สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การดื่มนมสามารถลดสารตะกั่วออกจากร่างกายได้จริงหรือ

อยากทราบว่าการดื่มนมสามารถลดปริมาณสารตะกั่วออกจากร่างกายได้จริงหรือไม่ และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากที่ไหนบ้าง

โดย:  คนอยากรู้จริง ๆ   [20 มี.ค. 2550 10:05]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด พิษวิทยา  /  โลหะหนัก  /  ฐานข้อมูล แหล่งสารสนเทศ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เรื่องตะกั่วกับการดื่มนม ณ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่า การดื่มนมช่วยขับตะกั่วออกจากร่างกายได้ เข้าใจว่าเนื่องจากตะกั่ว จะแย่งกับแคลเซียมในการเข้าไปในกระดูก จึงมีคนคิดว่าแคลเซียมในนมจะแย่งที่ตะกั่วที่อยู่ในกระดูกได้ แต่ความเชื่อนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์
การรักษาที่ได้ผลดีคืออยู่ให้ห่างจากแหล่งพิษตะกั่วให้มากที่สุดและถ้าจำเป็นอาจต้องใช้ Antidote มาช่วยด้วย

โดย:  พี่เล็ก สำนักโรคจากการประกอบอาชีพฯ  [20 มี.ค. 2550 12:30]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

มีคำแนะนำใน Arizona of Health department ว่าอาหารที่ดี มี ธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อวัว ผักเขียว เต้าหู้ หรืออาหารที่มีแคลเซียมสูง   เช่น นม เนย  yoghurt รวมทั้งวิตามินซี   จะช่วยป้องกันพิษตะกั่วในเด็กได้ ทั้งนี้ แคลเซียม และเหล็ก ลดการดูดซึมตะกั่วของร่างกาย ส่วนวิตามินซี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมเหล็กได้ดีขึ้น เรียกว่าเป็นผลทางอ้อม แต่การเลี่ยงไม่ให้สัมผัสกับตะกั่วได้จะเป็นการดีที่สุด และการบริโภคอาหารเหล่านี้ ก็ไม่ใช่วิธีรักษาโรคพิษตะกั่วอีกด้วย

โดย:  ผศ. ดร.สุกัญญา สุนทรส  [17 ก.ค. 2550 20:03]
ข้อคิดเห็นที่ 2:6

นมลดสารตะกั่วได้จิงหรอครับ

โดย:  นาย หนุ่ม  [24 พ.ค. 2552 09:33]
ข้อคิดเห็นที่ 3:7

http://www.azdhs.gov/phs/oeh/invsurv/lead/foodprotect.htm

อ่านดีๆครับ

1. เด็กต้องกินสี (ที่ล่อนออกมาเป็นแผ่น) ที่มีตะกั่วเป็นส่วนผสม นั่นคือ ได้รับตะกั่วทางปาก และเป็นการได้รับแบบไม่ได้ตั้งใจ

2. การกินนมและอาหารที่มีธาตุเหล็กจะลดการดูดซึมตะกั่วทางทางเดินอาหาร

3. วิตามินซีเป็นตัวช่วยให้ดูดซึมเหล็กได้ดีขึ้น

โดย:  น.พ.จารุพงษ์  [5 เม.ย. 2553 09:29]
ข้อคิดเห็นที่ 4:8

Son of a gun, this is so hlfepul!

โดย:  Ndryluph  [22 มี.ค. 2555 02:10]
ข้อคิดเห็นที่ 5:12

แล้วที่ว่า ดื่มโซดาหรือนม แล้วจะช่วยขับควันหรือเขม่า จากการ เชื่อม อาร์กอน(Argon)ออกจากร่างกาย ได้จริงหรือเปล่า?


โดย:  พีระพงค์ ขวัญเมือง  [8 มิ.ย. 2560 10:08]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้