สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ผงซักฟอกซักมือ กับ ผงซักฟอกซักเครื่อง ประสิทธิภาพการซักต่างกันอย่างไร

ดูจากรายละเอียดข้างขวดผงซักฟอก       พบว่าส่วนประกอบหลักใกล้เคียงกัน
ลองหาข้อมูลดูเบื้องต้น พบส่วนที่แตกต่างกัน ผงซักฟอกแบบผงจะมีสารพวกด่าง
แต่ผงซักฟอกแบบน้ำไม่มี    เลยไม่แน่ใจว่า ส่วนที่ต่างนี้จะให้ผลดีกว่าหรือเปล่าขอบคุณค่ะ

โดย:  อรทัย   [2 ก.ย. 2554 15:52]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและผลิตภัณฑ์บ้านเรือน  /  อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ข้อคิดเห็น  ( ไม่ใช่คำตอบ )        

คนไทย ติด กับ คำ " แฟ๊บ " มานาน    พอเลิกติดคำนี้  ก็มาติด คำ  " ผงซักฟอก " ต่อ    และ มีทั้ง  ผงซักฟอกแบบใช้กับเครื่องซักผ้า  และ  ผงซักฟอกแบบซักด้วยมือ    ( ซึ่งทั้ง 2 แบบ เป็นผงของแข็ง )    
มาถึงยุคสมัยนี้  มีการผลิต   ผลิตภัณฑ์ใหม่  ซึ่งผู้ผลิต เรียกว่า  ผลิตภัณฑ์ซักผ้า แบบเหลว    และ   พยายามทำให้ คำนี้  ( ชื่อนี้ )  ติดปากผู้ที่เคยชินกับคำ ผงซักฟอก    แต่คงจะยาก  เพราะ คำ  " ผงซักฟอกแบบน้ำ "  ดูจะสื่อสารได้ดีกว่า ในช่วงเวลานี้  ( และอาจจะใช้กันไปอีกหลายปี )        
ลองนึกดูว่า  ถ้าใช้คำ  
ผลิตภัณฑ์ซักผ้า แบบผง สำหรับการซักด้วยเครื่องซักผ้า     และ     ผลิตภัณฑ์ซักผ้า แบบผง สำหรับการซักด้วยมือ    และ    ผลิตภัณฑ์ซักผ้า แบบเหลว    
จะสู้ คำ    ผงซักฟอกแบบซัก(ด้วย)เครื่อง    ผงซักฟอกแบบซัก(ด้วย)มือ    ผงซักฟอกแบบน้ำ    ได้ไหม    ( ตอบได้เลยว่า  ยาก )

โดย:  นักเคมี  [3 ก.ย. 2554 18:01]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

http://www.chemtrack.org/EnvForKids/content.asp?ID=95        

โดย:  นักเคมี  [4 ก.ย. 2554 00:45]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ผลิตภัณฑ์ซักผ้า แบบผง สำหรับการซักด้วยมือ    ต้องไม่มี ฤทธิ์ด่างมากเกินไป  ( ค่า ความเป็น กรด - ด่าง ในขณะใช้งานไม่ควรเกิน  10 )    ดังนั้น  จึงไม่สามารถใช้  โซเดียม คาร์บอเนต  ( Sodium carbonate )  ซึ่งให้ ค่า ความเป็น กรด - ด่าง ในขณะใช้งาน  มากกว่า 10    ( pH  มากกว่า 10 )

โซเดียม ไตรพอลิฟอสเฟต  ( Sodium tripolyphosphate )  ที่ละลายในน้ำ  สามารถสลายตัวได้  และจะเสียความสามารถในการช่วยจับ แคลเซี่ยม และ แมกนีเซี่ยม        
ซีโอไลท์  ( Zeolite )  ไม่ละลายในน้ำ  ( หรือ ละลายได้น้อยมาก )    
ดังนั้น  จึงไม่สามารถใช้  สารทั้ง 2 ชนิดนี้    ใน  ผลิตภัณฑ์ซักผ้า แบบเหลว        

ผลิตภัณฑ์ซักผ้า แบบเหลว    อาจใช้  สารช่วยการละลายในน้ำ  ( Hydrotropes )  เช่น  โซเดียม ไซลีนซัลโฟเนต  ( Sodium Xylenesulfonate )    โซเดียม โทลูอีนซัลโฟเนต  ( Sodium Toluenesulfonate )    เอทานอล  ( Ethanol )        เป็นส่วนผสม

ผลิตภัณฑ์ซักผ้า แบบเหลว    อาจใช้  สารลดแรงตึงผิว หลายชนิด ผสมกัน  เช่น  ใช้สารลดแรงตึงผิว ที่ไม่มีประจุ  หรือ  สารลดแรงตึงผิว ที่ใช้กับน้ำกระด้างได้ดี    ผสมลงไปด้วย  เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด  ในต้นทุนที่เหมาะสม

โดย:  นักเคมี  [6 ก.ย. 2554 12:14]
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

Aku8ux I am glad that your blog is constantly evolving. Such posts only gain in popularity!...

โดย:  Buy OEM software online  [28 ก.ย. 2554 16:33]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้