สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ทำลาย

มีวิธีไหนบ้างคะ ที่จะกำจัดหรือทำลายโฟมได้โดยไม่ให้อากาศมีสารพิษ

โดย:  กัณฐรัตน์ ทานา   [9 ส.ค. 2550 10:52]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว  /  ฐานข้อมูล แหล่งสารสนเทศ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

เนื่องจากเม็ดโฟมทำมาจากโพลิเมอร์สามารถรีไซด์เคิลโดยนำโฟม มาละลายกับน้ำมันเบนซินจะได้เป็นกาว และสามารถสอบถามรายละเอียดด้านการรีไซด์เคิล หรือด้านโพลิเมอร์ได้ ที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) หมายเลขโทรศัพท์ 0 2564 6500

โดย:  นางสาวไอลดา จิตจะกูล  [9 ส.ค. 2550 15:07]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

โฟม เป็นขยะเจ้าปัญหาทำลายสิ่งแวดล้อม เนื่องจากว่าโฟมพลาสติกย่อยสลายได้ช้ามาก อีกทั้งการผลิตโฟมพลาสติกบางชนิดมีการใช้สารซีเอฟซี (CFCs: Chlorofluorocarbons) เป็นสารที่มีส่วนทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ การกำจัดก็ทำได้ยาก ถ้าใช้วิธีการเผาจะได้ก๊าซพิษสู่บรรยากาศ ซึ่งส่งผลให้โลกร้อนขึ้นทุกๆ ปี ถ้าจะใช้วิธีฝังกลบก็ไม่สมเหตุผลเพราะโฟมพลาสติกมีรูพรุนมาก น้ำหนักเบา ทำให้เปลืองเนื้อที่แถมยังย่อยสลายได้ช้ามาก ซึ่งคงไม่มีวิธีกำจัดโฟมหรือทำลายโดยไม่ให้อากาศมีพิษได้ แต่อาจต้องหันไปรณรงค์หรือการใช้ภาชนะอย่างอื่นแทน ลองเข้าไปดูที่เว็บไซต์ http://www.sri.cmu.ac.th/~lamphun_envi/modules.php?name=News&file=print&sid=106
ได้กล่าวถึงการนำวัตถุดิบอื่นมาทำเป็นภาชนะแทนโฟมค่ะ


โดย:  นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์  [9 ส.ค. 2550 15:19]
ข้อคิดเห็นที่ 3 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

คำถามนี้แสดงถึงความห่วงใยของผู้ถามที่มีต่อสิ่งแวดล้อม คำตอบต่อเราท่านในฐานะผู้บริโภคก็คือลดการใช้ ทั้งๆที่เป็นความสะดวกที่ยากจะทำตาม วิธีการทีภาครัฐใช้ในประเทศต่างๆ เขาใช้มาตรการทางภาษีสิ่งแวดล้อม  ส่วนเทคโนโลยีในการกำจัด อาจเป็นเทคโนโลยีการเผาในที่ขาดอากาศ หรือเรียกว่าไพโรลิซิส เป็นการเผาโดยไม่มีการปลดปล่อยสารพิษออกมา กลับได้เป็นนำมันเชื้อเพลิงมาใช้ได้ด้วย ทางเทคโนโลยีทำได้ แต่ต้องคิดถึงความคุ้มค่าด้วย เพราะการกำจัดด้วยวิธีนี้ก็ยังใช้พลังงานอยู่ดี งานวิจัยนี้กำลังดำเนินการอยู่ค่ะโดย สกว. ถ้าในแต่ละโรงเรียนหรือสำนักงาน รวมตัวกันลดการใช้ วิธีการในโรงเรียน อาจให้เด็กสำรวจเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ก่อนและหลังการรณรงค์ นอกจากจะช่วยลดการใช้แล้ว เด็กๆยังได้เรียนรู้วิธีการเก็บข้อมูล ได้ความรู้เรื่องโฟมและพลาสติกอื่นๆ พร้อมกับการสร้างความตระหนักไปด้วยในตัว เพราะเขาประจักษ์ด้วยข้อมูลจริงที่เขาลงมือเก็บด้วยตัวเอง  แนวคิดนี้คือการเรียนรู้คู่วิจัยค่ะ

โดย:  รศ.สุชาตา ชินะจิตร  [10 ส.ค. 2550 07:57]
ข้อคิดเห็นที่ 1:4

ขอบคุนครับ

โดย:  ค้อบ รัก พี่ดี  [13 ต.ค. 2552 10:47]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้