สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

สกัดสารไล่แมลงจากพืช ทำแบบนี้ได้ไหมคะ

    เอาน้ำเปล่า ใส่ถัง แล้วเอาสมุนไพรสับ ใส่ลงไปหมัก 5 วัน จากนั้นเอากากสมุนไพรออก เก็บไว้แต่น้ำ แล้วใช้น้ำเดิมมาแช่สมุนไพรต่อ  ไม่ทราบว่าการหมักซ้ำในน้ำเดิม แบบนี้มันจะเข้มข้นขึ้นไหมครับ   ที่ต้องทำแบบนี้เพราะเราจะเก็บไว้ในตู้เย็นน่ะค่ะ มันไม่บูด  แต่มีปัญหาเรื่องพื้นที่      
    แต่ที่ไม่แน่ใจคือ  การแพร่ออกของสารไล่แมลงจากสมุนไพรสู่น้ำมันใช้หลักการของการแพร่ หรือเปล่าคะ  สารสลายจะซึมผ่านจากที่ๆมีความเข้มข้นมาก ไปหาน้อย  <<< ถ้าจำไม่ผิด
    แบบนี้เท่ากับว่าในน้ำหมักของเรา พอถึงระดับหนึ่งมันจะเข้มข้นจนสารในสมุนไพรไม่ซึมผ่านหรือเปล่า ไม่มีความรู้จริงๆค่ะ

โดย:  ออพ   [12 ต.ค. 2555 10:00]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กระบวนการผลิตและการใช้ประโยชน์  /  การวิเคราะห์ ทดสอบ  /  สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สารเคมีทางการเกษตร
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

หลักการสกัดเบื้องต้น
1. สารที่ต้องการสกัดละลายในน้ำ หรือใน solvent ชนิดใด ไม่ใช่ว่าน้ำจะละลายได้ทุกสาร ขึ้นกับ polarity ของสาร
2. หากละลายในน้ำ นอกจากการแช่ไว้เฉยๆ ก็อาจเร่งให้ละลายออกมาได้มากขึ้น โดยการให้ความร้อน (หากสารที่ต้องการไม่เสียความสามารถเมื่อถูกความร้อน) หรือโดยการเขย่า หรือกรรมวิธีเร่งการสกัดอื่นๆ
แนะนำให้อ่านหลักการและวิธีสกัดสารเบื้องต้นก่อนค่ะ

โดย:  รศ. ดร. สุกัญญา สุนทรส  [12 ต.ค. 2555 16:09]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

หลักการที่กล่าวมาเป็นการทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในอากาศ (แต่เวลาหมักต้องอยู่ในสภาพไม่มีออกซิเจน) เพื่อให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตและย่อยสลายผนังเซลล์พืช ปลดปล่อยสารภายในเซลล์พืชออกมา ซึ่งสารในสมุนไพร อาจจะมีทั้งน้ำมันหอมระเหย หรือสารสกัด (ซึ่งถ้านำไปสกัดตามที่ท่านอาจารย์สุกัญญาตอบมา จะได้เพียง 0.01-2% ของสมุนไพรที่ใช้) แต่การทำน้ำหมักชีวภาพจะได้สารในพืชหลากหลายชนิด เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน น้ำตาล และน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหลักการในการไล่แมลงของน้ำหมักชีวภาพ อยู่ที่กลิ่นที่เกิดจากการหมักพืชสมุนไพร รวมกับกลิ่นอื่นๆในพืช ทำให้ไล่แมลงได้  ซึ่งกลิ่นนี้อาจเป็นกลินเอทานอล กลิ่นหรือสารหอมระเหยของพืชสมุนไพร ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว

การที่จะไม่ให้น้ำหมักบูด คือ กรองแล้วอาจต้มเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (ไม่จำเป็นต้องเติมเชื้อ เพราะมีเชื้อมากมายติดมากับพืชสมุนไพร หรืออยู่รอบๆตัวเราอยู่แล้ว)  

โดย:  รศ. ดร.อรพิน เกิดชูชื่น  [18 ต.ค. 2555 15:41]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้