สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

คุณสมบัติของน้ำฝน

ถ้าหากเราเอาภาชนะไปรองรับน้ำฝนกลางแจ้ง น้ำฝนที่เก็บได้จะมีคุณสมบัติทางเคมีเป็นอย่างไร เช่น pH แร่ธาตุต่างๆ และถ้าเปรียบเทียบกับหยดน้ำที่อยู่บนก้อนเมฆ คุณสมบัติจะต่างกันอย่างไรบ้างค่ะ
ขอบคุณค่ะ

โดย:  น้องนานนาน   [20 ธ.ค. 2555 15:12]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป  /  อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

วิธีคิด
น้ำฝนตกจากก้อนเมฆมาสู่พื้นดิน ต้องตกผ่านอะไรบ้าง และอะไรเหล่านั้นละลายในน้ำหรือจะถูกชะล้างปนกับน้ำฝนได้ไหม เมื่อปนกับน้ำแล้วจะทำให้น้ำเปลี่ยนแปลงอย่างไร

โดย:  ครึ้งหนั่ง ยีมัง โซติ๋ง ตึ่งนัว นอนป่ำอยู่ในถ้วย  [23 ธ.ค. 2555 12:23]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอบคุณ ข้อคิดเห็นที่ 1 นะค่ะ พอจะเคยเห็นข้อมูลหรืองานวิจัย หรือจะแนะนำหน่วยงานที่พอจะมีข้อมูลเหล่านี้บ้างได้มั๊ยค่ะ

โดย:  น้องนานนาน  [24 ธ.ค. 2555 11:22]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

ขออภัยนะครับ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำฝน แต่ลองหาข้อมูลให้พบว่ามีการศึกษามาบ้างเกี่ยวกับมลพิษในน้ำฝนตามพื้นที่ต่าง ๆ ลองอ่านในข่าวแล้วติดต่อหน่วยงานที่ระบุไว้เพื่อขอข้อมูลในเชิงลึกต่อไปนะครับ  หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

นักวิจัยแฉน้ำฝนในหลายพื้นที่ของประเทศ ทั้งเหนือใต้ออกตกปนเปื้อนมลพิษ ไม่สามารถนำมาดื่มกินได้แล้ว เหมือนในอดีต สาเหตุเกิดจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและเมือง รวมทั้งฝุ่นควันจากยานยนต์จนทำให้น้ำฝนกลายเป็นน้ำปนยาพิษ ระบุ 5 ปีที่ผ่านมาพื้นที่อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 10 พ.ย. น.ส.สุนทรี ขุนทอง คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี หัวหน้าโครงการศึกษาการเก็บวิเคราะห์ ตัวอย่าง การตกสะสมของกรดในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ทำการศึกษาวิจัย เปิดเผยว่า จากการเก็บตัวอย่างน้ำฝนตลอดระยะเวลา 1 ปี ในเขตพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่แหลมฉบัง พบว่าน้ำฝนที่เก็บได้มีค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 4 กว่าๆ จากค่าความเป็นกรดด่างของน้ำฝนที่มีค่าเฉลี่ยที่ 5.6 ทั้งนี้ ค่าความเป็นกรดของน้ำฝนที่สูงขึ้นอาจมีสาเหตุจากพื้นที่นี้ล้อมรอบด้วยอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อาทิ นิคมแหลมฉบัง โรงกลั่นน้ำมันบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ นิคมอุตสาหกรรมสหพัฒน์ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง เป็นต้น ประกอบกับแถวถนนสุขุมวิทที่มีการจราจรคับคั่งในช่วงเช้าและเย็นด้วย จึงมีส่วนที่น้ำฝนจะเป็นกรดสูงก็ได้

น.ส.สุนทรี กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าในพื้นที่ภาคตะวันออก มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการตกของฝน กล่าวคือมีจำนวนวันที่ฝนตกสูงถึง 108 วัน ขณะที่การตกจะหนักและแรง ในบางช่วงที่ควรมีฝนตกชุกก็ไม่มีฝน เป็นข้อสังเกตที่พบว่า การตกของฝนในพื้นที่นี้เริ่มขยับไปขยับมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถบ่งชี้ว่าเป็นผลมาจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือไม่ เพราะหากในทุกพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงก็ไม่น่าจะเป็นผลจากโรงงานอย่างเดียว ทั้งนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีจากการสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือไม่ เพราะมวลอากาศที่อยู่น้ำและดินมีความแตกต่างกัน และสอดคล้องว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พื้นที่อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เมื่อถามว่า ขณะนี้น้ำฝนยังสามารถนำไปบริโภคได้ตามปกติหรือไม่ น.ส.สุนทรียอมรับว่า ขณะนี้หลายพื้นที่ทั่วประเทศของไทย คาดว่าน้ำฝนไม่เหมาะสมกับการนำมาใช้ดื่มกินได้อย่างบริสุทธิ์เหมือนในอดีตแล้ว เนื่องจากมีการขยายตัวของอุตสาหกรรม และความเจริญเติบโตของเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำฝนทั่วประเทศไม่เพียงแต่แนวโน้มที่มีค่าความเป็นกรดสูงเท่านั้น แต่ยังรวมเอามลพิษอื่นๆ อยู่ในน้ำ เช่น จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำฝนมีค่าความเป็นด่างมากผิดปกติ เพราะอยู่ใกล้โรงปูน ส่วน จ.เชียงใหม่ มีปริมาณฝุ่นละอองสูงเพราะต้องเจอกับปัญหาหมอกควันอย่างต่อเนื่อง ขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมน้ำฝนจะมีการตรวจพบสารฟอสเฟต แอมโมเนียสูง เช่น กรณี จ.สงขลา จะมีการปนเปื้อนของแอมโมเนียสูง เพราะมีอุตสาหกรรมน้ำยางพารา เป็นต้น ส่วนตัวเชื่อว่าอนาคตสังคมชนบทที่เคยรองน้ำฝนไว้บริโภคเก็บในโอ่ง คงจะต้องเลิกไปในที่สุด

"กรณีพื้นที่ จ.ชลบุรี และระยอง จะมีความชัดเจนมากว่าน้ำฝนที่มีค่าความเป็นกรด อาจจะเป็นผลจากการอยู่ใกล้กับแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งขณะนี้ทราบว่ากรมควบคุมมลพิษได้เริ่มไปเก็บตัวอย่างน้ำฝนเพื่อนำมาวิเคราะห์ หาตัวอย่างของสารที่ปนเปื้อนในน้ำฝนพื้นที่มาบตาพุดแล้ว หลังจากที่ผ่านมามีการร้องเรียนจากชาวบ้านว่าไม่สามารถบริโภคน้ำฝนได้ หรือน้ำฝนที่ตกมาแล้วส่งผลให้พืชผลการเกษตรเสียหาย โดยการเก็บน้ำฝนต้องใช้ระยะเวลา 1 ปี จึงจะวิเคราะห์และประมวลผลได้ โดยผลที่ออกมาจะใช้เป็นข้อมูลเฝ้าระวังเพื่อใช้ในการควบคุม และการวางแผนขยายโรงงานในพื้นที่ต่อไป อย่างไรก็ตาม สำหรับน้ำฝนในเขตพื้นที่ กทม. เอง ก็มีค่าความเป็นกรดสูง เนื่องจากมีปัญหาการจราจรหนาแน่นมาก" น.ส.สุนทรีระบุ


อันนี้เป็นเว็บลิงค์ของอีกเว็บไซด์หนึ่งครับ  ลองคลิกไปอ่านดูครับ
http://www.environnet.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=782&catid=5&Itemid=296



โดย:  นายเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์  [2 ม.ค. 2556 11:45]
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

You Sir/Madam are the enemy of confusion eveyhrwere!

โดย:  Lavigne  [19 ม.ค. 2556 17:20]
ข้อคิดเห็นที่ 4:8

กาก

โดย:  คนสัส  [2 ม.ค. 2562 09:34]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้