สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

อยากทราบเกี่ยวกับสารที่ใช้พิมพ์ในพิมพ์

อยากทราบเกี่ยวกับสารที่ใช้พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ทำไมจึงใช้เช็ดกระจกได้สะอาด

สารนั้นมีชื่อว่าอะไร แล้วทำไมจึงได้เช็ดกระจกได้สะอาดพอๆกับน้ำยาเช็ดกระจก

มันเปนเบสไหม หรือเปนคาร์บอน ช่วยอธิบายด้วย อยากทำข้อมูลรายงาน

โดย:  เดกโง่   [30 มิ.ย. 2550 13:08]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป  /  เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

น้ำยาเช็ดกระจก
ผู้เขียน: อ. โชติมา วิไลวัลย์
วันที่: 3 ก.ค. 2549

             น้ำยาเช็ดกระจกก็จัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ซักล้าง จึงมีสารลดแรงตึงผิวเป็นองค์ประกอบหลักผสมกับสารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลาย ซึ่งน้ำยาเช็ดกระจกที่พบมีอยู่หลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อมีส่วนผสมหลักคล้ายคลึงกัน โดยทุกชนิดจะใช้ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (isopropyl alcohol) ในปริมาณ 1.0-4.0% ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไวไฟ และมีกลิ่นฉุนมาก ใช้ในการทำความสะอาด ถ้าจะใช้ฆ่าเชื้อต้องใช้ที่ความเข้มข้นสูงถึง 60-70% การหายใจเข้าไปในปริมาณเล็กน้อยจะระคายเคืองจมูก ลำคอ และระบบทางเดินหายใจ  ทำให้ปวดหัว คลื่นไส้ วิงเวียน อาเจียน ถ้าได้รับปริมาณสูงขึ้นอาจทำให้หมดสติ หรือตายได้ การสัมผัสนาน ทำให้ผิวหนังแห้งและแตก การกลืนกินมีอาการคล้ายการหายใจ อาเจียนและอาจทำอันตรายแก่ปอด และระคายเคืองต่อตา ห้ามทิ้งสู่แหล่งน้ำ น้ำเสีย หรือดิน สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้

          สารเคมีที่นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในน้ำยาเช็ดกระจกอีกชนิดคือบิวทิลเซลโลโซลฟ์ (butyl cellosolve) เป็นตัวทำละลายเคมีที่ละลายน้ำได้ (water-soluble solvent)  มักใช้กับคราบมัน หรือทำให้มัน มีชื่อทางเคมีว่า 2-บิวทอกซีเอทานอล (2-butoxyethanol) หรือเอทาลีนไกลคอลโมโนบิวทิลอีเทอร์ (ethylene glycol monobutyl ether) มีค่า LD50 (หนู) 470 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นพิษหากถูกดูดซึมผ่านผิวหนัง กินเข้าไปทำให้มึนเมาได้ ตัวทำละลายทั้ง 2 มีผลกระทบคล้ายกันคือ ระคายเคืองต่อตา ผิวหนัง จมูก ลำคอ เกิดอาการไอ คลื่นไส้ วิงเวียน ปวดหัว ตาแดง เจ็บตา เห็นไม่ชัด ปวดท้องน้อย ท้องเสีย อาเจียน กดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก แต่ไม่ต้องกังวลมากเพราะตัวทำละลายในน้ำยาเช็ดกระจกมีความเข้มข้นน้อยมากคือเพียง 0.5-2.5% เท่านั้น


             สำหรับสารลดแรงตึงผิวที่ใช้ในน้ำยาเช็ดกระจกคือ sodium lauryl ether sulfate (SLES) หรือ sodium laureth sulfate  ใช้ในปริมาณ 0.1 - 0.6 % โดยน้ำหนัก SLES มีค่า LD50 (หนู) 1,600 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีพิษปานกลาง เป็นสารทำให้เกิดฟอง มักใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และแชมพู อาจทำให้เกิดการระคายเคืองตาและผิวหนัง หากเกิดอาการหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ควรหยุดใช้ทันที ในกระบวนการผลิต SLES อาจปนเปื้อนด้วย 1,4-dioxane ซึ่งอาจเป็นสารก่อมะเร็ง ในต่างประเทศมีการห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารและยา แต่อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าสารชนิดนี้เป็นก่อมะเร็ง


           น้ำยาเช็ดกระจกบางชนิดที่ไม่ใช้ sodium lauryl ether sulfate เป็นสารลดแรงตึงผิว จะใช้ cocamidopropyl betaine แทน   ซึ่งเป็นสารลดแรงตึงผิวที่จับกับทั้ง anion และ cation ในเวลาเดียวกัน สาร cocamidopropyl betaine เป็นสารลดแรงตึงผิวแบบอ่อน ที่ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อในจมูก  นอกจากนี้มันยังมีสมบัติฆ่าเชื้อโรคด้วย และเข้าได้กับสารลดแรงตึงผิวชนิดอื่นๆ  cocamidopropyl betaine ในน้ำยาเช็ดกระจกมีความเข้มข้นต่ำกว่า 1 % จะไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง อย่างไรก็ตามสำหรับที่ความเข้มข้นสูงขึ้นไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ควรหลีกเลี่ยงการเทผลิตภัณฑ์ใส่มือโดยตรง


            น้ำยาเช็ดกระจกบางยี่ห้อมีการนำ ammonium hydroxide มาใช้ประมาณ 0.1 % ammonium hydroxide ที่ความเข้มข้นสูงกว่า 25 % มีค่า LD50 (หนู) 350 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีความเป็นพิษมาก มีฤทธิ์ทำให้เกิดแผลไหม้ และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนเป็นอันตรายต่อเยื่อเมือก ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ดวงตา ผิวหนัง การสูดดมทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและจมูก ซึ่งต้องระวังอันตรายมากกว่า มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อับเสบ การบวมน้ำของถุงลมและปอด ถ้าเข้าตาสามารถทำให้ตาบอดได้



โดย:  เดกโง่ เอามาให้เหนข้อเปรียบเทียบ  [30 มิ.ย. 2550 13:09]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอบคุนน้า

โดย:  เดกโง่กว่า  [5 ส.ค. 2550 13:49]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

งง.....งง  .... งงง .... ตกลงในกระดาษหนังสือพิมพ์มันมีน้ำยาเช็ดกระจกหรือ.......งง..งง

โดย:  เด็กโข่ง โง่มาก  [27 ก.ย. 2550 19:11]
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

น้ำยาเช็ดกระจกเป็นสาร

โดย:  แพร  [4 พ.ย. 2552 19:50]
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

คาร์บอนเก็บความเย็นยังไง ละะ


โดย:  สาวน้อย ม้งซ้ง  [20 ม.ค. 2565 09:28]
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

อยากทราบเร็วๆๆๆๆๆๆ

โดย:  สาวน้อย ม้งซ้ง  [20 ม.ค. 2565 09:29]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้