สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

สารเคมีอันตรายที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี พ.ศ. 2534

รบกวนขอความรู้หน่อยนะคะ อ้างถึงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี พ.ศ. 2534 แล้วนั้น
• Sodium Hydroxide และ กรดซัลพิวริก จัดเป็นหนึ่งในประเภทของสารเคมีอันตรายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี พ.ศ. 2534 ใช่มั้ยคะ
• เช่นนี้ ถามว่า ถ้ามีไว้ในครอบครองจำนวน 1 ก.ก. และ 2.5 ลิตร ตามลำดับ จะต้องแจ้งรายละเอียดต่ออธิบดีทราบตามที่กำหนดในข้อ 5 ของประกาศ และต้องปฏิบัติตามข้ออื่น ๆ ในประกาศหรือเปล่าคะ
• หรือต้องมีปริมาณมากกว่าหรือเท่ากับ “ปริมาณที่กำหนดเป็นสารเคมีอันตราย” ที่แสดงไว้ที่ http://www.chemtrack.org/Law-Chem.asp ก่อนจึงจะถือว่าเข้าข่าย (แต่อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นมีการระบุปริมาณที่กำหนดเป็นสารเคมีอันตรายสำหรับ Sodium Hydroxide และ กรดซัลพิวริก เลยค่ะ อย่างนี้จะสามารถอ้างอิงได้จากที่ไหน)


โดย:  jk   [8 ม.ค. 2553 13:32]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ไม่ทราบว่าผู้ถามทำงานอะไร ต้องขอชมเชยที่พยายามอ่าน ทำความเข้าใจ เพื่อปฏิบัติตามกฏหมาย การตอบคำถามนี้น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์มากขึ้นถ้ามีโอกาสคุยกัน ลองโทรศัพท์ติดต่อถามไปที่สถาบันความปลอดภัยในการทำงานดู แน่ใจว่าจะได้รับความช่วยเหลือ

โดย:  วราพรรณ ด่านอุตรา  [9 ม.ค. 2553 11:49]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

สงสัยเหมือนกันเลยครับ ตอนนี้ก็มีสารเคมี 2 ตัวนี้ใช้อยู่ในห้อง LAB กับระบบบำบัดน้ำเสีย เอ้อ ถ้า sufuric acid หรือ Sodium hydroxide ที่ concentration จะคิดแยกกันใหมครับ หรือเหมารวมปริมณกันไปเลย สงสัยมาก

โดย:  Surasak  [19 ม.ค. 2553 21:07]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้