สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

น้ำยาไปไหน

จากการที่เห็นข่าวเรื่อง Big Cleaning Day และการทำความสะอาดคราบต่างๆ หลังน้าลด  ผมสังเกตว่ามีการใช้สารเคมีประเภทกรด-ด่างเข้มข้นเป็นจำนวนมาก  คิดเล่นๆ ว่าหลังจากการล้างด้วยน้ำ สารเคมีเหล่านี้ก็จะลงไปแม่น้ำและออกทะเล

ไม่ทราบมีผู้รู้ท่านใดพอทราบไหมว่าจะมีความเสียหายกับระบบนิเวศน์ และสิ่งแวดล้อมขนาดไหน  

โดย:  วรพินิต อิงคโรจน์ฤทธิ์   [20 ธ.ค. 2554 07:12]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป  /  สารเคมีในสิ่งแวดล้อม  /  อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

ขอบคุณคุณวรพินิตเป็นอย่างยิ่งที่ตั้งข้อสังเกตช่วยจุดประกายความคิดจากผลพวงที่เกิดจากมหาอุทกภัยของประเทศไทยครั้งนี้  ที่จริงเราได้บทเรียนมากมายที่จะใช้เป็นประโยชน์ได้ต่อไป การทำความสะอาดหลังน้ำท่วมมีการใช้สารเคมีหลายชนิดไม่เฉพาะสารเคมีประเภทกรด-ด่างเข้มข้น เพราะทุกบ้านต้องการขจัดความสกปรกออกให้ได้มากที่สุด นอกจากขยะชิ้นใหญ่ๆปริมาณมากมายแล้ว คราบที่ติดอยู่ในที่ต่างๆรวมทั้งเขื้อราเป๊นปัญหาเฉพาะหน้าอย่างแรกของผู้ได้รับผลกระทบ  มองในเชิงบวกคือ ทำให้ผู้คนพยายามแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องและเกิดข้อระวังในการปกป้องตนเองระหว่างทำความสะอาดบ้านโดยใช้สารทำความสะอาดต่างๆ  และอาจได้ข้อคิดเพิ่มเติมว่า สารเคมีมีทั้งคุณอนันต์หากใช้อย่างถูกต้อง ขณะเดียวกันก็อาจเกิดโทษมหันต์ถ้าใช้ผิดวิธ๊หรือใช้เกินจำเป็น ความรู้ที่ได้และใช้ประโยชน์ในครั้งนี้ก็นำไปใช้ต่อในอนาคตได้
แน่นอนว่าสารทำความสะอาดที่ถูกล้างทิ้งอาจจะสะสมอยู่ในดินและพื้นที่ต่างๆที่เป็นทางผ่าน ก่อนไหลลงไปในแม่น้ำและทะเล คงจะไม่มีใครทราบหรือบอกได้ว่าจะมีความเสียหายกับระบบนิเวศน์ และสิ่งแวดล้อมขนาดไหน เพราะเราไม่ทราบว่า แต่ละที่มีการใช้สารอะไรบ้าง สารที่ใช้มีพิษหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ความไม่รู้ข้อมูลที่จุดตั้งต้นก็จะเกิดข้อกังวล และอาจแก้ปัญหาไม่ตรงจุด หากมีการใช้เฉพาะสารเคมีประเภทกรด-ด่างเข้มข้น การเจือจางด้วยน้ำเป็นวิธีที่ทำให้ฤทธ์กัดกร่อนของกรดและด่างน้อยลงจนสามารถปล่อยทิ้งได้  แต่ถ้ามีสารเคมีอื่นๆที่เป็นพิษเจือปนอยู่ สารเหล่านั้นอาจเข้าไปในห่วงโซ่อาหาร เกิดความเสียหายกับระบบนิเวศน์ และสิ่งแวดล้อมและเกิดผลกระทบต่อเนื่องในระยะยาวได้
หลายท่านอาจจะเพิ่งพบว่าในบ้านท่านมีกระป๋องผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีเป็นองค์ประกอบ เช่นยาฆ่าแมลง น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาขัดรถ ปุ๋ย … อยู่เป็นจำนวนมากที่เหลือใช้นานแล้วและลอยออกจากตู้เก็บของที่บวมน้ำ เกิดเป็นขยะที่ต้องเก็บไปทิ้ง  เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม แต่หากมองในแง่บวก ท่านอาจจะได้ข้อคิดว่าผลิตภัณฑ์ที่เหลือใช้เหล่านั้น เป็นของที่ไม่จำเป็นต้องชื้อ หรือซื้อเกินจำเป็น  ต่อไปการซื้อและการใช้สารเคมีที่ไม่จำเป็นอาจค่อยๆน้อยลงก็ได้




โดย:  วราพรรณ ด่านอุตรา  [24 ธ.ค. 2554 10:41]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

มันคงมีผลในระดับหนึ่ง เช่นยาพวกกรดเกลือเมื่อไหลไปตามท่อระบายน้ำ อาจทำลายสิ่งมีชีวิตหลายๆ อย่าง แต่จะไปได้ไม่ไกลมาก เพราะจากถูก neutralize จากปูนซีเมนต์  จริงๆ แล้วการที่หน่วยงานต่างๆพยายามโปรโมตให้ใช้สารเคมีต่างๆ มันได้ผลเฉพาะในแง่จิตวิทยาเท่านั้น บางทีมีผลลบด้วย เช่นเมื่อเอากรดมาราดห้องนั่งเล่น ปูนยาแนวจะถูกกัดออกไป ทำให้เป็นร่อง ไม่เหมือนในห้องน้ำที่เขาตั้งใจทำโชว์ร่องระหว่างกระเบื้อง ถ้าใช้บ่อยๆกระเบื้องจะหลุดหรือเป็นที่เพาะเชื้อโรค

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ กรมควบคุมโรค  [11 ม.ค. 2555 22:35]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้