สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การบรรจุชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ (ถุงลมนิรภัย)

ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ประกอบการ รับจ้างบรรจุชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ (CKD) โดยดำเนินการบรรจุชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ สำหรับชิ้นส่วนประเภทถุงลมนิรภัยนั้น เมื่อบริษัทรับมาจากผู้ผลิตที่ทำการบรรจุใส่กล่องเรียบร้อยแล้ว บริษัทจะไม่แกะกล่องนั้นและได้นำไปรวมกับชิ้นส่วนอื่นๆ เพื่อจัดส่งต่อไป

คำถาม 1. เมื่อบริษัทต้องการดำเนินการบรรจุถุงลมนิรภัย หลังจากผู้ผลิตได้ทำผลิตเรียบร้อยแล้ว (เมื่อผู้ผลิตนำถุงลมนิรภัยที่บรรจุใส่กล่องเรียบร้อยแล้วมาส่งให้เรา เราจะแกะกล่องเพื่อคัดแยกและจัดส่งอีกครั้งตามความต้องการของลูกค้าต่อไป)
ถามว่า หากบริษัทต้องการจะดำเนินการตามข้างต้นนี้ ในฐานะผู้รับจ้างบรรจุสินค้าอันตรายคือถุงลมนิรภัย จะต้องดำเนินการขออนุญาตอย่างไรบ้าง และจากหน่วยงานใด

2. กรณีเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ทันสมัยนั้น หากจะคัดแยกสินค้าอันตรายคือถุงลมนิรภัยนี้ จะมีการดำเนินการอย่างไร และจากหน่วยงานใดบ้าง

โดย:  ฐิติรัตน์ ศิริเลิศ   [28 มิ.ย. 2553 14:57]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับวัตถุอันตราย  /  ฐานข้อมูล แหล่งสารสนเทศ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

คำถามข้อ 1 "ในฐานะผู้รับจ้างบรรจุสินค้าอันตรายคือถุงลมนิรภัย จะต้องดำเนินการขออนุญาตอย่างไรบ้าง และจากหน่วยงานใด"
ถ้าจะตอบเท่าที่ถามคือ  หน่วยงานใด ?  ก็อาจตอบว่า น่าจะต้องขออนุญาตกระทรวงพาณิชย์  และถ้าเป็นคำตอบที่ถูก ก็ต้องไปหาคำตอบ อย่างไรบ้าง ? จากหน่ายงานที่รับผิดชอบในกระทรวงพาณิชย์  ซึ่งอาจเป็น กรมการค้าภายใน ซึ่งน่าจะได้คำตอบที่ละเอียดถูกต้องกว่าคำตอบที่ได้จากผู้ตอบในเว็บไซด์นี้
แต่ …
คำถามนี้มีสาระที่ควรพิจารณาหลายประการ เช่น
- ความรับผิดชอบในฐานะผู้รับจ้างบรรจุสินค้าที่มีการส่งไปต่างประเทศ
- ส่งออกไปประเทศใด กฏหมายของประเทศผู้ซื้อเป็นอย่างไร
- ผู้นำสินค้ามาให้ส่งต่อบรรจุสินค้าตามมาตรฐานสากลหรือไม่ ได้ข้อมูลอะไรบ้างจากผู้ผลิตสินค้า
- การนำชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ไปรวมกับชิ้นส่วนอื่น ๆแล้วส่ง ต่างจากการแกะกล่องเพื่อคัดแยกและจัดส่งอีกครั้ง หรือไม่ อย่างไร
- ชิ้นส่วนอื่น ๆ เป็นสินค้าอันตรายหรือไม่
                 -       ถุงลมนิรภัยเป็นสินค้าอันตราย ( Dangerous Goods ) ประเภทไหน
มีสารอันตราย (Hazadous Substanses ) หรือไม่
…….
คำถามข้อ 2   ก็มีสาระอีกหลายเรื่องที่ควรพิจารณาเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการส่งสินค้าไปต่างประเทศ โดยเฉพาะ เป็นสินค้าที่มีสารอันตรายอยู่ด้วย และส่งไปประเทศในสหภาพยุโรป ต้องมีความรู้ทั้งกฏหมายไทย และกฏหมายของประเทศคู่ค้า กฏหมายการขนส่งระหว่างประเทศ …แต่ผู้ถามก็ไม่ต้องตกใจเพราะอยู่ในวิสัยที่จะหาความรู้ได้ ข้อที่น่าชมคือ ตั้งใจประกอบการโดยปฏิบัติตามกฏหมาย

คำถามนี้ น่าจะใช้เป็นกรณีศึกษาสำหรับการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถร่วมกันชี้แนะให้ผู้ประกอบการที่ตั้งใจจะปฏิบัติตามกฏหมายสามารถดำเนินการให้ถูกต้อง

โดย:  วราพรรณ ด่านอุตรา  [29 มิ.ย. 2553 18:27]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

การค้าในปัจจุบันมีเรื่องที่ต้องดำเนินการที่ค่อนข้างซับซ้อน เพราะมีกฎระเบียบหลายอย่างทำให้มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการในระดับต่าง ๆของ supply chain  เดียวกัน ความรับผิดชอบในสินค้าจึงเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาให้รอบคอบ

โดย:  SOS  [30 มิ.ย. 2553 13:59]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

อะไหล่ ไทยแลนด์ แหล่งรวมอะไหล่รถยนต์ทุกชนิด
นึกถึงอะไหล่ คิดถึง อะไหล่ ไทยแลนด์
อะไหล่ของแท้แน่นอน ราคาถูกสุดๆๆ
เรามีทั้งอะไหล่ มือหนึ่งและมือสอง
สนใจกรุณาติดต่อ คุณขนม โทร. 081-818-9142 คะ
หรือเข้าไปดู ไปเลือกชมสินค้าได้ที่ www.alai-thailand.com


โดย:  คุณขนม  [20 มี.ค. 2555 15:15]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้