สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การเปลี่ยนสารบอแร็กซ์ให้เป็นโบรอน

อยากทราบรายละเอียดของการใช้บอแรกซ์ให้เป็นโบรอนเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์  ต้องใช้อัตราส่วนเท่าไร ใช้ในมะเขือเทศ

โดย:  คนใฝ่รู้   [10 ก.พ. 2553 10:43]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กระบวนการผลิตและการใช้ประโยชน์  /  การวิเคราะห์ ทดสอบ  /  สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สารเคมีทางการเกษตร
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

พืช สามารถ นำ บอแรกซ์ หรือ กรดบอริค ไปใช้ประโยชน์ โดยไม่ต้องเปลี่ยนให้เป็น ธาตุโบรอน  

หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พืชสามารถนำสารประกอบที่มีธาตุโบรอนเป็นองค์ประกอบ ( เช่น บอแรกซ์ และ กรดบอริค ) ไปใช้ประโยชน์ได้



โดย:  Not OK 007  [10 ก.พ. 2553 22:17]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

บอแรกซ์ หรืออาจเรียกชื่อว่า ผงกรอบ น้ำประสานทอง ผงกันบูด และเม่งแซ กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดให้เป็นวัตถุที่ห้ามใช้อาหาร เพราะเป็นสารเคมีที่นำที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น ใช้ในการเชื่อมทอง ใช้ชุบและเคลือบโลหะ และใช้ในการผลิตถ่านไฟฉาย เป็นต้น ชื่อทางเคมีของบอแรกซ์ คือ โซเดียมบอเรต ( Sodium Borate ) โซเดียมเตตราบอเรต ( Sodium Tetraborate )  โซเดียมไบบอเรต ( Sodium Biborate ) ฯลฯ

ลักษณะของบอแรกซ์ มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ในอากาศแห้งผลึกจะกลายสภาพเป็นฝุ่นผง ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสขมเล็กน้อย ละลายได้ดีในน้ำ ไม่ละลายในแอลกอฮอล์ 95% เก็บในภาชนะบรรจุที่อากาศผ่านได้ สารละลายของบอแรกซ์เป็นด่าง

เนื่องจากสารบอแรกซ์ทำให้อาหารมีลักษณะกรอบ และมีคุณสมบัติเป็นวัตถุกันเสียอยู่ด้วย ยังพบว่ามีการปลอมปนในผงชูรส

บอแรกซ์ เป็นสารที่มีพิษต่อร่างกาย ความรุนแรงของการเกิดพิษ ขึ้นกับปริมาณที่ร่างกายได้รับสะสมในร่างกาย หากได้รับในปริมาณไม่มาก แต่ได้รับบ่อยเป็นเวลานานจะเกิดอาการเรื้อรัง เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นำหนักลด ผิวหนังแห้งอักเสบ หนังตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับและไตอักเสบ ระบบสืบพันธ์เสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น แต่ถ้าได้รับบอแรกซ์ในปริมาณสูงจะเกิดอาการเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อุจจาระร่วง เป็นต้นบางครั้งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดังนั้นเวลาจะใช้กับพืชควรระวัง ไม่ควรมีสารบอแรกซ์เหลืออยู่ในส่วนของพืชที่นำมารับประทาน อย่างไรก็ตามควรทราบหน้าที่ของโบรอนในพืช โดยเฉพาะช่วยในการงอกของละอองเกสรตัวผู้ก่อนเข้าไปผสมพันธุ์กับไข่ในส่วนของดอกตัวเมีย ถ้านำไปใช้ด้านอื่น เช่นผสมกับแคลเซียมอาจไม่เห็นประสิทธิภาพของโบรอนได้ เมื่อนำไปใช้ในช่วงดอกบาน คาดว่าพอเก็บเกี่ยวผล ส่วนของโบรอน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปใดๆ อาจไม่เหลือจนก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้

ในกรณีที่ต้องการลดต้นทุน ต้องมีข้อมูลว่าสารใดมีราคาต่ำสุดด้วย

โดย:  รศ. ดร.อรพิน เกิดชูชื่น  [15 ก.พ. 2553 08:46]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

จะซื้อสารบอแรกซ์ได้ไหนบ้าง ผมอยู่ตจว.

โดย:  ชาวนาไทย  [18 ก.ย. 2553 14:42]
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

ในโบรอนมีสารอะไรประกอบอยู่บ้างค่ะอยากทราบจริงๆๆ

โดย:  -  [7 มิ.ย. 2557 21:18]
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

กากของเหลวที่มีส่วนผสมของโบรอนสูงสามารถนำไปทำอะไรได้บ้างครับ

โดย:  so cut  [2 ต.ค. 2557 13:38]
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

บางข้อมูลแตกต่างกัน ไม่ละลายในแอลกอฮอล์ 95%ยัง งงๆครับ

โดย:  ถาวร  [28 ก.ย. 2560 16:59]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้