สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ถ้าเราครอบครอง ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเสปร์ยพ่นที่ใช้เช็ครอยร้าวของชิ้นงาน แต่ใน MSDS ระบุว่ามีส่วนผสมของสารเคมีและวัตถุอันตรายชนิดที่ 3  ถือว่าเข้าข่ายครอบครอง หรือไม่ครับ

ขอเรียนสอบถามเพิ่มเติมครับ

กรณีถ้าผมซื้อผลิตภัณฑ์เสปร์ยน้ำยาที่ใช้ในการตรวจสอบรอยร้าวในชิ้นงาน 1 กระป๋อง แล้วเมื่อรับ MSDS จากผู้จำหน่าย แล้ว ปรากฎว่า ระบุ ไว้ว่ามีส่วนประกอบที่เข้าข่าย วัตถุอันตรายชนิดที่ 2, 3 และ 4
ได้แก่

a) 1,1,1-Trichloroethane; (methyl chloroform) CAS No.77-55-6 ปริมาณที่ผสม 62% ต่อหน่วยน้ำหนักรวม ในกระป๋องเสปร์ย

b) CARBON DIOXIDE CAS No.124-38-9 (5%/WT)

และยังมีลักษณะอย่างนี้ ในผลิตภัณฑ์อื่นครับ เช่น น้ำยาถูกพื้น, Liquip paper etc.

ถ้าเป็นลักษณะอย่างนี้ ผมต้องปฎิบัติตาม/แจ้ง การครอบครองต่อหน่วยงานรัฐ หรือไม่ครับ แล้วเส้นแบ่ง/หลักเกณฑ์ในการพิจารณาระหว่างที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย กับละเว้น คืออะไรครับ เบื้องต้นกฎหมายบางฉบับก็ไม่ได้ระบุปริมาณการครอบครองมาด้วยนะครับ

รบกวนด้วยนะครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

โดย:  K.Boon   [11 มี.ค. 2553 10:53]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับวัตถุอันตราย  /  เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขอตอบในส่วนของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  ซึ่งจะเป็นการตอบคำถามที่เกี่ยวกับน้ำยาถูพื้นและน้ำยาลบคำผิด (liquid paper)  นะคะ

วัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของ อย. ซึ่งได้แก่ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์และวัสดุอื่นๆ  หรือการแก้ไขการอุดตันของท่อหรือทางระบาย  ผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาว  ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด  และผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง  เป็นต้น  หากเป็นการครอบครองเพื่อการใช้สอยส่วนบุคคล  หรือเป็นการครอบครองผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป  ผู้มีไว้ในครอบครองไม่ต้องแจ้งดำเนินการครอบครองหรือขออนุญาตมีไว้ในครอบครองต่อ อย. ค่ะ (ดูรายละเอียดได้ที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยกเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538)

ดังนั้น ในกรณีของ K. Boon เป็นการครอบครองผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและเป็นการใช้สอยส่วนบุคคลจึงไม่ต้องแจ้งการครอบครองค่ะ ส่วนการมีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่จะต้องแจ้งดำเนินการครอบครองหรือขออนุญาตจาก อย. ได้แก่ การมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้ในการประกอบกิจการรับจ้าง เช่น รับจ้างกำจัดปลวก  แมลง มด ผู้ประกอบการใช้รับจ้างจะต้องแจ้งดำเนินการครอบครองหรือขออนุญาตครอบครอง ต่อ อย.

อย่างไรก็ตาม หากเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้างทำความสะอาดพาหนะ  ทำความสะอาดหรือซักแห้งเครื่องนุ่งห่ม   และกำจัดตัวเบียนภายนอกของสัตว์เลี้ยง (เช่น เห็บ หมัด) จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งดำเนินการหรือขออนุญาตครอบครอง  

แต่ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้างจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ อย. ได้รับขึ้นทะเบียนไว้แล้วนะคะ (ดูรายละเอียดได้ที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเว้นการปฏิบัติของการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ)

ดูรายละเอียดประกาศทั้งสองฉบับได้ตาม link ที่ให้ไว้นะคะ

http://www.fda.moph.go.th/psiond/newweb/editor/data/files/psiond/docs/law/MOPH_exception_38.PDF และhttp://www.fda.moph.go.th/psiond/newweb/editor/data/files/psiond/docs/law/MOPH_exception%20of%20PCO.pdf

โดย:  กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย  อย.  [24 มี.ค. 2553 13:36]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอขอบพระคุณ เป็นอย่างสูงครับ

K.Boon

โดย:  K.Boon  [24 มี.ค. 2553 14:25]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

อยากทราบว่า ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการทำmsds บ้างคะ แล้วอย่างผลิตภัณลบคำผิด ต้องทำ msds มั้ยคะ ขอบคุณคะ

โดย:  boom  [19 มิ.ย. 2557 20:26]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้