สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

โมเลกุลของน้ำไม่สามารถผ่านถุงยางได้ ไวรัสซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าน้ำจึงไม่สามารถผ่านถุงยางได้

เมื่อทดสอบใส่น้ำลงในถุงยางเพื่อตรวจดูการซึม น้ำไม่ซึมผ่าน ดังนั้นไวรัสเอดส์ก็ไม่สามารถผ่านได้ เนื่องเพราะขนาดของไวรัสยังใหญ่กว่าโมเลกุลของน้ำ ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับ

โดย:  เจมส์   [24 ก.ค. 2556 08:20]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การวิเคราะห์ ทดสอบ  /  อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

เรียน คุณเจมส์

น้ำ ความยาวพันธะ ประมาณ 0.096 นาโนเมตร
ไวรัส ขนาดเล็กสุด ประมาณ 18-20 นาโนเมตร

ถ้าคิดตามหลักเหตุผลแล้ว ก็น่าจะเป็นตามที่คุณเจมส์เข้าใจนะครับ

แต่ ก่อนอื่นคุณเจมส์ลองคิดตามความจริงดังนี้นะครับ
มีช่องขนาดเท่าความหนาของเหรียญสิบบาท คุณเจมส์ว่าแมลงสาบที่มีขนาดใหญ่กว่าช่องนี้จะลอดผ่านได้ไหมครับ
มีรูขนาดประมาณ2นิ้ว หนูที่มีขนาดใหญ่กว่ารูเล็กน้อยไม่ควรลอดผ่านรูนี้ได้รึเปล่าครับ
น้ำ มีความหนาแน่นน้อยกว่าเหล็กมากมาย แต่ทำไมเราเอาเข็มไปลอยน้ำได้ล่ะครับ

ตรรกะในการคิดอาจมีได้หลายอย่าง แต่ความจริงเป็นอย่างไรนั้นอาจมีปัจจัยอื่นเกี่ยวข้องด้วยนะครับ

ผมไม่ได้หมายความว่าผมจะพูดถูกต้อง เพียงแต่ขอให้พิจารณาตามความจริงให้รอบด้าน และหาข้อมูลให้ครบถ้วนครับ (ณ ขณะนี้ผมเองก็ไม่สามารถตอบได้ครับว่าไวรัสซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าน้ำจะไม่สามารถผ่านถุงยางได้หรือไม่ครับ ต้องขอโทษด้วยครับ)

โดย:  Prasit  [24 ก.ค. 2556 11:40]
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

ชอบคำตอบของคุุณPrasit ครับ เป็นอย่างนี้ได้ไหมครับ ความหนาแน่นของถุงยางทำให้ไวรัสผ่านไม่ได้ โดยคงมีการทดสอบจริงๆมาแล้ว ดังนั้นถ้ามีวัสดุที่มีความหนาแน่นกว่าถุงยางไวรัสก็จะไม่สามารถผ่านได้เช่นกัน

โดย:  เจมส์  [24 ก.ค. 2556 19:48]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

เรียน คุณเจมส์

ขอบคุณครับสำหรับfeed back.

คืออย่างนี้ครับ (ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนะคติกันก็แล้วกันนะครับ) การที่เราจะพิจารณาว่า ไวรัสสามารถผ่าน หรือไม่ผ่านตัวกลางใดๆได้นั้น เราน่าจะพิจารณาจากเรื่องเหล่านี้นะครับ
1. ไวรัสคืออะไร ประกอบจากอะไร
2. การแพร่ขยายไวรัส เกิดได้อย่างไร มีกระบวนการอย่างไร
3. กระบวนการยับยั้งไวรัส มีอะไรบ้าง เป็นอย่างไรบ้าง
4. วัสดุตัวกลางที่ขัดขวางไวรัสนั้น ส่งผลต่อข้อ2 หรือข้อ3 ข้างต้นอย่างไร
5. ผลการศึกษา (อย่างเป็นทางการ) เกี่ยวกับการป้องกันไวรัสโดยถุงยางฯนั้น มีข้อสรุปอย่างไร เชื่อถือได้ขนาดไหน
6. ฯลฯ (ทีนี้ คุณเจมส์คงพอมองออกแล้วนะครับว่า น่าจะมีประเด็น / ปัจจัยอื่นๆอีก ซึ่งคุณเจมส์เองก็คงมีมุมมองอื่นที่ต่างจากผมเช่นกัน)

ในความเห็นส่วนตัว ผมก็เชื่อว่าถุงยางฯ จะสามารถป้องกันไวรัสได้ ในรูปแบบของการ "คัดกรอง" ตัวไวรัสเอง

แต่ ก็เคยได้ยินบางกระแส บอกว่าป้องกันไม่ได้เช่นกัน (อาจเพราะได้รับผลกระทบจากไวรัสอยู่ ถึงแม้ว่าจะใช้ถุงยางฯก็ตาม)

ทีนี้ ในโลกความเป็นจริงนั้น มีตัวแปรอื่นๆอีกมากมาย ที่ทั้งคุณเจมส์เอง (และผมด้วย) ไม่อาจตอบได้เช่น
- คนให้ข้อมูล บอกถูกต้องครบถ้วนทุกอย่างไม๊
- พฤติกรรมของเขา (ในเรื่องอื่นๆ) เป็นอย่างไร
- ไวรัสไม่ได้"ผ่าน"ถุงยางฯออกมาหรอก แต่หลุดรอดมาทางอื่นมากกว่า (การใช้ถุงยางฯน่ะ ถุงมันไม่ได้อยู่นิ่งๆหรอกครับ)
- ฯลฯ

หวังว่าคงเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นกันพอสมควรนะครับ ถ้ามากกว่านี้ เดี๋ยวจะกลายเป็นงานวิจัยไปซะก่อน

ขอบคุณครับ

โดย:  Prasit  [26 ก.ค. 2556 10:15]
ข้อคิดเห็นที่ 3 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :4

คำถามนี้ดีมาก ถือเป็นคำถามดีที่สุดของปีนี้
แม้ว่าโดยทั่วไป ไวรัสจะผ่านถุงยางไม่ได้ และการใช้น้ำก็สามารถทดสอบคร่าวๆได้ แต่โดยทั่วไปตรรกะนี้ใช้ได้กับของใหญ่ๆเท่านั้น
ในโลกเล็กๆระดับโมเลกุล โมลเลกุลใหญ่ๆผ่านช่องว่างได้ ในขณะที่ของเล็กๆผ่านไม่ได้ เป็นเรื่องธรรมดา เช่นสารทำละลายที่โมเลกุลใหญ่กว่าน้ำสามารถผ่านถุงยางได้สบายโดยการละลายลงไปในยางและหลุดไปอีกฝั่งหนึ่ง ดังนั้นจึงกล่าวว่าถุงมือยางไม่สามารถกันสารเคมีได้

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ กรมควบคุมโรค  [29 ส.ค. 2556 04:34]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้