สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การครอบครองแอลกอฮอลล์เหลว(กรณีตัวอย่างร้านอาหารญี่ปุ่น)

หากต้องการใช้แอลกอฮอลล์ เพื่ออุ่นอาหาร ต้องการทราบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ว่า มีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง และหากฝ่าฝื่นมีความผิดอย่างไรบ้าง

โดย:  masaeis   [26 ก.ย. 2547 23:13:00]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

แอลกอฮอล์ที่ใช้อุ่นอาหารมักใช้เมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์เป็นองค์ประกอบหลัก และตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เมทานอลที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารหรืออุ่นอาหารต้องมีองค์ประกอบไม่เกินร้อยละ 1 โดยปริมาตร (</= 1% v/v) หากมีองค์ประกอบมากกว่าร้อยละ 1 จะถือเป็นวัตถุอันตรายที่ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง (คือเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามมาตรา 18 ของพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย) ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

โดย:  วลัยพร  [17 ต.ค. 2547 14:20:00]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ปกติแล้วแอลกอฮอล์อุ่นอาหารมักจะเป็นเอทานอล หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ ครับ และจะต้องไม่มีเมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งหากมีเมทานอล เกิน 1 % v/v ก็จะเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 อย่างที่คุณวลัยพรว่า  และปกติแล้วแอลกอฮอล์อุ่นอาหารจะต้องได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ก่อน จึงจะจำหน่ายได้ครับ ดังนั้น ในฐานะผู้ใช้จึงควรจะต้องซื้อผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์อุ่นอาหารที่ได้รับเครื่องหมาย มอก. แสดงที่ฉลาก และมีชื่อผู้ผลิตและที่อยู่ที่ชัดเจน ครับ

โดย:  ผู้ติดตามข่าว  [19 ต.ค. 2547 15:18:00]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้