สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การผสมปุ๋ยน้ำสูตร 30-10-10 ไว้ฉีดเร่งเขียวเร่งเจริญเติบโตต้องใช้แม่ปุ๋ยตัวไหนบ้างครับ และมีสูตรคำนวณแบบไหนครับที่สามารถนำไปใช้ได้

ทำสวนมะนาว และชมพู่

โดย:  เกษตรกร   [14 ม.ค. 2554 10:47]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สารเคมีทางการเกษตร
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

N - P - K    The  code  identifying  the  components  in  a  fertilizer  mixture  :   Nitrogen  ( N ) ,  Phosphorus pentoxide  ( P  ;  as  P2O5 ) ,  and  Potassium oxide  ( K  ;  as  K2O ) .        
Fertilizers  are  graded  in  the  order  N - P - K ,  with  the  numbers  indicating  the  percentage  of  the  total  weight  of  each  component .        
For  example ,  
45-0-0  represents  a  fertilizer  containing  by  weight  45% nitrogen ,  0% phosphorus pentoxide ,  and  0% potassium oxide  
5-10-10  represents  a  fertilizer  mixture  containing  by  weight  5% nitrogen ,  10% phosphorus pentoxide ,  and  10% potassium oxide  

http://en.wikipedia.org/wiki/NPK_rating        N - P - K  Rating        

http://en.wikipedia.org/wiki/Fertilizer        Fertilizer        

โดย:  นักเคมี  [21 ม.ค. 2554 22:53]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ความรู้ ด้าน คณิตศาสตร์  ระดับ    บวก    ลบ    คูณ    หาร    สัดส่วน    ร้อยละ  ( เปอร์เซ็นต์ )    ฯลฯ        

ความรู้ ด้าน เคมี  ระดับ    ชื่อ และ สัญญลักษณ์ ของ ธาตุ    น้ำหนักอะตอม  ( มวลอะตอม )    น้ำหนักโมเลกุล  ( มวลโมเลกุล )    โมล   สูตรโมเลกุล ของ ปุ๋ย  ( สูตรเคมี ของ ปุ๋ย )    ฯลฯ            

โดย:  นักเคมี  [21 ม.ค. 2554 23:13]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

http://chemicalland21.com/industrialchem/inorganic/NPK.htm        ตัวอย่าง ปุ๋ย และ ค่า N - P - K        

โดย:  นักเคมี  [21 ม.ค. 2554 23:35]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :4

แม่ปุ๋ย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม มีดังนี้
1.  ปุ๋ยไนโตรเจน
1) แอนไฮดรัสแอมโมเนีย (anhydrous ammonia) ได้จากการสังเคราะห์ก๊าซไฮโดรเจนและไนโตรเจน ภายใต้ความกดดันสูงและเย็นจัด ได้ก๊าซแอมโมเนียในรูปของของเหลว คือ NH3 ซึ่งมี N เท่ากับ 82 %
2) ยูเรีย (Urea)หรือคาร์บาไมด์ (carbamide) สูตรทางเคมี คือ CO(NH2)2มีไนโตรเจน 45 % (46%)เป็นเกร็ดขาวละลายน้ำได้ดี ดูดความชื้นได้ง่าย (ปุ๋ยชนิดนี้มีข้อเสียคือมีสารไบยูเร็ต (biuret) ผสมมา ซึ่งเป็นสารพิษทำให้ใบพืชไหม้ได้)  ใส่ลงดินทำให้ดินเป็นด่าง
3) แอมโมเนียมซัลเฟต (ammonium sulfate) (NH4)2SO4 มีไนโตรเจน 21 % และมีกำมะถัน 24 % เป็นผลึกสีขาวคล้ายน้ำตาลทราย ละลายน้ำได้ดี ไม่ชื้นง่ายเนื่องจากดูดความชื้นจากอากาศได้น้อย ใส่ลงดิน จะทำให้ดินเป็นกรด
4) แอมโมเนียมคลอไรด์ (ammonium chloride) สูตรทางเคมี NH4Cl มีไนโตรเจน 26 % ผลึกสีขาว ละลายน้ำง่าย และดูดความชื้นได้ดี ใส่ลงดินมีปฏิกริยาเป็นกรด ปุ๋ยชนิดนี้เป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตโซดาแอช (ปุ๋ยสีขาว) และโรงงานผลิตผงชูรส (ปุ๋ยสีน้ำตาล)
5) แอมโมเนียมไนเตรท (ammonium nitrate) มีสูตรทางเคมีว่า NH4NO3 มีไนโตรเจนร้อยละ 34 ละลายน้ำได้ดีมาก ดูดความชื้นง่ายมาก ดินเป็นกรดเมื่อใส่ปุ๋ยชนิดนี้ (ถ้าผสมปุ๋ยชนิดนี้กับกรดกำมะถัน จะทำให้เกิดระเบิดได้)
6) โซเดียมไนเตรท (Sodium nitrate) NaNO3 มีไนโตรเจนร้อยละ 16 เป็นผลึกสีขาวมัน ไวไฟ ละลายน้ำได้ดี มีปฏิกริยาเป็นด่างเมื่อใส่ลงดิน
7) แคลเซียมไซยานาไมด์ (Calcium cyanamide) CaCN2 มีไนโตรเจนร้อยละ  21 เป็นผงหรือผลึกสีดำ ดูดความชื้นน้อย ละลายน้ำให้ปฏิกริยาเป็นด่าง
8) แคลเซียมไนเตรท (Calcium nitrate: Ca(NO3)2) มีไนโตรเจนร้อยละ 15 และมีแคลเซียมร้อยละ 20 เป็นผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดี ดูดความชื้นง่าย ใส่ลงดินให้ปฏิกริยาเป็นด่าง
2. ปุ๋ยฟอสฟอรัส
1) ordinary superphosphate :Ca(H2PO4)2.H2O มี  P2O5, Ca และ S ร้อยละ 20, 20 และ 12 มีสมบัติเป็นกรด (pH = 3) ละลายน้ำได้ร้อยละ 85 และมีธาตุอื่นได้แก่ Fe, Mn, Ca, S และCu
2) concentrated superphosphate หรือ triple superphosphate (Ca(H2PO4)2.H2O) มี  P2O5, Ca และ S ร้อยละ 45, 12-16 และ 1-2 มีสีขาว เทา หรือน้ำตาล ละลายน้ำได้ดี
3) phosphoric acid (H3PO4) เป็นกรด มี P2O5 ประมาณร้อยละ 30-60 ใช้ร่วมกับการให้น้ำ
4) superphosphoric acid ( ประกอบด้วย orthophosphoric acid: H3PO3  pyrophosphoric acid : H4P2O7 และtriphosphorc acid: H5P3O10) มี P2O5 ประมาณร้อยละ 70-76 ใช้ในการทำปุ๋ยน้ำ5) basic slag : (CaO)5. P2O5.SiO2 เป็น by product จากโรงงานถลุงเหล็ก มี P2O5 ร้อยละ 3-20
6) ammonium phosphate เป็นปุ๋ยที่ให้ทั้งไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ปุ๋ยชนิดนี้ละลายน้ำดี มีผลตกค้างเป็นกรด มีปุ๋ยชนิดนี้ 3 ชนิด คือ ก) mono-ammonium phosphate: NH4H2PO4  นิยมเรียกทั่วๆไปว่า แมพ (MAP) มีไนโตรเจนร้อยละ 18 มีฟอสเฟตร้อยละ 46 P2O5 มีปฏิกริยาเป็นกรด (pH = 4.6) เป็นแม่ปุ๋ยที่นิยมใช้ในการทำปุ๋ยผสมสูตรอื่นๆ หรือมีสูตร 18-46-0ข) diammonium phosphate: (NH4)2HPO4  เรียกทั่วไปว่า แดพ (DAP) ไนโตรเจนร้อยละ 18 มีฟอสเฟตร้อยละ 46 P2O5 มีปฏิกริยาเป็นด่าง (pH = 7.3) มีสูตร 18-46-0ค) ammophos : (monoammoniumphosphate + ammonium sulfate) ไนโตรเจนร้อยละ 16 มีฟอสเฟตร้อยละ 20 P2O5  มีสูตร 16-20-0
3. ปุ๋ยโพแตสเซียม
1) โพแตสเซียมคลอไรด์ (potassium chloride) หรือมิวริเอตออฟโพแตส (Muriate of potash) สูตรทางเคมี คือ KCl  มี K ประมาณ 60 % K2O มีลักษณะคล้ายเกลือแกง (NaCl)
2) โพแตสเซียมซัลเฟต (potassium sulfate) สูตรทางเคมีคือ K2SO4 มีโพแตสเซียมประมาณ  50 % K2O มีสีขาวขุ่น ละลายน้ำได้น้อย และราคาแพง
3) potassium magnesium sulphate (K2SO4.2MgSO4 ) มีโพแตสเซียมประมาณ  22 % K2O Mg 11% มีชื่อเป็นการค้าว่า K-Mag  หรือ Sul-Po-Mag
4) potassium nitrate (KNO3) มีไนโตรเจนร้อยละ 13 และโพแตสเซียมประมาณ  46 % K2O
5) โมโนโพแตสเซียมฟอสเฟต (mnopotassium phosphate: KH2PO4) มีฟอตเฟต 52 % P2O5 และโพแตสเซียม 32 % K2O  


โดย:  รศ. ดร.อรพิน เกิดชูชื่น  [27 ม.ค. 2554 15:58]
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

สอบถามครับอาจารย์  หากเราต้องการผสมปุุยน้ำใช้เอง เราต้องนำแม่ปุยเกล็ดแต่ละตัวมาผสมกันใช่หรือไม่ครับ

โดย:  ชำนาญ หลงตรี  [28 ก.ค. 2565 14:33]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้