สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

MSDS คืออะไรค่ะ  ใช้เพื่อประโยชน์ อะไร และสาเคมีตัวไหนบ้างต้องมี MSDSควบคุม

เรามีสินค้าที่ขายให้ลูกค้า และ ลูกค้าต้องการ MSDS มาเพื่อแสดงถึงสถานะที่เป็นอยู่  อยากทราบถึง ความหมาย และเรื่องต่างๆ พร้อมทั้งถ้าต้องทำ เอกสาร MSDS จะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ


โดย:  เก๋ค่ะ   [9 พ.ค. 2550 12:47]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

สินค้าที่ขายคือกลุ่มสารเคมีใช่หรือเปล่าครับ ถ้าเช่นนั้นต้องมีเอกสารดังกล่าวทุกชนิด   สินค้าคุณผลิตขึ้นมาเองหรือเปล่า หรือเป็นการซื้อมาขาย หรือนำมาบรรจุใหม่  ซึ่งเอกสารดังกล่าวสามารถขอจากผู้ผลิตได้ครับ และส่วนมากจะเป็นภาษาอังกฤษ โดยคุณสามารถนำมาแปลเป็นภาษาไทยให้ลูกค้าคุณได้ครับ   ส่วน MSDS ( Material Safety Data Sheet ) หรือข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี  ซึ่งจะกล่าวถึงชื่อของสินค้านั้นๆ มีส่วนผสมของสารเคมีใดบ้างที่ผสมอยู่ ในจำนวนอัตราของปริมาตร  คุณสมบัติทางเคมี เช่น จุดวาบไฟ  จุดหลอมละลาย การกลายเป็นไอ   อันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่ออวัยวะต่างๆของร่างกาย  การปฐมพยาบาลเบื้องต้น  การจัดเก็บ  การเคลื่อนย้าย เป็นต้น

โดย:  anup8731  [9 พ.ค. 2550 16:49]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

มีตัวอย่างฉบับจริงให้ดูหรือไม่

โดย:  ฉันทนา 989  [11 พ.ค. 2550 11:06]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

เข้าใน google แล้วพิมพ์คำว่า MSDS ก็ได้ค่ะ แล้วก็จะขึ้นมาให้ ในประเทศไทยก็มีหลายที่ที่ทำ MSDS เช่น ของ Chemtrack หรือ กรมควบคุมมลพิษ : http://msds.pcd.go.th/ ก็ได้ค่ะ หรือในต่างประเทศมีมากมายเช่น niosh, osha

โดย:  นักเรียน  [14 พ.ค. 2550 10:30]
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

ไปพิมไนกูเกิลดิ


โดย:  io  [19 พ.ค. 2550 20:11]
ข้อคิดเห็นที่ 5:5


SIGMA-ALDRICH

--------------------------------------------------------------------------------

เอกสารข้อมูลความปลอดภัย
วันที่พิมพ์:  13/DEC/2004
วันที่แก้ไขข้อมูลล่าสุด:  09/SEP/2004
รุ่น  1.4
มาจาก  91/155/EEC


--------------------------------------------------------------------------------

หมวดที่ 1 - ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีและบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่าย

--------------------------------------------------------------------------------

ชี่อผลิตภัณฑ์ SODIUM HYDROXIDE MICROPRILLS
หมายเลขผลิตภัณฑ์ 06306
บริษัท Sigma-Aldrich Pte Ltd #08-01 Citilink Warehouse Singapore 118529
เบอร์โทรศัพท์ฝ่ายวิชาการ # 65 271 1089
โทรสาร: 65 271 1571



--------------------------------------------------------------------------------

หมวดที่ 2 - องค์ประกอบ/ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม

--------------------------------------------------------------------------------

ชี่อผลิตภัณฑ์ CAS # EC no Annex I เลขดัชนี
SODIUM HYDROXIDE 1310-73-2 215-185-5 011-002-00-6

สูตร NaOH
น้ำหนักโมเลกุล 40 AMU
ชื่อพ้อง Caustic soda *   Hydroxyde de sodium (French) *   Lewis-red devil lye *   Natriumhydroxid (German) *   Natriumhydroxyde (Dutch) *   Soda lye *   Sodio(idrossido di) (Italian) *   Sodium hydrate *   Sodium hydroxide (ACGIH:OSHA) *   Sodium(hydroxyde de) (French) *   White caustic



--------------------------------------------------------------------------------

หมวดที่ 3 - ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย

--------------------------------------------------------------------------------

ข้อชี้บ่งสำหรับอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

 ทำให้เกิดแผลไหม้อย่างรุนแรง.




--------------------------------------------------------------------------------

หมวดที่ 4 - มาตรการปฐมพยาบาล  

--------------------------------------------------------------------------------

เมื่อสูดดมสาร

 ถ้าสูดดมเข้าไป, ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์.  ถ้าไม่หายใจ ให้การช่วยหายใจ.  ถ้าหายใจลำบาก, ให้ออกซิเจน.


เมื่อสัมผัสสาร

 ในกรณีที่ถูกผิวหนัง, ให้ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.  ถอดเสื้อและรองเท้าที่เปื้อนสาร.  ไปพบแพทย์.


เมื่อสารเข้าตา

 ในกรณีที่เข้าตา, ให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.  ต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง.  ไปพบแพทย์.


เมื่อกลืนกิน

 เมื่อกลืนกิน, ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่.  ไปพบแพทย์ทันที.  ห้ามทำให้อาเจียน.




--------------------------------------------------------------------------------

หมวดที่ 5 - มาตรการการผจญเพลิง

--------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลเกี่ยวกับการระเบิด



 ไวต่อแรงกระแทก:   การสัมผัสกับอะลูมินัม, ดีบุก และสังกะสี จะปล่อยแก๊สไฮโดรเจนออกมา.  การสัมผัสกับไนโตรมีเธนและสารประกอบไนโตรอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน ก่อให้เกิดเกลือที่ไวต่อการกระแทก.

อุปกรณ์ผจญเพลิง



 เหมาะสม:   ใช้สารดับเพลิงที่เหมาะสมกับสภาวะรอบๆที่เกิดไฟ.
 ไม่เหมาะสม:   ห้ามใช้น้ำ.

ความเสี่ยงเฉพาะ



 อันตรายเฉพาะ:   ปล่อยควันพิษออกมาภายใต้สภาวะที่เกิดไฟ.

อุปกรณ์ป้องกันพิเศษสำหรับผู้ผจญเพลิง

 สวมเครื่องช่วยการหายใจแบบครบชุดและเสื้อผ้าที่ใช้ป้องกัน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับผิวหนังและดวงตา.




--------------------------------------------------------------------------------

หมวดที่ 6 - มาตรการเมื่อมีอุบัติเหตุสารหกรั่วไหล

--------------------------------------------------------------------------------

ข้อควรปฏิบัติสำหรับบุคคลในกรณีที่หก หรือรั่วไหล

 อพยพคนออกจากบริเวณ.


วิธีป้องกันภัยของบุคคล

 สวมอุปกรณ์ช่วยหายใจแบบครบชุด, รองเท้าบูท และถุงมือยางแบบหนา.


วิธีการทำความสะอาดหลังการปนเปื้อน หรือรั่วไหล

 กวาด, เก็บไว้ในถุงและรอการกำจัด.  ระบายอากาศในบริเวณนั้น และล้างตำแหน่งที่สารหกรั่วไหลหลังจากเก็บสารออกหมดแล้ว.




--------------------------------------------------------------------------------

หมวดที่ 7 - ข้อปฏบัติการใช้สารและการเก็บรักษา

--------------------------------------------------------------------------------

ข้อปฏิบัติการใช้สาร



 คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติที่ปลอดภัย:   อย่าหายใจเอาฝุ่นเข้าไป.  ระวังอย่าให้เข้าตา, โดนผิวหนัง, หรือเสื้อผ้า.  หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง.

การเก็บรักษา



 สภาวะสำหรับการเก็บ:   ปิดให้สนิท.  เก็บในที่แห้งและเย็น.
 สารที่เข้ากันไม่ได้:   อย่าให้ถูกน้ำ



--------------------------------------------------------------------------------

หมวดที่ 8 - การควบคุมการสัมผัสสาร/ การป้องกันส่วนบุคคล

--------------------------------------------------------------------------------

การควบคุมเชิงวิศวกรรม

 ฝักบัวนิรภัยและอ่างล้างตา.  ใช้ในตู้ดูดควันสารเคมีเท่านั้น.


สุขลักษณะทั่วไป

 ทำความสะอาดเสื้อผ้าที่เปื้อนก่อนนำมาใช้ใหม่.  ทิ้งรองเท้าที่เปื้อน.  ล้างให้สะอาดหลังการสัมผัส.


ขีดจำกัดการระเบิด



ประเทศ แหล่งที่มา ประเภท ค่า
โปแลนด์ สหัฐอเมริกา OSHA. NDS PEL 2 mg/m3
     0.5 mg/m3
โปแลนด์ สหัฐอเมริกา ACGIH NDSCh TLV 2 mg/m3
     1 mg/m3
โปแลนด์   NDSP -

ขีดจำกัดการระเบิด - เดนมาร์ก



แหล่งที่มา ชนิด ค่า
OEL
ข้อสังเกต:  L TWA 2 mg/m3

ขีดจำกัดการระเบิด - เยอรมันนี



แหล่งที่มา ชนิด ค่า
TRGS 900
ข้อสังเกต:  =1= OEL 2 mg/m3, E

ขีดจำกัดการระเบิด - นอร์เวย์



แหล่งที่มา ชนิด ค่า

ข้อสังเกต:  T OEL 2 mg/m3

ขีดจำกัดการระเบิด - สวีเดน



แหล่งที่มา ชนิด ค่า
 CLV (ค่าสูงสุด) 2 mg/m3

ขีดจำกัดการระเบิด - สวิสเซอร์แลนด์



แหล่งที่มา ชนิด ค่า
OEL
ข้อสังเกต:  E C OEL 2 mg/m3

ขีดจำกัดการระเบิด - อังกฤษ



แหล่งที่มา ชนิด ค่า
OEL STEL 2 mg/m3

เครื่องป้องกันส่วนบุคคล



 การป้องกันทางเดินหายใจ:   เครื่องช่วยหายใจที่ผ่านการรับรองโดยรัฐ
 การป้องกันมือ:   ถุงมือชนิดที่ทนสารเคมี.
 การป้องกันดวงตา:   แว่นตาแบบก๊อกเกิลส์ที่ป้องกันสารเคมี.



--------------------------------------------------------------------------------

หมวดที่ 9 - สมบัติทางเคมีและกายภาพ

--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะภายนอก



 สถานะทางกายภาพ:   ของแข็ง สี:  สีขาว รูปแบบ:  เม็ดกลม

สมบัติ  ค่า  ณ อุณหภูมิหรือความดัน
พีเอช 13 - 14  
จุดเดือด/ข่วงการเดือด 1,390 oC    
จุดหลอมเหลว/ช่วงการหลอมเหลว 318 oC    
จุดวาบไฟ N/A  
ความไวไฟ N/A  
อุณหภูมิลุกติดไฟด้วยตนเอง N/A  
สมบัติออกซิไดซ์ N/A  
สมบัติการระเบิด N/A  
ขีดจำกัดการระเบิด N/A  
ความดันไอ < 18 mmHg 20 oC  
ถพ./ความหนาแน่น 2.13 g/cm3  
สัมประสิทธิ์การแบ่งส่วน N/A  
ความหนืด N/A  
ความหนาแน่นของไอ > 1 g/l  
ความเข้มข้นไอระเหยเมื่ออิ่มตัว N/A  
อัตราการระเหย N/A  
ความหนาแน่นในสภาพเป็นกลุ่มก้อน (bulk density) 2.13 kg/l  
อุณหภูมิสลายตัว N/A  
สัดส่วนของตัวทำละลาย N/A  
สัดส่วนของน้ำ N/A  
แรงตึงผิว N/A  
การนำไฟฟ้า N/A  
ข้อมูลเบ็ดเตล็ด N/A  
การละลาย N/A  



--------------------------------------------------------------------------------

หมวดที่ 10 - ความเสถียรและความว่องไวต่อปฏิกิริยา

--------------------------------------------------------------------------------

ความเสถียร



 เสถียร:   เสถียร.
 สภาวะที่ทำให้เกิดความไม่เสถียร:   ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ.  ความร้อนของสารละลายสูงมาก,  และกับน้ำปริมาณจำกัด,  อาจเกิดการเดือดอย่างรุนแรง ห้ามเติมน้ำลงสารนี้,  เติมสารนี้ลงในน้ำเสมอ
 สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง:   อย่าให้น้ำเข้าภาชนะเพราะจะเกิดปฏิกิริยารุนแรง.
 สารที่ควรหลีกเลี่ยง:   ตัวออกซิไดซ์แรง,  กรดแก่,  สารอินทรีย์.

ผลิตภัณฑ์อันตรายที่เกิดจากการสลายตัว



 ผลิตภัณฑ์อันตรายที่เกิดจากการสลายตัว:   โซเดียม/โซเดียมออกไซด์.

โพลิเมอร์ไรเซชั่นที่เป็นอันตราย



 โพลิเมอร์ไรเซชั่นที่เป็นอันตราย:   จะไม่เกิด



--------------------------------------------------------------------------------

หมวดที่ 11 - ข้อมูลทางพิษวิทยา

--------------------------------------------------------------------------------

หมายเลข RTECS: WB4900000

พิษเฉียบพลัน

 LD50
ในเยื่อบุช่องท้อง
หนู mouse
40 MG/KG


ข้อมูลด้านการระคายเคือง

โดย:  Porn  [2 มิ.ย. 2550 13:54]
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

ต้องการขายแคลเซียมโบรอนแบบน้ำ แต่ขอเอกสารmsdsแล้วผู้ผลิตไม่ให้ ไม่ทราบว่า เราทำเองได้ไหมคะ จากmsdsของบริษัทอื่น

โดย:  Rosesukond  [14 ส.ค. 2562 11:21]
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

เรามีวิธีในการทำ และจัดเก็บ SDS ภายในโรงงาน แบบหาง่าย ทำง่าย จัดเก็บได้ง่่ายอย่างไร แนะนำหน่อยค่ะ


โดย:  Duangporn  [24 ก.พ. 2563 13:03]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้