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยต่อวัน (Acceptable Daily Intake, ADI) แต่ก็มีการงานวิจัยบางชิ้นอ้างว่าน้ำตาลประเภทนี้บางชนิดก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน...... คัดลอกมาจากhttp://learners.in.th/blog/hisopim01/176568 สำหรับค่า ADI ลองสืบค้นต่อเองนะค่ะ

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [3 ธ.ค. 2551 12:29]
ข้อคิดเห็นที่ 16:22

( สำหรับ ผู้ที่ไม่เคย เข้าชม เว็บไซต์นี้ )        

ขอแนะนำ    " ขบวนการโลกแสนสวย "    ( จัดทำ ตาม โครงการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสารเคมีและสิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชน )        

http://www.chemtrack.org/EnvForKids/        หน้าแรก    Home Page        
http://www.chemtrack.org/EnvForKids/menu.htm        หน้า เมนู    Menu Page      
http://www.chemtrack.org/EnvForKids/chemicals.htm        Chemicals Pages        ความรู้เกี่ยวกับสารเคมี    ( มี ข้อมูล ผลิตภัณฑ์ - สารเคมี ที่ พบ ใน ชีวิตประจำวัน  27 ชนิด )        

http://www.chemtrack.org/EnvForKids/MainMenu.htm        หน้า เมนูหลัก ของ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

โดย:  นักเคมี  [14 มี.ค. 2552 20:14]
ข้อคิดเห็นที่ 17:24

สารปรุงรสอาหารและสารแต่งสีอาหารมีกี่ประเภทยกตัวอย่างมา 5 อย่าง

โดย:  ผู้ที่ลึกลับไม่มีใครทราบชื่อ  [1 พ.ย. 2552 13:56]
ข้อคิดเห็นที่ 18:25

ประโยชน์ของสารเจือปนมีอะไรบ้าง

โดย:  พลอย  [3 ธ.ค. 2552 20:29]
ข้อคิดเห็นที่ 19:26

ประโยชน์ของน้ำยาถูพื้นมีอะไรบ้าง

โดย:  นา  [3 ธ.ค. 2552 20:30]
ข้อคิดเห็นที่ 20:29

เมย์ถามไปทำไม่ อยากรู้ก็ทำไม่ไม่หาเองละ

โดย:  นิดหน่อย  [12 พ.ค. 2553 15:01]
ข้อคิดเห็นที่ 21:30

สารปรุงแต่งอาหาร  หมายถึง  สารปรุงรสและวัตถุเจือปนในอาหารที่นำมาใช้เพื่อปรุงแต่งสี  กลิ่น  รส และคุณสมบัติอื่น ๆ
  ของอาหาร  มีอยู่  3  ประเภท

     1. ประเภทที่ไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย  ได้แก่
สีต่าง ๆ ที่ใช้ผสมอาหาร  ซึ่งเป็นสีธรรมชาติ  ได้แก่
สีเขียว  จากใบเตยหอม  พริกเขียว                                                       สีเหลือง  จากขมิ้นอ้อย  ขมิ้นชัน  ลูกตาลยี  ไข่แดง  ฟักทอง  ดอกคำฝอย  เมล็ด
สีแดง  จากดอกกระเจี๊ยบ  มะเขือเทศ   พริกแดง  ถั่วแดง  ครั่ง
สีน้ำเงิน  จากดอกอัญชัญ
สีดำ  จากกากมะพร้าวเผา  ถั่วดำ  ดอกดิน
สีน้ำตาล  จากน้ำตาลเคี่ยวไหม้  หรือคาราเมล

สารเคมีบางประเภท  ได้แก่
1.2.1 สารเคมีประเภทให้รสหวาน  เช่น  น้ำตาลทราย  กลูโคส  แบะแซ
1.2.2 สารเคมีบางประเภทให้รสเปรี้ยวในอาหาร  เช่น  กรดอะซีติก  (กรดน้ำส้ม)
1.2.3 สารเคมีที่เป็นสารแต่งกลิ่น  เช่น  น้ำนมแมว  หรือหัวน้ำหอมจากผลไม้ต่าง ๆ

    2. ประเภทที่อาจเกิดอันตรายหากใช้เกินขอบเขต
สีผสมอาหาร  ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี  แม้กฏหมายกำหนดให้ใช้สีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารได้  แต่หากใช้ในปริมาณมากและบ่อยก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคได้  ปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภทเครื่องดื่ม ไอศกรีม  ลูกกวาด  และขนมหวาน  มีดังนี้
2.1.1 สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน  70  มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กม.
สีแดง  ได้แก่  เอโซรูบีน  เออริโทรซิน
สีเหลือง  ได้แก่  ตาร์ตราซีน  ซันเซ็ตเย็ลโลว์  เอ็ฟ  ซี  เอ็ฟ
สีเขียว  ได้แก่  ฟาสต์  กรีน  เอ็ฟ  ซี  เอ็ฟ
สีน้ำเงิน  ได้แก่  อินดิโกคาร์มีนหรืออินดิโกติน
2.1.2  สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน  50  มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กม.                                                                                         สีแดง  ได้แก่  ปองโซ  4  อาร์
สีน้ำเงิน  ได้แก่  บริลเลียนบลู  เอ็ฟ  ซี  เอ็ฟ
ผงชูรส  เป็นสารปรุงแต่งรสอาหาร  มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมท  ผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง  หรือจากกากน้ำตาล  ลักษณะของผงชูรสแท้จะเป็นเกล็ดหรือผลึกสีขาวขุ่น  ปลายทั้ง  2  ข้างโตและมัน  ตรงกลางคอดเล็กคล้ายกระดูก
 ไม่มีความวาวแบบสะท้อนแสง  มีรสชาติคล้ายเนื้อต้ม  ปริมาณที่ใช้ควรเพียงเล็กน้อย ถ้าบริโภคมากเกินไปอาจมีอาการแพ้ผงชูรสได้
  ควรใช้ผงชูรสประมาณ  1/500-1/800   ส่วนของอาหารหรือประมาณ  1  ช้อนชาต่ออาหาร  10  ถ้วยตวง  และไม่ควรใช้ผงชูรส
  ในอาหารทารกและหญิงมีครรภ์
สารเคมีที่ใช้กันเสียกันบูด  เป็นสารประกอบทางเคมีหรือของผสมของสารประกอบที่ใช้เติมลงในอาหาร  เพื่อชะลอ
  การเน่าเสียหรือยืดอายุการเก็บอาหาร  โดยจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และส่วนประกอบของเอนไซม์  ซึ่งทำให้การเจริญ
  เติบโตของจุลินทรีย์หยุดชะงักหรือตายได้  นอกจากนี้ยังมีผลต่อการแบ่งเซลล์ยับยั้งการสังเคราะห์ของโปรตีน  ทำให้ขบวนการแบ่ง
  เซลล์หยุดชะงัก  จำนวนจุลินทรีย์จะไม่เพิ่มขึ้น  การใช้วัตถุกันเสีย ไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้  กรณีที่จำเป็นต้องใช้ควรเลือกวัตถุกันเสีย
  ที่ปลอดภัยและใช้ในปริมาณที่กฏหมายกำหนด  รวมทั้งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร

    3. ประเภทเป็นพิษไม่ปลอดภัย  เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ปัจจุบันได้มีการใช้สารเคมีต่าง ๆ ปรุงแต่งอาหารเพื่อให้อาหารน่ารับประทานเก็บได้นานรวมทั้งราคาถูก  และจากการตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐพบว่า  มีการใช้สารเคมีที่กฎหมายห้ามใช้ในการปรุงแต่งในอาหาร  ซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคถึงชีวิตได้
ตัวอย่างอันตรายจากสารเคมีที่ห้ามใช้ในการปรุงแต่งอาหาร
ชื่อสาร จุดประสงค์ของการใช้ อันตรายที่ได้รับ
น้ำประสานทอง (บอแรกซ์ ผงกรอบ เม่งแซ เพ่งแซ) ทำลูกชิ้นให้กรอบ ทำให้แป้งมีลักษณะกรุบ (ในเต้าทึง)ทำหมูยอให้กรอบ ปนปลอมในผงชูรส (ซึ่งสังเกตลักษณะได้โดยเกล็ดคล้ายแผ่นเศษกระจก
อาจเป็น ก้อนเล็กสีขาว) เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบสมอง ซึ่งอาจทำให้มีอาการ คล้ายเยื่อหุ้มสมองอักเสบและที่รุนแรงมาก คือเป็นอันตรายต่อไตจะทำให้เกิดไตพิการและตายได้ถ้าได้รับ
สารนี้ ในปริมาณมากและเป็นเวลานาน
โซเดียมเบตา ฟอสเฟต ปนปลอมในผงชูรสสังเกตลักษณะได้ โดยเกล็ดจะมีลักษณะหัวท้ายมน บางกว่า ใสเป็นมันคล้ายกระจก ทำให้ท้องร่วง
สีย้อมผ้า ผสมอาหารทำให้มีสีสวยงาม โรคกระเพาะอาหารและลำไส้และเป็นสาเหตุการเกิด
โรคมะเร็ง เช่นมะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
กรดซาลิไซลิด สารกันบูด เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารอย่างมาก โดยอาจทำให้เกิดแผลใน กระเพาะอาหาร เป็นพิษต่อระบบประสาทหรือมีอาการแพ้เป็นแผล ตามตัว
โซเดียมคาร์บอเนต(โซดาซักผ้า) ทำให้เนื้อนุ่ม กัดเยื่อบุอ่อนของระบบทางเดินอาหาร เกิดอาการคลื่นใส้อาเจียน ท้องร่วงอาจรุนแรงถึงตายได้
     


สารพิษในอาหาร
            สารพิษในอาหาร  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท
       1. สารพิษที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  ในส่วนประกอบของอาหารซึ่งจะพบอยู่ในพืชและสัตว์  สิ่งเหล่านี้จะมีโทษต่อมนุษย์ก็ด้วยความไม่รู้  หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์  ไปเก็บเอาอาหารที่เป็นพิษมาบริโภคเช่น  พิษจากเห็ดบางชนิด  ลูกเนียง  แมงดาทะเลเป็นพิษ
สารพิษในหัวมันสำปะหลังดิบ  เป็นต้น
        2. สารพิษที่เกิดจากการปนเปื้อนในอาหารตามธรรมชาติ  ซึ่งแบ่งเป็น
                 2.1 สารพิษที่มาจากจุลินทรีย์ซึ่งมี   2  ประเภทใหญ่  คือ อันตรายที่เกิดจากตัวจุลินทรีย์และอันตรายที่เกิดจากสารพิษที่
  จุลินทรีย์สร้างขึ้น
      จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดพิษเนื่องจากตัวของมันเอง  มีอยู่  5  พวก  ได้แก่
   1. แบคทีเรีย  เช่น Salmonella  Shigella  Vibrio
   2. รา  เช่น  Aspergillus  Penicillin  fusarum  Rhizopus
   3. โปรโตซัว  เช่น  Entamoeba histolytica
   4. พาราสิต  เช่น  Trichinosis  Tapeworms
   5. ไวรัส  เช่น   Poliovirus  Hepatitis  Virus
            จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดพิษภัยอันเนื่องมาจากสารพิษที่สร้างขึ้นในขณะที่จุลินทรีย์นั้นเจริญเติบโตแล้วปล่อยทิ้งไว้ในอาหาร มีทั้ง
  สารพิษของแบคทีเรีย  และของเชื้อรา  สารพิษที่สำคัญที่พบ ได้แก่สารพิษที่เกิดจาก Clostridium botulinum  เป็นจุลินทรีย์ที่เป็น
  สาเหตุให้เกิดพิษในอาหารกระป๋องและสารพิษจากเชื้อรา  ที่เรียกว่า  Alflatoxin มักจะพบในพืชตะกูลถั่ว  โดยเฉพาะถั่วลิสงและ
  ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง  ได้แก่  ถั่วกระจก  ขนมตุ๊บตั๊บ  น้ำมัน  ถั่วลิสง  เป็นต้น
      3. พิษที่เกิดจากสารเคมี  ซึ่งปะปนมากับอาหาร  ได้แก่  สารหนู  และโซเดียมฟลูออไรด์ ที่มีอยู่ในยาฆ่าแมลง  หรือยาฆ่า
  วัชพืชต่าง ๆ สำหรับยาฆ่าแมลงซึ่งใช้มากเกินไปหรือเก็บพืชผลเร็วกว่ากำหนดเมื่อกินผักผลไม้เข้าไปจะทำให้ร่างกายสะสมพิษ
  และเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งได้  สำหรับพิษจากสารปลอมปนและสารปรุงแต่งอาหารได้กล่าวแล้ว  
http://www.kroobannok.com/7546
       
อันตรายจากสีผสมอาหาร

ในปัจจุบัน จะพบว่าอาหารส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มต่างๆ ที่ขายอยูทั่วไป
มักมีสีสันสดใสสวยงามดึงดูดใจชวนรับ ประทาน ทั้งสีแดง สีเขียว สีเหลือง ฯลฯ แต่คุณรู้บ้างหรือไม่ว่ามันแฝงด้วย อันตราย เนื่องจากผู้ผลิตมักใส่สีสังเคราะห์ทางเคมีลงไป โดยคาดหวังว่าอาหาร เครื่องดื่มที่มีอาหารสดใส สวยงาม จะเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี โดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งจะช่วยให้ขายดี และได้กำไรมากมาย ทำให้ผู้ผลิตมองข้ามพิษภัย ที่อาจจะเกิดขึ้นไป ดังนั้นในการเลือกซื้ออาหาร และเครื่องดื่มจำเป็นต้องคำนึงถึงอันตรายที่อาจเกิดจาสีผสมอาหารให้มากๆ และควรเลือกที่ปลอดภัยให้มากที่สุด เพราะสีผสมอาหารที่สังเคราะห์ทางเคมี จะมีส่วนผสมของโลหะหนัก ทั้งตะกั่ว ปรอท สารหนู โครเมียม และสังกะสี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีผลเสียต่อร่างกายทั้งสิ้น

    ซึ่งอันตรายที่มาจากสีผสมอาหารที่สังเคราะห์ทางเคมีก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิงเวียนศีรษะ เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ้าสะสมมากขึ้นอาจมีอาการเป็นอัมพาต ที่แขน ขา หากร่างกายสะสมสารเหล่านี้เข้าไปมากๆ จะส่งผลต่อระบบประสาททั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังอีกด้วย
อันตรายจากสีผสมอาหาร
            อันตรายที่เกิดจากการใช้สีผสมอาหารนั้นเกิดมาจากตัวสีเอง เนื่องจากในสีผสมอาหารแต่ละชนิด หรือแต่ละสีนั้นจะมีส่วนผสมของโลหะหนักอยู่ ในปริมาณที่กฎหมายกำหนด เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม สังกะสี ซึ่งหากผู้ผลิตอาหารใช้สีผสมอาหารในปริมาณที่กฎหมายกำหนด เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม สังกะสี ซึ่งหากผู้ผลิตอาหารใช้สีผสมอาหารในปริมาณที่มากเกินไป และผู้บริโภครับประทานอาหารที่ผสมสีดังกล่าวเป็นประจำอาจทำให้ร่างกายได้รับปริมาณโลหะหนักเป็นจำนวนมาก และเกิดการสะสมในร่างกาย   พิษภัยจากโลหะหนักที่มีผสมอยู่ในสีผสมอาหารนั้น มีดังนี้ สารหนูเมื่อเข้าไปในร่างกายจะสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ตับและไต การที่มีสารหนูสะสมในร่างกายมากจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โลหิตจาง ส่วนตะกั่ว จะมีพิษต่อระบบประสาททั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาจทำให้ถึงกับชีวิตใน 1-2 วัน ส่วนอาการพิษเรื้อรังนั้นจะพบเส้นตะกั่วสีม่วงคล้ำที่เหงือก มือตก เท้าตก เป็นอัมพาต เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอาจพบอาการทางระบบประสาทได้ ฉะนั้นก่อนจะรับประทาน ลูกกวาด ขนมหวาน หรืออาหารจำพวกที่ต้องเติมแต่งสีสันให้สวยงาม ควรต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเลือก และปริมาณที่บริโภคให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของชีวิต
http://variety.

โดย:  Aii  [19 พ.ค. 2553 17:52]
ข้อคิดเห็นที่ 22:34

สารปรุงรสอาหาร  ใช้ใส่ในอาหาร เพื่อทำให้อาหารมีรสอร่อย หรือมีรสชาติตามที่ผู้บริโภคต้องการ สารปรุงรสบางชนิด  แม้ว่าจะผลิตมาจากธรรมชาติ แต่เมื่อเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายแล้ว อาจมีสารอื่นเจือปน หรือกลายเป็นสารที่มีอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ผงชูรส  ซึ่งผลิตจากมันสำปะหลัง หรืออ้อย  เมื่อเป็นผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมท) แล้วกลายเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย  หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป

         สารปรุงรสอาหาร แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. สารปรุงรสเปรี้ยว
2. สารปรุงรสหวาน
3. สารปรุงรสเค็ม

โดย:  จอยJoYzzZzzZZ  [8 มิ.ย. 2553 17:36]
ข้อคิดเห็นที่ 23:35


สารปรุงรสอาหาร  ใช้ใส่ในอาหาร เพื่อทำให้อาหารมีรสอร่อย หรือมีรสชาติ

โดย:  วิรชา  [18 พ.ย. 2553 14:42]
ข้อคิดเห็นที่ 24:36

อาหารมีรสชาติจัดหรือมั่ย

โดย:  ดา  [18 พ.ย. 2553 14:45]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้