สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ขวด ภาชนะบรรจุสารเคมี

ควรทำอย่างไรกับขวดหรือภาชนะบรรจุสารคมีที่ใช้หมดแล้ว  เช่นขวดแก้ว 2.5 ลิตร ของเอทานอล, เมทานอล,  อะซิตริก แอสิด, อะซีโตน, คลอโรฟอร์ม เป็นต้น
ทำลายทิ้งหรือมีการนำกลับมาใช้ใหม่หรือไม่?  รวมถึงภาชนะบรรจุภัณฑ์สารเคมีที่เป็นพลาสติกทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ  หรือแยกทิ้ง?  กรณีแยกทิ้ง  มีหน่วยงานรองรับหรือไม่?

โดย:  นักวิจัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม   [10 ส.ค. 2550 17:02]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

ขวดสารเคมีเหล่านี้ล้างยากจริง ๆ ใช่ไหมครับ เคยลองล้างตั้งนานก็ยังไม่สามารถทำให้สะอาดได้ จึงไม่ควรทิ้งรวมกับขยะอื่นเด็ดขาดนะครับ ส่วนใหญ่ที่ทำกันในมหาวิทยาลัย คือใช้ขวดเหล่านี้ใส่สารเคมีที่ต้องการทิ้งครับ แต่ทางที่ดีควรแยกประเภทนะครับ เช่น ขวดใส่เมทานอลก็ใช้ใส่ของเสียที่มีเมธานอลผสมอยู่ เป็นต้นนะครับ แล้วก็ส่งกำจัดตามบริษัทที่รับกำจัดของเสียอันตรายครับ อย่าไปทิ้งรวมกับขยะเทศบาลนะครับ เพราะเดี๋ยวมันจะไปปนกันกับขยะอื่น ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหายนะครับ

โดย:  supersert  [10 ส.ค. 2550 19:11]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

ใช่ครับ ขวดสารเคมีที่ใช้หมดแล้วเท่าที่รู้ตอนนี้ก็ยังไม่มีใครนำมา recycle อาจเพราะไม่คุ้ม (เนื่องจากต้องทำความสะอาดสารเคมีที่ปนเปื้อนมา) แต่อยากแนะนำนิดว่าสารที่ไม่เป็นสารอันตราย เช่น เอทานอล เมทานอล สามารถล้างได้ และอาจนำไปใช้ในการเก็บตัวอย่างน้ำได้ครับ

โดย:  ดร.วรพจน์ กนกกันฑพงษ์  [10 ส.ค. 2550 20:54]
ข้อคิดเห็นที่ 3 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

ครับ คาดว่าผู้ถามคงเป็นนักวิจัยที่ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีในปริมาณมากพอสมควรครับ คำตอบของคุณ supersert และ ดร.วรพจน์ ชัดเจนและครอบคลุมแล้วครับ สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ปนเปื้อนเหล่านี้ถ้าหากสามารถรวบรวมแล้วติดต่อให้บริษัทที่รับกำจัดมารับไปกำจัดด้วยวิธีการที่เหมาะสมก็จะเป็นการดีครับ การกำจัดเองในห้องปฏิบัติการอาจไม่สามารถทำได้อย่างเหมาะสมในกรณีของบรรจุภัณฑ์ปนเปื้อนสารเคมีที่มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากๆครับ ส่วนเรื่องของหน่วยงาน หรือบริษัทที่รับกำจัดสามารถหาได้จากข้อมูลของกรมโรงงานตาม link ด้านล่างนะครับ
http://www.diw.go.th/diw_web/html/versionthai/data/Download_fac2.asp
ให้ดูโรงงานประเภทที่ 106 จะมีข้อมูลที่ตั้งของโรงงานทั่วประเทศและมีที่อยู่พร้อมเบอร์โทรศัพท์ในการติดต่อด้วยครับ

โดย:  ดร.สนธยา กริชนวรักษ์  [10 ส.ค. 2550 22:32]
ข้อคิดเห็นที่ 4 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :4

น่าชื่นชมกับคนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปัญหาการลักลอบทิ้งภาชนะและสารเคมีเก่าๆ จึงพบได้บ่อยๆ คุณน่าจะสนใจหนังสือเรื่อง แกะรอยอุบัติภัยสารเคมี ของสกว. เขียนโดยคุณสุเมธา วิเชียรเพชร ซึ่งเป็นคนที่มีประสบการณ์ตรงในการเผชิญเหตุฉุกเฉิน น่าอ่านและชวนคิด สั่งซื้อได้ที่ สกว.หรือที่ศูนย์หนังสือ จุฬาฯค่ะ

โดย:  รศ.สุชาตา ชินะจิตร  [14 ส.ค. 2550 08:56]
ข้อคิดเห็นที่ 1:5

ขอบคุณมากครับ

โดย:  นักวิจัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม  [15 ส.ค. 2550 15:56]
ข้อคิดเห็นที่ 2:6

ถ้าเรามีขวดสารเคมีที่ใช้แล้ว ล้างน้ำทำความสะอาดหลายๆครั้ง แล้วเราสามารถนำไปอบทำให้แห้งได้รึป่าวค่ะ # ใช้อุณหภูมิ 60 เหมือนอบเครื่องแก้วธรรมดาเลยค่ะ

โดย:  Karntida  [2 ธ.ค. 2558 17:55]
ข้อคิดเห็นที่ 3:7

ภาชนะพลาสติก(ถังแกลลอน)ที่ใส่สารกัดกล่อนที่ใช้หมดแล้วเรานำมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำมาใส่นำ้มันดีเซลจะได้ไหม เพราะพวกเกษตรกรจะใช้กันเยอะ

โดย:  นิติ รื่นสุข  [16 เม.ย. 2563 18:06]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้