สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

วัสดุที่ทนต่อสาร FeCL3

พอดีมี Project งานกัดกรด ซึ่งกรดที่ว่านี้คือ FeCl3 นั่นเอง อยากทราบว่ามีวัสดุหรือภาชนะประเภทใดที่สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดตัวนี้บ้าง
รบกวนท่านผู้รู้ช่วยตอบคำถามด้วยนะคะ

โดย:  E E   [20 ก.ย. 2550 14:08]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขออนุญาติทำความเข้าใจคำถามครับ

คือ Ferric Chloride มันเป็นเกลือ(acid salt) ของ Fe(OH)3 เบสอ่อน และ HCl กรดแก่ ดังนั้นมันจึงไม่น่ามีฤทธิ์เป็นกรดแรงขนาดต้องหาวัสดุหรือภาชนะที่ทนการกัดกร่อนอ่ะครับ

แค่บีกเกอร์ปกติในห้อง lab ก็น่าจะทนได้แล้ว

ปล. ถ้าจะวิเคราะห์โลหะ เช่น Fe ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้ว เพราะอนุภาคของโลหะจะไปติดในรูพรุนของแก้วได้ ทำให้ปริมาณโลหะที่จะนำไปวิเคราะห์คลาดเคลื่อน (ต้องแช่ไว้ในกรดไนตริกก่อนล้าง) ดังนั้นใช้ภาชนะพลาสติกจะสะดวกกว่า

ไม่ทราบว่าตอบตรงคำถามป่ะครับ

โดย:  ปั๊ป ทีมงาน ChemTrack  [20 ก.ย. 2550 17:12]
ข้อคิดเห็นที่ 2:6

คำตอบนี้  ส่งมาหลังจากมีผู้อ่านคำถามแล้ว 788 ครั้ง  ( และเวลาผ่านมาอีก เกือบ 8 เดือน )  โดยมีการตอบ 1 ครั้ง  จากทีมงาน ( ในวันถัดจากวันที่ถาม )  

ใช้  ภาชนะแก้ว  หรือ  ภาชนะพลาสติกที่ทนกรดทั่วไป  ( เช่น HDPE ,  PP )    

ไม่ควรใช้ภาชนะโลหะ


โดย:  นักเคมี  [17 พ.ค. 2551 12:42]
ข้อคิดเห็นที่ 3:7

รบกวนถามต่อได้ป่ะคับ พอดีสนใจเหมือนกัน
Q:  ผมใช้พลาสติกเป็นภาชนะใส่ครับ แต่ว่า มีปัญหาเรื่องอุณหภูมิครับ รบกวน ถามเกี่ยวกับสารตัวนี้หน่อยว่า ให้ความร้อนได้แค่ไหนครับ (หมายถึงต้มมันอ่ะครับ) ดูจากคุณสมบัติแล้วไม่ติดไฟ แต่ ไม่รู้ว่า ทนได้แค่ไหนอ่ะครับ
Q: หากต้องการใช้งาน เฟอริคคลอไรน์ เพื่อกัดแผ่นทองแดง (ไม่ได้ต้องการหาละเอียดถึงปริมาณโลหะเพราะไม่มีเครื่องมือทดสอบครับ)แค่เอากัดทองแดงออกจากแผ่นทองแดงเพื่อทำแผ่น PCB เท่านั้น แต่ต้องการ ต้มมันด้วย เพื่อจะได้ทำปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น(เชื่อ อย่างนั้น)ไม่ทราบว่า จะพอใช้ภาชนะที่เป็นแก้วทนไฟได้หรือไม่ครับ
Q: ช่วยแนะนำรายละเอียดของภาชนะ ที่เหมาะกับงานนี้ให้หน่อยครับ ถ้าแนะนำที่ซื้อหามาใช้ได้ก็จะเป็นพระคุณมากๆครับ

โดย:  นักศึกษาปริญญาใจ  [2 มี.ค. 2552 15:34]
ข้อคิดเห็นที่ 4:8

สารเคมีชนิดนี้มีจุดเดือดที่ 106 องศาเซลเซียสครับ ดังนั้นถ้าต้มแบบต้มน้ำ มีเดือดครับ หากทำปฏิกิริยากับโลหะจะได้ ก๊าซไวไฟ(H2) และได้ทั้งไอกรด(HCl) และ ไอของคลอรีน(Cl2) ระวังด้วยนะครับ

โดย:  ดร.โจ  [12 ต.ค. 2554 09:02]
ข้อคิดเห็นที่ 5:9

มีเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้ไหมครับ ผมอยากได้

โดย:  นักวิจัยสนใจ  [16 ก.ค. 2555 11:49]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้