สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ป้องกันการเกิด silver chloride

อยากทราบว่าต้องใส่สารอะไรเพื่อป้องกันการทำปฏิกริยาของ Ag และ Cl ในน้ำประปา เป็น ซิลเวอร์คลอไรด์ เมื่อใช้ ซิลเวอร์ไนเตรตกับน้ำประปา

โดย:  momo_otto   [4 ก.ย. 2550 21:11]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กระบวนการผลิตและการใช้ประโยชน์  /  สารเคมีในอุตสาหกรรม
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

จากสมบัติของปฏิกิริยานี้ส่วนใหญ่ จึงนำมาประยุกต์ใช้ในทานตรวจสอบน้ำประปานะคะ
ถ้าเกิดเป็นตะกอนก็แสดงว่าน้ำมีพวกคลอรีนปนอยู่ ไม่ใช่น้ำสำหรับดื่ม เป็นต้น

ในด้านการอัด-ล้างภาพบนฟิล์มหรือกระดาษ มักเจอปัญหานี้
ซึ่งทางแก้ก็คือ พวกซิลเวอร์ฮาไลด์ที่เกิดขึ้น เช่น AgCl ที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่ง
สิ่งนี้มักจะทำให้เกิดจุดสีดำ ขั้นแรกที่มักทำคือ เติมพวกสารละลายไอโอดีน
เพื่อไปออกซิไดส์ให้กลายเป็น AgI ก่อน จะทำให้เปลี่ยนสีเป็นสีขาว

การทำให้ตะกอนนี้ละลายน้ำได้เพื่อการกำจัดโดยการล้างออกนั้น
ก็จะเติมพวกแอมโมเนีย หรือ โซเดียมไทโอซัลเฟตลงไป ซึ่งจะทำให้ตะกอนเหล่านี้
ละลายน้ำได้ และสามารถล้างออกไป (นิยมให้โซเดียมไทโอซัลเฟตมากกว่าตัวอื่น)

เพราะฉะนั้นหากเราทราบก่อนล่วงหน้าว่าเป็น AgNO3 แล้วล่ะก็
ควรพยายามหลีกเลี่ยงในการล้างภาชนะด้วยน้ำประปานะคะ
ส่วน AgNO3 ถ้าโดนผิวหนังก็สามารถเกิด AgCl ได้เช่นเดียวกันเพราะว่า
ผิวหนังเราโดยเฉพาะเหงื่อมีเกลือ NaCl ประกอบอยู่ด้วย ก็ต้องระวัง
เมือ่เกิดคราบ AgCl ก็ควรล้างด้วยสารละลายพวกโซเดียมไทโอซัลเฟตก่อน
จากนั้นก็ล้างน้ำตามเยอะ ๆ



โดย:  ดร.เสาวรัตน์ จันทะโร  [9 ก.ย. 2550 20:31]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้