สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ปรึกษาโครงงาน        ( ศึกษาอัตราการละลายของโฟมในตัวทำละลายที่ต่างกัน )

โครงงานของกลุ่มหนูเป็นโครงงานระดับ ม.ปลาย  ศึกษาอัตราการละลายของโฟมในตัวทำละลายที่ต่างกัน ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูด  น้ำมันเบซิน  อะซีโตน และ เฮกเซน  ว่าละลายในตัวไหนได้เท่าไร  เปรียบเทียบกันดูแล้ววิเคราะห์ผล  ควรจะเพิ่มเติมเรื่องใดบ้างไหมค่ะ  ช่วยทีนะค่ะ

โดย:  แสงตะวัน   [19 ก.ค. 2553 22:07]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การวิเคราะห์ ทดสอบ  /  สารตัวทำละลาย
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

การจะทดลองอะไรต้องออกแบบวิธีการที่จะตอบโจทย์ได้ว่าตัวทำละลายที่นำมาเปรียบเทียบนั้น ได้ผลเป็นอย่างไร วัดได้หรือไม่อย่างไร การเปรียบเทียบต้องอยู่บนฐานเดียวกัน เช่น น้ำหนัก ปริมาตร เครื่องมือที่ใช้วัด (เครื่องชั่ง)ฯลฯ การควบคุมการทดลอง ความละเอียดของการทดลอง จุดมุ่งหมายของการทำโครงงานอยู่ที่การเรียนรู้จากการลงมือทำเอง ได้ข้อมูลมาวิเคราะห์และหาข้อสรุปได้จากผลที่ทำได้

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [21 ก.ค. 2553 09:30]
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

จากที่ได้ทดลองโดยการหยดตัวทำละลายในโฟมเม็ดจำนวน ๓ เม็ด น้ำหนักโดยเฉลี่ย ๐.๐๐๓ กรัม  ต่อปริมาณสาร ๑๐๐ ไมโครลิตร    พบว่าโฟมละลายในน้ำมันหอมระเหยหมดและสารเป็นเนื้อเดียวกัน   ส่วนโฟมที่ถูกละลายในเบนซินละลายได้แต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ช่วงแรกโฟมจะละลายก่อนแล้วเหลือเป็นเกร็ดใส  หลังจากนั้นประมาณ ๒๐ นาทีโฟมก็กลายเป็นของเหลวใสและหนืด  โฟมที่ถูกละลายในอะซีโตนก็เช่นเดียวกันกับเบนซิน คือ ละลายโฟมได้อย่างรวดเร็วในช่วงแรก  แล้วเหลือลักษณะเกร็ดโฟมสีขาว  และหลังจากนั้นเป็นเวลาประมาณ ๒๐ นาทีก็มีลักษณะเป็นเกร็ดสีขาว เป็นของแข็ง  ส่วนอันสุดท้าย เฮกเซน  ใช้เวลานานมากกว่า๓๐ นาทีในการละลาย  โดยจากที่สังเกตใช้เวลาไป๓๐นาทีสามารถละลายโฟมได้ครึ่งหนึ่งของตอนแล้ว    อยากถามว่า จะเลือกวัดเวลาในการละลายโฟมจากตรงไหนดีค่ะ  เช่น จนกว่าโฟมจะละลายเป็นสารเนื้อเดียวกันหมด  หรือโฟมละลายให้เห็นในช่วงเวลาเท่าไร  เป็นต้น ช่วยแนะวิธีจับเวลาที่ใช้หน่อยนะค่ะ ว่าควรวัดจากตรงไหนดี

โดย:  แสงตะวัน  [22 ก.ค. 2553 03:55]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

การแก้ปัญหาขยะโฟม        

http://jin2504.siam2web.com//?cid=102918        ครู จินตนา  เดชเกิด        วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม        ( เป็นตัวอย่างที่ดีของ การคิด การทดลอง การแก้ปัญหา การปรับปรุง การนำเสนอ การทำให้เกิดการมีส่วนร่วม )        
http://sciinaction.blogspot.com/2007/01/blog-post_1408.html        
http://elib.ipst.ac.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&opt=mrc&bid=1581&kid=0&lang=1&db=scp&pat=%CA%D8%A2%BA%B7&cat=tit&skin=u&lpp=8&catop=&scid=zzz        
http://elib.ipst.ac.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dig&db=SCP&pat=%E2%AB&cat=tit&skin=u&lpp=16&catop=&scid=zzz&ref=T:@1160&nx=1&lang=1        
http://www.vcharkarn.com/vcafe/56036                        http://www.vcharkarn.com/vcafe/160723

โดย:  นักเคมี  [25 ก.ค. 2553 07:57]
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

ดี

โดย:  นา  [3 ส.ค. 2554 13:25]
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

สวัสดีค่ะ หนูทำโครงงาน เกี่ยวกับการสกัดสารหอมระเหย อยากทราบว่า ต้องใช้มะกรูดต่อเฮกเซนอยางละเท่าไรคะ รบกวนช่วยตอบหนูด้วยนะคะ

โดย:  ming  [4 พ.ย. 2554 18:57]
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

ตอนนี้ก็กำลังทำอยู่อ่าค่ะ !!!  ต้องทำพันพรืออ่าค้ะ ??

โดย:  คนสวย  [17 พ.ย. 2554 15:40]
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

การจะทดลองอะไรต้องออกแบบวิธีการที่จะตอบโจทย์ได้ว่าตัวทำละลายที่นำมาเปรียบเทียบนั้น ได้ผลเป็นอย่างไร วัดได้หรือไม่อย่างไร การเปรียบเทียบต้องอยู่บนฐานเดียวกัน เช่น น้ำหนัก ปริมาตร เครื่องมือที่ใช้วัด (เครื่องชั่ง)ฯลฯ การควบคุมการทดลอง ความละเอียดของการทดลอง จุดมุ่งหมายของการทำโครงงานอยู่ที่การเรียนรู้จากการลงมือทำเอง ได้ข้อมูลมาวิเคราะห์และหาข้อสรุปได้จากผลที่ทำได้จากที่ได้ทดลองโดยการหยดตัวทำละลายในโฟมเม็ดจำนวน ๓ เม็ด น้ำหนักโดยเฉลี่ย ๐.๐๐๓ กรัม  ต่อปริมาณสาร ๑๐๐ ไมโครลิตร    พบว่าโฟมละลายในน้ำมันหอมระเหยหมดและสารเป็นเนื้อเดียวกัน   ส่วนโฟมที่ถูกละลายในเบนซินละลายได้แต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ช่วงแรกโฟมจะละลายก่อนแล้วเหลือเป็นเกร็ดใส  หลังจากนั้นประมาณ ๒๐ นาทีโฟมก็กลายเป็นของเหลวใสและหนืด  โฟมที่ถูกละลายในอะซีโตนก็เช่นเดียวกันกับเบนซิน คือ ละลายโฟมได้อย่างรวดเร็วในช่วงแรก  แล้วเหลือลักษณะเกร็ดโฟมสีขาว  และหลังจากนั้นเป็นเวลาประมาณ ๒๐ นาทีก็มีลักษณะเป็นเกร็ดสีขาว เป็นของแข็ง  ส่วนอันสุดท้าย เฮกเซน  ใช้เวลานานมากกว่า๓๐ นาทีในการละลาย  โดยจากที่สังเกตใช้เวลาไป๓๐นาทีสามารถละลายโฟมได้ครึ่งหนึ่งของตอนแล้ว    อยากถามว่า จะเลือกวัดเวลาในการละลายโฟมจากตรงไหนดีค่ะ  เช่น จนกว่าโฟมจะละลายเป็นสารเนื้อเดียวกันหมด  หรือโฟมละลายให้เห็นในช่วงเวลาเท่าไร  เป็นต้น ช่วยแนะวิธีจับเวลาที่ใช้หน่อยนะค่ะ ว่าควรวัดจากตรงไหนดี


โดย:  คนแม่หอพระ  [13 มี.ค. 2555 14:11]
ข้อคิดเห็นที่ 7:8

โครงงานทุกโครงงานผมทำเป็นหมด อิอิ

โดย:  คนเกลียดโครงงาน  [18 ส.ค. 2555 10:31]
ข้อคิดเห็นที่ 8:15

ผมอย่างรู้เรื่องโฟมอ่ะคับทำไงดีช่วยตอบด้วย

โดย:  เด็กวัยรุ่น1000ล้าน  [26 มิ.ย. 2556 06:42]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้