สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

หลักการหลัก non-solvent และการตกตะกอนของพลาสติก

และตัวทำละลายที่ระเหยเร็วมีหลักการในการเลือกตัวทำละลายอย่างไรค่ะ

โดย:  eye   [20 พ.ย. 2553 15:40]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กระบวนการผลิตและการใช้ประโยชน์  /  การวิเคราะห์ ทดสอบ  /  สารตัวทำละลาย
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

วิธีคิด แบบ มีหลักการ และ มีความรู้พื้นฐาน เรื่อง  การละลาย  การตกตะกอน  การตกผลึก  การกลั่น  การกลั่นแยกของเหลวผสม        

1    เลือก ตัวทำละลายที่ละลายพลาสติกได้ดี และมีจุดเดือดต่ำ มาละลายพลาสติก        

2    เลือก Non - Solvent  ที่ละลายปนกับ ตัวทำละลายตัวแรกได้บ  แต่ไม่ละลายพลาสติก  และมีจุดเดือดต่ำ        ( แต่ สูงกว่า จุดเดือดของตัวทำละลายแรกที่เลือกไว้  อย่างน้อย 20 องศาเซลเซียส  เพื่อให้สามารถแยกออกจากกันได้ง่าย )

3    เตรียม สารละลายพลาสติก  จาก  พลาสติก และ ตัวทำละลาย        

4    เติม Non - Solvent  ลงใน สารละลายพลาสติก  และกวนด้วยความเร็วสูง  จะมีพลาสติก แยกตัวออกมาจากสารละลาย    

5    กรอง และนำพลาสติกที่กรองได้  ไประเหยให้แห้ง  ( เพื่อให้ปราศจาก ตัวทำละลาย และ Non - Solvent )        

6    นำ ของผสม ระหว่าง  ตัวทำละลาย และ Non - Solvent    มาทำการกลั่น เพื่อแยก สารทั้งสอง และนำกลับมาใช้ใหม่ได้  
( เป็นทางเลือก  ตามหลักการ  Reduce  /  Re-Use   /  Recycle     ซึ่งจะทำ หรือ ไม่ทำ ก็ได้  )        

โดย:  Un too Shy  [21 พ.ย. 2553 07:54]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้