สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ต้องการทราบเกี่ยวกับ หัวข้อและเนื้อหาที่เกี่ยววิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาลค่ะ

เพื่อต้องการศึกษาอย่างละเอียด และทำเป็น Project ส่ง อาจารย์  ขอบคุณมากค่ะ

โดย:  น.ศ.พยาบาล   [5 ก.พ. 2555 23:48]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป  /  ฐานข้อมูล แหล่งสารสนเทศ  /  อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

ฟิสิกส์เป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐานมีหลายสาขา เช่นกลศาสตร์เกี่ยวกับแรงก็เข้ามาเกี่ยวได้กับการพยาบาล สาขาแสง เสียงก็เกี่ยวได้ สาขาไฟฟ้าก็เข้ามาเกี่ยวกับอุปกรณ์ได้   ถ้าไม่ตั้งคำถามชัดๆกับตัวเองก่อน ก็จะยากในการหาข้อมูล

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [8 ก.พ. 2555 07:11]
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=1008        
เลือก หัวข้อ วิธีการปฐมพยาบาล ในกรณีต่างๆ  จาก  http://www.thaiall.com/data/primary.htm  

เลือดออก  ( และ  การห้ามเลือด )        
ใช้นิ้วกดบาดแผล ประมาณ 10 นาที หรือบีบเนื้อข้างๆ มาปิดแผล        [ การไหลของของเหลว ]
ใช้ผ้าหรือเน็คไท พันปิดแผลไว้ (อย่าให้แน่นจนชา)        [ การไหลของของเหลว ]
แผลที่แขน, ขา ให้ยกสูง  ถ้าเลือดไหลไม่หยุด ให้กดเส้นเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงแขน ขา        [การไหลของของเหลว และ แรงโน้มถ่วง ]

สำลักหรือมีสิ่งของไปอุดหลอดลม        
ทารก --- ตบอย่างรวดเร็วกลางหลัง 4 ครั้ง ในท่าที่ศีรษะอยู่ต่ำกว่าปอด        [ แรงโน้มถ่วง และ แรงดัน ]
เด็กเล็ก --- ตบกลางหลังหนัก ๆ 4 ครั้ง ในท่าที่ศีรษะอยู่ต่ำกว่าปอด        [ แรงโน้มถ่วง และ แรงดัน ]
เด็กโตและผู้ใหญ่ --- ตบหนักๆ และ เร็วๆ กลางหลัง 4 ครั้ง ในท่าที่ศีรษะอยู่ต่ำกว่าปอด        [ แรงโน้มถ่วง และ แรงดัน ]  

เลือดกำเดาออก    
นั่งลง , ก้มศีรษะเล็กน้อย , บีบจมูกนาน 10 นาที (หายใจทางปาก )  
น้ำแข็งหรือผ้าเย็นๆ บนสันจมูก หน้าผาก ใต้ขากรรไกร        [ การไหลของของเหลว และ ความหนืด ]
ถ้าไม่หยุด รีบไปพบแพทย์    

เลือดออกไม่หยุดหลังจากการถอนฟัน    
กัดผ้ากอซชิ้นใหม่ซ้ำ อมน้ำแข็ง (ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาบ้วนปาก)        [ การไหลของของเหลว และ ความหนืด ]
ประคบน้ำแข็งนอกปาก        [ การไหลของของเหลว และ ความหนืด ]
ถ้ายังไม่หยุด ให้รีบไปพบแพทย์    

กรณี อื่นๆ  เช่น  ของเข้ารูจมูก    ของเข้าหู    ฟกช้ำ-หัวโน-ห้อเลือด    การผายปอด    การช่วยหายใจ    การปั๊มหัวใจ     การขันชะเนาะ    การเข้าเฝือก    การทำกายภาพบำบัด    ก็ใช้หลักการของฟิสิกส์อธิบายได้    ลองคิดดูเองบ้างครับ    
( คำถามนี้  ควรไปถามที่เว็บอื่น จะเหมาะสมกว่า  เหตุที่ยังตอบในเว็บนี้ ก็เพื่อแสดงว่า การเป็นนักเคมีไม่ได้ทำให้ความรู้และเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ด้านอื่นๆหายไปหมด จนตอบคำถามและหาเหตุผลเบื้องต้นในชีวิตประจำวันไม่ได้ )                โดย :  นักเคมี   [ 1 ก.ค. 2551 12:57 ]

http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=2557        
ผมเคยเห็นมีตำราเรื่องนี้ขายเลย  เข้าใจว่าเป็นของมสธ.  แต่ไม่แน่ใจ ไม่ทราบว่าท่านอื่นมีใครเคยเห็นบ้าง                
โดย :  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์  กรมควบคุมโรค   [ 17 ต.ค. 2552 02:40 ]        

http://einstein.sc.mahidol.ac.th/~wsiripun/courses/scpy155/Lecture1/sld002.htm                โดย :  เคนจิ  [22 ต.ค. 2552 15:39]    


โดย:  Form Black  [25 ก.พ. 2555 13:58]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้