สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

เราจะใช้เกณฑ์อะไรพิจารณาว่าสารเคมีตัวไหนมีคุณสมบัติเป็นสารกัดกร่อนครับ

พอจะมีเกณฑ์ในการพิจาณาในการแยกสารกัดกร่อนหรือไม่ครับ เช่น pH ต้องมากกว่าหรือน้อยกว่าเท่าไรหรือความเข้มข้นกี่เปอร์เซ็น

โดย:  อรรคเดช   [5 ส.ค. 2556 11:40]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับวัตถุอันตราย  /  การวิเคราะห์ ทดสอบ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบยากครับ  เพราะต้องแบ่งด้วยว่ากำลังพูดถึงสารที่เป็นสารเดี่ยวหรือสารผสม

ถ้าอยากเข้าใจในเชิงลึกแนะนำให้ไปอ่านเกณฑ์การจำแนกความเป็นอันตรายของสารผสมภายใต้ระบบการจำแนกสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลกหรือ GHS (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals)

ขอตอบสั้น ๆ ตามนี้นะครับ
สารกัดกร่อนเวลาดูความสามารถในการกัดกร่อนจะดูใน 2 ด้าน คือ กัดเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต (อันตรายต่อสุขภาพ) และกัดเหล็กหรืออลูมิเนียม (อันตรายทางกายภาพ)

หากกัดกร่อนต่อเหล็กหรืออลูมิเนียมจะต้องทำการทดลองที่ได้ผลของอัตราการกัดกร่อนที่มากกว่า 6.25 มิลลิเมตรต่อปี ที่อุณหภูมิการทดสอบที่ 55 องศาเซลเซียส

สำหรับสารเดี่ยว หากกัดกร่อนต่อผิวหนัง ให้ดูค่า pH หากต่ำกว่าหรือเท่ากับ 2 หรือสูงกว่าหรือเท่ากับ 11.5 จะเป็นสารกัดกร่อนต่อผิวหนัง

หากนำสารที่มีค่า pH ดังข้างบนไปผสมเป็นสารผสม และมีส่วนผสมเกินว่าหรือเท่ากับ 1% ก็จะถึงว่าสารผสมนั้นเป็นสารกัดกร่อนเช่นกัน  อย่างไรก็ตามระบบ GHS มีการแบ่งประเภทย่อย ๆ (Category) ไว้อีกซึ่งคงต้องรบกวนไปทำความเข้าใจเพิ่มเติม  เพราะกัดกร่อนในระดับต่อจะเรียกว่าทำให้ระคายเคืองแทนการกัดกร่อนครับ  

โดย:  เฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์  [9 ส.ค. 2556 16:09]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

ขออนุญาตแก้ไขนิดนึงครับ  พิมพ์ผิด

**หากนำสารที่มีค่า pH ดังข้างบนไปผสมเป็นสารผสม และมีส่วนผสมเกินว่าหรือเท่ากับ 1% ก็จะถึงว่าสารผสมนั้นเป็นสารกัดกร่อนเช่นกัน  อย่างไรก็ตามระบบ GHS มีการแบ่งประเภทย่อย ๆ (Category) ไว้อีกซึ่งคงต้องรบกวนไปทำความเข้าใจเพิ่มเติม  เพราะกัดกร่อนในระดับต่ำจะเรียกว่าทำให้ระคายเคืองแทนการกัดกร่อนครับ  

เพิ่มเติมอีกนิดครับ  การทดสอบความสามารถในการกัดกร่อนโดยเฉพาะต่อผิวหนังยังสามารถทดลองได้โดยดูความสามารถในการกัดกร่อนต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตหลังจากรับสัมผัสสารเคมีแล้ว  ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต่างกัน  อีกทั้งยังสามารถหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอ้างอิงได้ว่ามีหลักฐานเพียงพอสำหรับคนหรือสัตว์ที่จะสรุปได้หรือไม่ว่าสามารถกัดกร่อนต่อผิวหนังของมนุษย์ครับ

โดย:  เฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์  [9 ส.ค. 2556 16:13]
ข้อคิดเห็นที่ 3 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

เอาแบบง่ายๆคือ กรดและด่างเป็นสารกัดกร่อน (ยังมีสารอื่นๆอีกที่ไม่ใช่กรด/ด่าง) ยิ่งเข้มข้นมากยิ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ที่ฉลากจะมีสัญญลักษณ์เตือนอันตรายไว้

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [29 ส.ค. 2556 08:19]
ข้อคิดเห็นที่ 1:4

หากกัดกร่อนต่อเหล็กหรืออลูมิเนียมจะต้องทำการทดลองที่ได้ผลของอัตราการกัดกร่อนที่มากกว่า 6.25 มิลลิเมตรต่อปี ที่อุณหภูมิการทดสอบที่ 55 องศาเซลเซียส   สามารถทดสอบอัตราการกัดกร่อนได้ที่ไหนบ้างคะ

โดย:  จีรภา ลาภาอุตม์  [9 ธ.ค. 2564 17:05]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้