สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การหาความเข้มข้นที่แน่นอนของโซเดียมไธโอซัลเฟต

ขอถามหน่อยนะคะ
การหาความเข้มข้นของโซเดียมไธโอซัลเฟต ในการหาค่าดีโอ
จะใช้สารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.025 M ไทเทรตกับสารละลายโพแทสเซียมไดโครเมต 0.025 N
........ทำไม?????หน่วยความเข้มข้นต่างกันถึงใช้ไทเทรตกันได้
...ขอคำตอบทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิกิริยานะคะ
ขอบคุณค่ะ.......

โดย:  เพียว   [4 ก.พ. 2557 16:26]
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เรียน คุณเพียว

กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมตามนี้ครับ
1. ้http://www.science.cmru.ac.th/envi/waterquality/chapter1_t1.html

2. https://sites.google.com/site/kkchaiwat2011/useful-links/do

หลักการ
ออกซิเจนไม่สามารถตรวจวัดโดยวิธีทางเคมีโดยตรง วิธีการตรวจวิเคราะห์ที่ใช้ (Winkler) เป็นวิธีการตรวจวัดทางอ้อมโดยใช้หลักความจริงว่า ออกซิเจนละลายน้ำออกซิไดซ์ไอออนแมงกานีส (Mn2+) เป็น Mn4+ ภายใต้สภาวะที่เป็นด่าง ; ซึ่ง Mn4+ นี้ในสภาวะที่เป็นกรดจะแอกทีฟและจะสามารถออกซิไดซ์ไอโอไดไอออนเป็นไอโอดีน ดังนั้นปริมาตรไอโอดีนที่เกิดขึ้นจะสมมูลกับปริมาณออกซิเจนละลายเริ่มต้นในน้ำ ไอโอดีนสามารถตรวจวัดโดยทำปฏิกิริยากับโซเดียมไธโอซัลเฟตที่เตรียมให้มีความเข้มข้นเท่ากับ 1 มล. = ออกซิเจน 1 มก./ล.

ลองๆอ่านดูก่อนนะครับ แล้วจะเข้าใจมากขึ้น

ขอแสดงความนับถือ
Prasit

โดย:  Prasit  [19 ก.พ. 2557 15:40]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ในการไทเทรต โดยใช้สารละลายที่เป็นของเหลว และวัดปริมาตรของสารละลาย

ไม่ว่า สารละลายนั้นๆ จะมีความเข้มข้นในหน่วยใดก็ตาม ถ้าสามารถคำนวณจากปริมาตร มาเป็น น้ำหนัก ของสารที่เป็นตัวทำปฏิกิริยาในสารละลาย ได้  ก็สามารถนำมาใช้ในการไทเทรตได้ทั้งนั้น

โดย:  ม้าลาย  [4 ก.ค. 2557 23:05]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

สมการเคมีแบบโบราณ  

K2Cr2O7  +  7 H2SO4  +  6 KI    =    4 K2SO4  +  Cr2(SO4)3  +  7 H2O  +  3 I2  

3 I2  +  6 Na2S2O3    =    3 Na2S4O6  +  6 NaI

โดย:  ม้าลาย  [4 ก.ค. 2557 23:11]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้