สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

มาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร

แม่ค้าขายอาหารที่นำกระติกน้ำแข็งมาใส่ข้าวร้อนๆ ข้าวเหนียวร้อนๆ
ที่พบเห็นได้ตามตลาดทั่วไปถือเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือไม่ มีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ ขอบคุณครับ

โดย:  ประชาชนผู้บริโภค   [7 ม.ค. 2559 09:45]
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขอตอบแบบเชิงวิชาการนะครับ  สิ่งที่คุณถามมา ในวงการการจัดการสารเคมีเราเรียกว่าการประเมินความเสี่ยงสารเคมีครับ

แปลว่าถ้าหากแม่ค้าใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่เคลือบด้วยสารเคมีที่มีโอกาสปนเปื้อนไปสู่อาหารที่ใส่ในภาชนะบรรจุอาหารได้นั้น จำเป็นต้องทำการคำนวณค่าและความถี่การรับสัมผัสสารเคมี หากมีการปนเปื้อนมาก และนำไปรับประทานจนก่อให้เกิดความเสี่ยงสำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ก็ไม่ควรที่จะนำภาชนะบรรจุนั้นในใส่อาหาร  

ในทางกลับกัน บริษัทที่ผลิตกระติกน้ำในภาคอุตสาหกรรมเอง หาทำการประเมินความเสี่ยงแล้วพบว่าสารเคมีที่ซื้อมาจากอีกบริษัทหนึ่ง อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงสำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้  ก็ไม่ควรจะซื้อสารเคมีจากบริษัทนั้นและเลือกใช้สารเคมีที่ปลอดภัยกว่าแทน  

กลไกการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ กำลังเกิดขึ้นในวงการด้านการจัดการสารเคมีครับ  ค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นขึ้น และหน่วยงานที่กำกับดูแลก็จะถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน  

เรื่องความตระหนักรู้ค่อนข้างใช้เวลาในการสร้าง แต่ต้องให้เวลากับมันครับ ขอบคุณครับ

โดย:  เฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์  [11 ม.ค. 2559 15:02]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ลืมบอกไปครับ  หากแม่ค้าพบว่ามีความเสี่ยงที่จะให้ภายในกระติกน้ำแข็งสัมผัสกับข้าวหรือข้าวเหนียวโดยตรง ก็สามารถแก้ปัญหาได้โดยเอาข้าวหรือข้าวเหนียวใส่ถุงพลาสติกก่อนหนึ่งชั้นแล้วค่อยใส่ไปในกระติกน้ำแข็งครับ  ข้าวและข้าวเหนียวจะไม่สัมผัสกับภายในกระติกน้ำแข็งโดยตรง

หรือหากระติกที่มีคุณภาพสูงที่สารเคลือบไม่ก่อให้เกิดอันตรายมาใส่จะแก้ปัญหาถูกทางที่สุดครับ  

ลองคิดตามแล้วสอนแม่ค้าได้ครับ  ขอบคุณครับ

โดย:  เฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์  [11 ม.ค. 2559 15:05]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ขอเสริมความเห็นของผมนิดนึงนะครับ

สมมติว่าผิวพลาสติกในกระติกน้ำแข็งนั้น ทำจากพลาสติกประเภท Polyethylene (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบนั้น) ทั่วไปแล้ว ตัว Polyethylene เอง ไม่ก่อให้เกิดอันตรายในอุณหภูมิระดับข้าวเหนียวร้อนๆนะครับ
แต่ ในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกเอง จำเป็นต้องใส่สารอื่นเพิ่มเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของมัน ทั้ง Plasticizer, Antioxidant, Antistatic, ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้ขั้นต่อไปสามารถผลิตชิ้นงานได้ตามวัตถุประสงค์ (เช่น นำไปผลิตถุงพลาสติก ฉีดขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน หรือ ทำเป็นภาชนะต่างๆ ) สารต่างๆเหล่านี้จะเรียกรวมๆกันว่า Additive
ทีนี้ ก็จะขึ้นอยู่กับว่า Additive ที่ใช้นั้นเป็นชนิดที่อนุญาตให้"สัมผัส"กับอาหารได้หรือไม่ (ส่วนใหญ่มักจะไม่มีปัญหาครับ) และอีกปัญหาหนึ่งคือ เมื่อ Plastic (ในที่นี้ หมายถึง Polyethylene ที่ใช้ทำผนังในของกระติกน่ะครับ) เมื่อถูกความร้อนมากๆนานๆ พวก Additive ก็จะค่อยๆ "เคลื่อนย้าย" ตัวเองออกมาจากเนื้อ Plastic ได้ครับ (นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ Plastic เสื่อมสภาพเมื่อใช้งานนานๆ)
Additive ที่ออกมานี่แหละครับ จะก่อให้เกิดปัญหาหรือไม่ อันนี้ตอบยากแล้วครับ
นั่นคือ การใช้ภาชนะที่ไม่มีความเสี่ยงจากสารเคมี จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดครับ (แต่ในชีวิตจริงปัจจุบัน จะมีใครทำได้รึเปล่า คงไม่ต้องอธิบายนะครับ)
ขอแสดงความนับถือ
Prasit

โดย:  Prasit  [13 ม.ค. 2559 09:56]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้