สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

สารเคมีที่ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม

ผมกำลังมีความสนใจเรื่องการลดการใช้สารเคมีอันตราย และการทดแทนสารแคมีอันตรายโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่าย Green

แต่พอมาค้นคว้าเรื่อง Green Chemical หรือ Non-Toxic Chemical พบว่ายังไม่มีใครสามารถ Define สารเคมีประเภทนี้อย่างชัดเจนและ ในประเทศไทยก็ยังไม่มีมาตรฐานอะไรมากำกับ

อยากได้ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและท่านที่มีความรู้ด้านนี้ ด้วยครับ

ยกตัวอย่างเช่นผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดแทนสารละลายที่เป็นกลุ่มที่ใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรมในการทำความสะอาดชิ้นส่วนหรือพื้นผิวปนเปื้อนน้ำมัน จารบี ส่วนใหญ่เห็นใช้พวกทินเนอร์ น้ำมันสน น้ำมันก๊าด  ไม่ทราบมีใครเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อื่นที่ให้ผลการทำความสะอาดพอกันหรือดีกว่า แต่ไม่ใช่สารละลายพวกไฮโดรคาร์บอนหรือไม่

โดย:  วรพินิต อิงคโรจน์ฤทธิ์   [20 ธ.ค. 2554 07:36]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ฐานข้อมูล แหล่งสารสนเทศ  /  อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

                     ความสนใจของคุณวรพินิตเกี่ยวกับการลดการใช้สารเคมีอันตราย และการทดแทนสารแคมีอันตรายเป็นสิ่งที่ควรได้รับการสนับสนุนอยู่แล้ว คงไม่ต้องกังวลเรื่องคำจำกัดความ เพราะในระดับสากลก็ยังมีความเห็นหลากหลาย  ลองใช้คำว่า “Non-Toxic Chemical” ถามอาจารย์ google ก็จะได้คำตอบถึง 18.8 ล้านคำตอบ และหนึ่งคำตอบในนั้นคือ สารทำความสะอาดบ้าน http://www.sensible-house-cleaning-solutions.com/non-toxic-alphabetic.html เมื่อสืบค้นด้วยคำว่า “ Green Chemical ” ยิ่งได้คำตอบมากกว่าคือ 74.4 ล้านคำตอบ เมื่อมองในเชิงบวก คงพูดได้ว่าทุกคนที่สนใจเรื่องการลดการใช้สารเคมีอันตราย มีเป้าหมายเดียวกัน ยิ่งความหมายกว้างก็จะมีผู้คิดและลดการใช้สารเคมีอันตรายมากขึ้น ผู้ที่อยู่ในวงการค้าจะใช้ประโยชน์จากคำว่า  “ Green” มาก ซึ่งผู้ซื้อต้องระวังไม่ให้ถูกหลอกได้

การหาสารที่สามารถนำมาทดแทนสารละลายกลุ่มที่ใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรมสำหรับทำความสะอาดชิ้นส่วนหรือพื้นผิวปนเปื้อนน้ำมัน จารบี …นั้น เป็นปัญหาหนักและท้าทายโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม  ผู้ที่สามารถตอบคำถามได้ว่าควรเลือกสารอะไรมาใช้แทนสารกลุ่มเดิมสำหรับทำความสะอาด ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ที่ให้ผลพอกันหรือดีกว่าโดยที่อันตรายน้อยกว่า ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า จะเป็นผู้ได้เปรียบในเชิงการค้าโดยเฉพาะในการค้าระหว่างประเทศ

สหภาพยุโรปใช้เวลาหลายปีในการพัฒนากฏหมาย REACH และประกาศบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 2007  กฎหมายดังกล่าวนอกจากมีข้อกำหนดหลักให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าที่มีถิ่นฐานอยู่ในสหภาพยุโรปต้องจดทะเบียนสารเคมีที่ตนผลิตและนำเข้าแล้ว ยังมีข้อกำหนดให้มีการสื่อสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีตลอดห่วงโซ่อุปทาน และมีการจำกัดการใช้สารเคมีที่มีอันตรายสูงพร้อมทั้งการหาสารที่มีอันตรายน้อยกว่ามาใช้ทดแทนสารเดิม ดังนั้นผู้ประกอบการจึงมีความจำเป็นต้องศึกษาวิจัยหาสารทดแทนมาใช้ในกิจการของตนซึ่งทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น

                  ขอให้กำลังใจคุณวรพินิตในการค้นคว้าต่อไป และหากได้คำตอบดีๆ ขอเชิญนำมาเผยแพร่ที่เว็บไซต์นี้นะคะ



โดย:  วราพรรณ ด่านอุตรา  [25 ธ.ค. 2554 15:51]
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

เรียน คุณวรพินิต,

ผ่านมา 2 ปีกว่า ผมเพิ่งได้มีโอกาสมาดูคำถามของท่านครับ

ก็ ต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่า ผมไม่ได้มีเจตนาจะทำการค้าขายในwebsite นี้ เพียงแต่มีเจตนาที่จะสนับสนุนการทำ Green Behavior ครับ

ผมมีผลิตภัณฑ์ที่ตอบคำถามคุณวรพินิตได้อย่างตรงจุด ซึ่งผู้ผลิตเองก็เป็นคนไทย โดยผลิตจากพืชสมุนไพรของไทยเองด้วย

ถ้าคุณวรพินิตยังสนใจเรื่องนี้อยู่ และมีโอกาสกลับเข้ามาดูคำตอบนี้ กรุณาติดต่อกลับด้วยนะครับ ผมจะได้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มขึ้น

ขอแสดงความนับถือ
Prasit

โดย:  Prasit  [19 ก.พ. 2557 10:19]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้