สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

คนที่บอกน่ะเป็นสามีดิฉันเอง

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอย่างยิ่งนะคะ คุณสุชาตา ชินะจิตร  และเพื่อนๆ ที่ตอบ
คำถามมา คนที่บอกเราก็คือสามี เขาบอกว่าคนที่ทำกุยช่าย อยู่บ้านใกล้ๆ บ้านอากง-อาม่าเขา แถวๆ ซอยเซ็นหลุยส์ 3 เขาบอกว่าเขาใส่ โซดาไฟนิดหน่อย ให้ใบมันนิ่มมากๆน่ะ (ถ้าไม่ใส่ใบมันจะเหนียวนะ)  -  เป็นไปได้หรือเปล่าคะว่าเขาจะใส่ baking soda? (แต่คนที่ทำน่ะเป็นคนจีน แบบบ้านๆ ไม่น่าจะรู้จัก baking soda นะคะ) ที่ผ่านมาเคยทานกุยช่ายแล้วมีอาการปวดท้องอย่างแรงอยู่ 2-3 ครั้ง (คือไม่เข็ดไง) ซึ่งตอนนั้นสามียังไม่เคยพูดเรื่องนี้ให้ฟังน่ะค่ะ ถ้าเขาใส่โซดาไฟจริง (แม้จะเล็กน้อย) เราทานไป นานๆ เข้าจะเป็นอะไรไม๊คะ มันสะสม หรืออันตรายกับร่างกายยังไงคะ?  ช่วยตอบอีกนะคะ

ขอบคุณค่ะ
จิน

โดย:  คุณจิน   [29 ก.ค. 2552 12:48]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด พิษวิทยา  /  สารเคมีในอาหาร-สารเจือปน สารปรุงแต่ง สารตกค้าง
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

คำถามที่ได้รับทำให้เราได้เห็นบางมุมที่อาจมองข้าม ขอบคุณที่อธิบายเพิ่มเติมค่ะ ในหลักการโซดาไฟถ้ายิ่งเข้มข้นมากก็มีฤทธิ์กัดกร่อนมาก การใช้จึงต้องระวังไม่ให้ตกค้าง เพราะฤทธิ์กัดกร่อนถ้ายังอยู่ทำให้ระคายเคืองส่วนของร่างกายที่สัมผัส  ไม่แน่ใจว่าคุณกำลังพูดถึงโซดาไฟ (Sodium hydroxide) หรือ baking soda (sodium bicarbonate) ที่ใส่ในกุยช่าย  คนละตัวกันนะคะ ตัวหลังนี่ใช้ทำอาหาร คือผงฟูนั่นเอง ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างโซดาไฟ และมักใช้ไม่มากเท่าไร

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [30 ก.ค. 2552 08:52]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

ผมคิดว่าปัญหาหนึ่งก็คือ โซดาไฟ อาจกัดหม้ออลูมิเนียมที่ใส่อาหาร
ทำให้เกิด Aluminium Hydroxide ซึ่งอาจมีพิษได้
สรุปถ้าไส่โซดาไฟจริงไม่ควรกิน

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ กรมควบคุมโรค  [30 ก.ค. 2552 09:00]
ข้อคิดเห็นที่ 1:3

คนจีน แบบบ้านๆ  ก็รู้จัก baking soda ได้  เพราะมีการใช้สารนี้ แทน ยีสต์ ในการทำ  ปาท่องโก๋  ซาละเปาและหมั่นโถว  ขนมสาลี่  ขนมปัง  ขนมเค้ก  กันมานานแล้ว        
การกินโซดาไฟ  ( ด้วยเหตุใดก็ตาม )  จะมีฤทธิ์แบบเฉียบพลัน  คือ มีการทำลาย เนื่อเยื่อ ในปาก ลิ้น หลอดอาหาร  ( และ หลอดลม ถ้ามีการสำลัก หรือ อาเจียน และ สำลัก )  กระเพาะอาหาร  ( แต่มีโอกาส  ไปถึง  ลำไส้ เล็ก  ลำไส้ใหญ่   น้อย )  ฯลฯ   ความเสียหาย และ อันตราย ก็จะแปรตามปริมาณและความเข้มข้นของโซดาไฟที่กินเข้าไป  แต่จะไม่มีพิษสะสม    ( แค่ ที่ไม่สะสม ก็แย่พอแล้ว )        
ถ้า ตอบ จาก มุมมอง และ ความรู้ ของผม  โซดาไฟ ไม่ได้ช่วยให้ใบกุยช่าย ( หรือ ใบผัก อื่นๆ ) เปื่อย   ลอง คิดดูว่า  เราต้มผักให้เปื่อยได้  โดยไม่ต้องเติมสารเคมีใดๆ  ( นอกจาก น้ำ )

โดย:  นักเคมี  [30 ก.ค. 2552 18:38]
ข้อคิดเห็นที่ 2:4

เรื่องนี้เห็นจะเป็นเรื่องที่มีผู้สนใจมาก เลยขอตอบอีกครั้ง
ความเป็นพิษของสารเคมี ผมขอสรุปแบบง่ายๆว่ามันมีสองแบบ
แบบที่หนึ่งเป็นพิษมาจากตัวธาตุของมันเลยเช่น Manganese,
Cadmium ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็มีพิษ
อีกแบบธาตุของมันไม่มีพิษ แต่มีพิษจาก reactivity ของมันเช่น
Carbon monoxide, กรดเกลือ โซดาไฟ เป็นต้น
ถ้ามีการใส่โซดาไฟลงในอาหาร และอาหารนั้นกลายเป็นด่างที่เข้มข้น
มันก็จะเกิดปฏิกริยากับอาหารและภาชนะที่ใส่จนกระทั่งหมดฤทธิ์ของ
ความเป็นด่างไป ถ้าเขาไม่ใส่ในปริมาณมหาศาลก็ไม่น่าจะทำให้ปวดท้อง
แต่ถ้าใส่มากขนาดนั้นก็จะทำให้ปากและคอไหม้ก่อนที่จะปวดท้อง
(คนที่กินโซดาไฟ ปัญหาสำคัญคือหลอดอาหารไหม้ ไม่ใช่ปวดท้อง)
แต่อย่างไรก็ตามสารเคมีที่เกิดจากการกัดกร่อนของโซดาไฟก็อาจามีพิษ
ถ้าผมสันนิษฐานคร่าวๆก็คือโซดาไฟส่วนหนึ่งจะกลายเป็นสบู่ อีกส่วน
หนึ่งกลายเป็นอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งเคยมีรายงานว่าเป็นสาเหตุของ
Alzheimer

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ กรมควบคุมโรค  [10 ส.ค. 2552 09:32]
ข้อคิดเห็นที่ 3:5

อยากรู้การทำแก๊สไฮโดรเจนจาก โซดาไฟ +อลูมิเนียม โดยสัดส่วน

โดย:  thanan-chai1323@hotmail.com  [5 ก.ย. 2553 12:27]
ข้อคิดเห็นที่ 4:6

โซดาไฟเข้าเปื่อยแเข้าทางปากอย่างจังทำให้ปากเปื่อยและพองสมองตื้อและชา เป็นไปได้ไหมที่ที่ทำลายระบบประสาทด้วย


โดย:  สุวรรณมาลี  [9 มิ.ย. 2557 11:04]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้