สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

Forward Mail เกี่ยวกับเห็ดหอม และ คาร์บอนไดซัลไฟด์

ได้รับ forward mail ตามข้อความข้างล่างนี้มา 3 ครั้งแล้ว แต่ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง ผมพยายามค้นหาในคำถาม-คำตอบแล้วไม่พบ จึงขอความกรุณราตรวจสอบด้วยครับ

ปรีชา


เห็ดหอม...ระวัง!!..มหันตภัย...ที่เรายังไม่ทราบกัน

...รศ.สุชาตา ชินะจิตร

โดยสรุป......เขาชุบหรือพ่น"คาร์บอนไดซัลไฟด์"
ซึ่งมีมหันตภัยรอบด้านอย่านำน้ำแช่เห็ดหอมมาใช้ในการปรุงอาหาร
ให้เททิ้งทันทีอย่าเสียดายซึ่งส่วนใหญ่เห็ดหอมที่ใช้กันนั้นนำเข้ามาจากจีน

แผ่นดินใหญ่เมื่อจะนำมาปรุงอาหารก็ต้องแช่น้ำให้นิ่มก่อนซึ่งน้ำที่แช่ให้เห็ดหอมนิ่มนั้น จะอุดมไปด้วยสารหนักกรดเกลือกำมะถันต่างๆ และอื่น ๆซึ่งเราไม่ทราบว่าใช้อะไรบ้างกว่าจะถึงมือเรา

ซึ่งสารต่าง ๆ นั้นก็มาจากน้ำจากปุ๋ยที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มหรือรมเพื่อกำจัด และป้องกันแมลง)

แต่ก่อนเรามักจะเก็บน้ำนั้นไว้ปรุงอาหารให้หอมน่ากินจงเททิ้งไป
บอกต่อให้แม่ๆ แม่บ้าน แม่ครัว ภรรยา ลูกสาว..รวมทั้งพ่อบ้านที่ชอบทำอาหารฯ
ถึงว่าตอนหลังซื้อมาเก็บได้นานๆ ไม่มีแมลง ใดๆมารบกวนเลย
_______________

คาร์บอนไดซัลไฟด์ มหันตภัยรอบด้าน

"คาร์บอนไดซัลไฟด์" ชื่อนี้คนที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยเรยอน
แผ่นพลาสติกเชโลเฟน ผลิตภัณฑ์ยางพารา จะมีโอกาสสัมผัสคาร์บอนไดซัลไฟด์เป็นนอกจากนั้นเนื่องจากคุณสมบัติในการละลายไขมันได้ดี จึงมีการนำไปใช้ในการสกัดน้ำมัน ใช้ในการชุบโลหะ เป็นตัวล้างสนิมออกจากโลหะ ในภาคการเกษตรเคยมีการใช้เพื่อรมเมล็ดธัญพืชเพื่อกำจัดแมลง ซึ่งเข้าใจว่าอาจจะเลิกใช้ไปแล้วลักษณะของคาร์บอนไดซัลไฟด์ เป็นของเหลวกลิ่นหอมคล้ายคลอโรฟอร์ม

ไอของมันหนักกว่าอากาศ 2 เท่า ดังนั้นในที่อากาศนิ่ง ๆ คาร์บอนไดซัลไฟด์จะลอยต่ำเรี่ยๆพื้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่คนจะสูดไอเข้าไป
ไอระเหยของมันเมื่อพบกับอากาศจะให้ไอผสมที่ระเบิดได้และลุกติดไฟได้อย่างรวดเร็ว จึงมีอันตรายมากเมื่อถูกความร้อน เปลวไฟหรือประกายไฟ ความร้อนของหลอดไฟฟ้าที่เปิดอยู่ก็ทำให้ไอของมันลุกติดไฟได้และสลายเป็นควันของซัลเฟอร์ออกไซด์ซึ่งเป็นอันตรายยิ่งขึ้นข้อควรระวังอย่างยิ่งคืออย่าเก็บคาร์บอนไดซัลไฟด์ไว้ใกล้กรดไนตริก เพราะก๊าซที่ผสมกับไนตริกออกไซด์ จะระเบิดอย่างรุนแรง
ขนาดขวดแก้วแตกละเอียดเลยทีเดียวไม่ว่าจะสูดดมเข้าไปหรือซึมเข้าไปทางผิวหนัง หรือกลืนกิน
ผลต่อสุขภาพที่ถูกกระทบคือระบบประสาท จะเกิดอาการตื่นเต้น มึนเมาตามด้วยอาการง่วงซึม กระสับกระส่าย ระบบหายใจล้มเหลว อาจถึงตายได้ แต่ถ้าเป็นการสัมผัสแบบระยะยาวทีละน้อย อาการพิษเรื้อรัง จะเริ่มด้วยอาการเจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อ สายตาเริ่มมัวความจำเสื่อม บุคลิกเปลี่ยนไปคล้ายคนเป็นโรคจิต
ที่เคยกล้าๆอาจจะกลายเป็นคนขี้อายไปก็ได้ สารนี้ระคายผิวและตาอย่างรุนแรง

คาร์บอนไดซัลไฟด์เป็นสารอันตราย จึงเป็นสารที่ถูกควบคุมและในประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
ได้กำหนดค่าความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศ
ตลอดระยะเวลาในการทำงานโดยเฉลี่ยห้ามเกิน 20 ส่วนในล้านส่วน
ที่ใดมีการใช้สารเคมีตัวนี้ ควรดูแลความปลอดภัยของคนงานให้ดี อย่าให้มีไอระเหยในบรรยากาศของห้องทำงานเกิน

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร

โดย:  ปรีชา   [25 มี.ค. 2554 16:47]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ฐานข้อมูล แหล่งสารสนเทศ  /  อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=37        บทความ ที่ เขียนโดย  รศ. สุชาตา  ชินะจิตร        ซึ่ง  ไม่ได้กล่าวถึง เห็ดหอม  ( หรือ อาหาร ใดๆ )        

ผู้ส่ง Forward Mail  นำบทความนี้ มาตัดต่อ  โดย แทรก เรื่อง เห็ดหอม  (ที่ต้องการเผยแพร่ ) ลงในบทความเดิม  เพื่อทำให้ Forward Mail นั้น ดูน่าเชื่อถือ  ( ลูกไม้เดิมๆของการส่งเมล์ประเภทนี้ )        

โดย:  นักเคมี  [26 มี.ค. 2554 07:10]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

ขอยืนยันตามคำตอบที่หนึ่งค่ะ ที่เขียนไว้เป็นความรู้ทั่วไปเผยแพร่ในเว็บ www.chemtrack.org แต่มีการเอาไปโยงกับเรื่องเห็ดหอมกันเอาเอง

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [31 มี.ค. 2554 09:29]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

ขอบคุณมากครับ

โดย:  ปรีชา  [31 มี.ค. 2554 09:48]
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

ขอโทษนะคะ อยากทราบว่าเห็ดหอมแห้งนั้นปนเปื้อนสารคาร์บอนไดซัลไฟด์จริงรึเปล่าคะ

โดย:  เห็ดฟาง  [24 ก.พ. 2556 12:58]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้