สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การรมยา

1.การวางยาอลูมีเนียมฟอสฟีนจำเป็นต้องวางใต้กองเมล็ดพืชหรือวางไว้บนกองพืชได้ก่อนปิดด้วยผ้าใบ
2.สารอลูมีเนียมฟอสฟีนจะระเหิดหายไปเองหรือเหลือเป็นขี้เถาหลังยาหมดฤทธิ์

ขอขอบคุณ
โกศล

โดย:  โกศล   [9 ธ.ค. 2554 08:27]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สารเคมีทางการเกษตร  /  อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

Alumunium phosphide  reacts  with  moisture  ( water  vapor )  to  yield  Aluminium oxide  and  Phosphine  Gas    

2 AlP    +    3 H2O    - - - - - - - - >    Al2O3    +    2 PH3        

โดย:  Solo  [9 ธ.ค. 2554 23:46]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

2.5.1.2 ฟอสฟีน (Phosphine)  



สูตรทางเคมี คือ PH3

คุณสมบัติของสารรมฟอสฟีน เป็นก๊าซที่ไม่มีสี มีกลิ่นเล็กน้อยคล้ายกระเทียม เนื่องจากเกิดก๊าซอื่นขึ้นปะปน ฟอสฟีนปราศจากกลิ่นในบางกรณีเมื่อก๊าซมีความเข้มข้นสูง น้ำหนักโมเลกุล 34.1 หนักกว่าอากาศ 1.18 เท่า และมีความหนาแน่นเกือบเท่าอากาศ มีการแทรกซึมสูง มีจุดเดือด 87.4 องศาเซลเซียล ละลายน้ำได้ประมาณร้อยละ 26  (มีปริมาตรที่ 17 องศาเซลเซียล)  และละลายได้ดีในไขมัน ฟอสฟีนทำปฏิกิริยากับโลหะ เช่น เงิน ทอง ทองแดง สารประกอบทองแดงและเกลือทองแดงได้ แต่ในระดับมากน้อยต่างกัน เป็นพิษต่อแมลงและสัตว์เลือดอุ่นสูงมากถ้ากินหรือสูดเข้าไป แต่ไม่มีพิษตกค้าง มีค่า ceiling concentration 0.3 ppm
ฟอสฟีนเป็นสารรมที่ใช้กันมาก  นำมาใช้ภายใต้ชื่อทางการค้าหลากหลาย  ผลิตออกมาอยู่ในรูปแบบเม็ด แบบถุง แบบแผ่น เป็นต้น ถูกนำมาใช้ทดแทนเมทธิลโบรไมด์ เนื่องจากเมทธิลโบรไมด์ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ฟอสฟีนถูกนำมาใช้ในการควบคุมแมลงที่พบทั้งในผลิตผลจากพืชและสัตว์  โดยเฉพาะผลิตผลในคลังสินค้าทั่วโลก แต่ฟอสฟีนเมื่อสัมผัสกับอากาศกลายเป็นแก๊สฟอสฟีน (อรัญ งามผ่องใส และคณะ, 2548) หรือถ้ามีความชื้น ฟอสฟีนถูกปล่อยออกมาประมาณ 1/3 ของน้ำหนักในรูปของก๊าซฟอสฟีน ซึ่งอาจเป็นอะลูมิเนียมฟอสไฟด์ (luminium phosphide) และแมกนีเซียมฟอสไฟด์ (magnesium  phosphide) ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับความชื้นในอากาศให้ก๊าซฟอสฟีน ดังสมการ

อะลูมิเนียมฟอสไฟด์ + น้ำ (ความชื้น) = อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ + ฟอสฟีน
AlP + 3H2O =     Al (OH) 3 + PH3
หรือ แมกนีเซียมฟอสไฟด์ + น้ำ (ความชื้น) = แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ + ฟอสฟีนMg3P2 + 6H2O =     3Mg(OH) 2 + 2PH3

ข้อดี  ฟอสฟีนมีปริมาณสารตกค้างน้อยมากจนตรวจไม่พบในผลิตผลภายหลังการใช้  นอกจากการนำมาใช้กับเมล็ดพันธุ์ฝ้าย ยาสูบ  และผลิตภัณฑ์ไม้แล้ว  เป็นสารที่นิยมใช้กันแพร่หลายมากกว่า 45 ประเทศ วิธีการใช้ค่อนข้างง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ยุ่งยากและ สะดวกในการใช้งาน มีการทดลองใช้สารฟอสฟีน ในการรมกำจัดแมลงในไม้ตัดดอก ซึ่งฟอสฟีนมีความเป็นพิษต่อพืชต่ำ แต่ปัจจุบันไม่อนุญาตให้ใช้ฟอสฟีนกับต้นพืช ไม้ตัดดอก และไม้ใบ ผักสดและผลไม้ ในสหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้ใช้ฟอสฟีนกับลำไยเช่นเดียวกับเมทธิลโบรไมด์ (กรมวิชาการเกษตร, 2549)

ข้อเสีย ก๊าซฟอสฟีนสามารถติดไฟได้ที่เข้มข้นมากกว่าร้อยละ 1.8  ที่ความดันบรรยากาศสามารถระเบิดลุกเป็นไฟได้ในอากาศ จึงต้องมีความระมัดระวัง โดยเฉพาะการรมผลผลิตกองใหญ่ เนื่องจากฟอสฟีนเป็นก๊าซที่ติดไฟง่ายและระเบิดได้ในอากาศ ดังนั้นเพื่อลดอันตรายที่เกิดขึ้น จึงมีการผสมสารประกอบบางอย่างหรือสารเฉื่อย เพื่อควบคุมการระเหย การไหม้ และการระเบิด ได้แก่สารประกอบพวกแอมโมนียมคาร์บาเมท (ammonoium carbamate) พาราฟินแวกซ์ (paraffin wax) และ โพลีไวนิลอาซีเตท (polyvinyl acetate) สิ่งที่เหลือหลังจากการรมยาคือผง ซึ่งอาจมีฟอสฟีนเหลืออยู่จึงต้องระวัง ควรนำไปฝังไว้ใต้ดินลึก 1/2 เมตร  แต่ฟอสฟีนมีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศ กลไกการออกฤทธิ์ของสารรมควัน คือทำให้เกิดอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ปวดศรีษะ ทำให้เกิดอาการง่วง หมดสติ และทำให้แมลงมีความต้านทานมากขึ้น (Bell และ Wilson, 1995; Chaudhry, 1995) รวมทั้งเป็นพิษในระดับยีนต่อผู้ปฏิบัติงาน (Gary และคณะ, 1989) ข้อเสียของแก๊สฟอสฟีนอีกประการ คือ ก่อให้เกิดความเสียหายกับผลิตภัณฑ์สดและมีคุณสมบัติดูดซึมได้ดีในน้ำมัน ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้รมดินได้ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีชนิดใดมาทดแทนสารเมทธิลโบรไมด์ ได้ดีเท่าแก๊สฟอสฟีน (อรัญ งามผ่องใสและคณะ, 2548)


โดย:  รศ. ดร.อรพิน เกิดชูชื่น  [14 ธ.ค. 2554 21:24]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

ขอขอบคุณ รายละเอียดที่อาจารย์ รศ.ดร.อรพิน เกิดชูชื่น ที่ตอบมามากครับ  อยากรบกวนสอบถามอาจารย์อีกข้อครับว่า แหล่งที่มาของสาร อลูมีเนียม ฟอสไฟด์ให้ผลต่างกันมากไหม เช่น จากจีน อินเดีย บราซิล เป็นต้น

โดย:  โกศล  [15 ธ.ค. 2554 08:22]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :4

ในขณะเดียวกัน การใช้ อลูมีเนียมฟอสไฟด์ ในการรม อบ ควรต้องมีความระมัดระวังด้วยเพราะ ก๊าซฟอสฟิน มัอันตรายต่อสุขภาพทำให้เสียชีวิตได้ทันทีหากสูดดมในปริมาณความเข้มข้นสูง หรือ มีอาการมีพิษต่อระบบหายใจอย่างรุนแรงเมื่อสูดดม ทำให้ไอ รู้สึกแสบร้อนคอ ปวดจุกบริเวณหน้าอก หายใจลำบาก หายใจเร็ว ปอดบวมน้ำ มีน้ำในเยื่อหุ้มปอด จนถึงหายใจล้มเหลวได้ อาการระบบประสาทคือ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ มึนศีรษะ เดินเซ มือสั่น ถ้าได้รับสัมผัสมากๆ อาจทำให้ ชัก หมดสติ กรณีกินก้อน aluminium phosphide เข้าไปจะทำให้เกิดอาการระบบทางเดินอาหารคือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย หัวใจล้มเหลว ชัก ตับวาย ไตวายเฉียบพลัน ตับอ่อนอักเสบ และเสียชีวิต ส่วนใหญ่ พบในโรงสีข้าว โกดังหรือในเรือบรรทุกข้าวหรือพืชผลทางเกษตร. ดังนั้นหากต้องเข้าไปในบริเวณห้องอบ ควรมีการระบายอากาศ หรือสวมเครื่องป้องกันตนเองก่อน

โดย:  แสงโฉม ศิริพานิช  [16 ม.ค. 2555 04:59]
ข้อคิดเห็นที่ 3:5

มีใครทราบบ้างว่าการรมสารที่ถูกต้องและได้ประโยชน์สูงสุด และต้องใช้ระยะห่างกี่วันจึงทำการรมอีกครั้ง  ขอความอนุเคระห์ผู้รู้ช่วยตอบด้วยค่ะ
ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

โดย:  คุณอุ่นเรือน บุญนาง  [30 พ.ค. 2555 10:18]
ข้อคิดเห็นที่ 4:6

ข้อคิดเห็นที่1   โปรดักส์ของปฏิกริยาคือ  อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์กับ ฟอสฟีนแก้ส
ข้อคิดเห็นที่2   ถ้าจะเปรียบเทียบจริงๆ ว่าแตกต่างกันทางสถิติหรือไม่ต้องวิเคาะห์ในห้องทดลอง   แต่ถ้าดูจากเปอร์เซ็นต์ โปรดักส์แต่ละประเทศ ไม่น่าจะแตกต่าง เว้นแต่ว่ามีการปลอมปน
ข้อคิดเห็นที่3  ต้องดูปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกัน
                   1  ชนิดของแมลง   วงจรชีวิตของแมลง
                   2  ชนิดของสินค้า
                   3  สิงแวดล้อม
                   4  การปฏิบัติการรมยาที่ถูกต้องตามหลักการรมยา ตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

โดย:  เข้ม  [28 ธ.ค. 2555 16:17]
ข้อคิดเห็นที่ 5:7

phosphine มีผลกระทบกับความมีชีวิต ความแข็งแรงของเมล็ดพันธ์หรือไม่อย่างไรครับ

โดย:  santirote  [19 ก.พ. 2556 12:32]
ข้อคิดเห็นที่ 6:8

ข้อคิดเห็นที่ 5.ฟอสฟีนแก้ส มีผลกระทบต่อความงอกของเม็ดพันธุ์น้อยมาก จึงนิยมใช้รมเม็ดพันธุ์เพื่อการส่งออก  และเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช

โดย:  เข้ม  [11 เม.ย. 2556 10:54]
ข้อคิดเห็นที่ 7:9

หากจะรมยาสำหรับข้าวสารควรใช้สารฟอสฟีนปริมาณเท่าไรต่อข้าวสาร 1 ตันและควรใช้เวลากี่วัน

โดย:  สหกรณ์  [21 มิ.ย. 2556 09:03]
ข้อคิดเห็นที่ 8:10

หลังจากผ่านการรมยาด้วยสารฟอสฟีนแล้ว มีโอกาสที่สารจะตกค้างในข้าวสารหรือไม่คะ ถ้ามี จะสามารถทำการทดสอบปริมาณสารตกค้างได้อย่างไรคะ

โดย:  นันท์นภัส  [10 ก.ค. 2556 11:25]
ข้อคิดเห็นที่ 9:15

อยากทราบ ความเข้มข้นภายในกองสินค้าที่รม โดยใช้เครื่องมือวัด หลังจากการรม 5วัน ประมาณสารรมที่อยุในกองสินค้า จะต้องมี่ประมาณกี่ ppm ถึงจะเรียกว่า การรมยามีประสิทธิภาพคับ ... ขอบคุณครับ

โดย:  ผู้ใช้  [21 ม.ค. 2558 10:33]
ข้อคิดเห็นที่ 10:17

อยากทราบว่า หลังจากการรมยาแล้ว ตัวผงยาที่เหลืออยู่ มีวิธีการกำจัดหรือทำลายอย่างไรค่ะ

โดย:  หทัยการ  [29 มิ.ย. 2559 10:38]
ข้อคิดเห็นที่ 11:18

อลูมิเนียมฟอสไฟด์ จะทำปฏิกิริยากับความชิ้นในอากาศให้ก๊าซฟอสฟีนที่ความชิ้นเท่าไร และจะใช้เวลาเท่าไรถึงจะกายเป็นก๊าสฟอสฟีนที่ทำอัตรายต่อคนที่ทำงาน

โดย:  ธีระพงษ์  [1 ก.ย. 2559 10:48]
ข้อคิดเห็นที่ 12:19

หากมีการรมยาสำหรับกองสินค้านั้นๆแล้ว เราจะต้องรับประกันว่าแมลงจะไม่เกิดได้ไหมครับ และถ้าได้แมลงจะเกิดขึ้นประมาณกี่วันครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

โดย:  เอบี  [25 ก.ย. 2560 11:04]
ข้อคิดเห็นที่ 13:20

อยากทราบ ความเข้มข้นภายในกองสินค้าที่รม โดยใช้เครื่องมือวัด หลังจากการรม 5วัน ประมาณสารรมที่อยุในกองสินค้า จะต้องมี่ประมาณกี่ ppm ถึงจะเรียกว่า การรมยามีประสิทธิภาพค่ะ ... ขอบคุณค่ะ

โดย:  นงลักษณ์ จันทร์โฉม  [24 ก.ย. 2562 09:39]
ข้อคิดเห็นที่ 14:21

หลังจากผ่านการรมยาด้วยสารฟอสฟีนแล้ว มีโอกาสที่สารจะตกค้างในข้าวสารหรือไม่คะ ถ้ามี จะสามารถทำการทดสอบปริมาณสารตกค้างได้อย่างไรคะ


โดย:  sindy wongdao  [2 มิ.ย. 2565 11:44]
ข้อคิดเห็นที่ 15:22

ทางบริษัทใช้สารฟอสฟีนในการรมยาเมล็ดพันธุ์ อยากทราบว่าถ้านำเมล็ดพันธุ์นั้นไปปลูกเป็นต้นอ่อนทาน จะอันตรายไหมค่ะ

โดย:  Rachadapron Keawwan  [16 มิ.ย. 2565 16:01]
ข้อคิดเห็นที่ 16:23

อยากทราบว่า หากใช้อบเรียบร้อยแล้ว การกำจัดกากที่เหลือจากการอบ ต้องทำอย่างไรให้ถูกวิธีคะ เนื่องจากกลัวว่าหากทิ้งไม่ถูกจะทำให้เกิดกรติดไฟได้

โดย:  Jaranya Torsakul  [23 ก.ย. 2565 16:16]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้