สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การตรวจสอบสารบอเเรกซ์ในลูกชิ้น

อยากทราบว่าถ้าจะตรวจสอบลูกชิ้นตรวจสอบอย่างไรค่ะ ใช้กระดาษขมิ้นได้ไหมค่ะ  แบบว่า หั่นลูกชิ้นเป็นชิ้นเล็กๆใส่น้ำเเล้วนำกระดาษขมิ้นจุ่มลงไปน่ะค่ะ

โดย:  นัท   [15 ธ.ค. 2550 08:36]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การวิเคราะห์ ทดสอบ  /  สารเคมีในอาหาร-สารเจือปน สารปรุงแต่ง สารตกค้าง
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

น่าจะทำได้ ดูวิธีการและคำแนะนำการทดสอบของชุดตรวจโดยกองสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัยค่ะ

โดย:  รศ.สุชาตา ชินะจิตร  [17 ธ.ค. 2550 09:57]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

การทดสอบสารบอแรกซ์ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในอาหาร  สามารถใช้กระดาษขมิ้นได้ค่ะ

มีชุดทดสอบสารบอแรกซ์ขององค์การเภสัชกรรมจำหน่าย   ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.gpoproduct.com/Default.aspx?tabid=54&CatalogItemID=61&CatalogID=1&psnavcmd=CatalogItemDetails&psmid=387

สำหรับรายละเอียดวิธีทดสอบสาบอแรกซ์  ดูได้ที่ URL ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ต่อไปนี้
http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/TEST/1.pdf



โดย:  ออรัศ คงพานิช  [18 ธ.ค. 2550 14:51]
ข้อคิดเห็นที่ 1:3

ขอบคุณมากๆเลยนะค่ะ...สำหรับข้อมูล

ที่ช่วยในการทำรายงานของป๊อป..

ทั้งคนถามและคนตอบเลยค่ะ...

โดย:  น้องป๊อป  [17 พ.ค. 2551 16:36]
ข้อคิดเห็นที่ 2:4

http://www.gccthai.com/thai/?name=foodtestkit        Food Test Kit    ( ชุดทดสอบ สำหรับอาหาร )

โดย:  นักเคมี  [30 ส.ค. 2551 17:59]
ข้อคิดเห็นที่ 3:7

คำวิจารณ์ เชิงลบ        

สิ่งที่  หน่วยงานรัฐ  พยายามทำ เพื่อ คุ้มครอง ผู้บริโภค จาก บอแรกซ์     อาจ เป็น การชี้ช่อง ให้ คนเลว    ว่า  มีที่ไหน หรือ ผลิตภัณฑ์ใด  ที่ พวกเขา น่าจะใช้ บอแรกซ์ ได้  ( โดยยอมเสี่ยง กับการถูกจับได้ )        

ตัวอย่าง    

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536)  กำหนดให้ บอแรกซ์เป็นสารที่ห้าม ใช้ในอาหาร  ผู้ฝ่าฝืน มีโทษให้ปรับไม่เกิน 20,000 บาท        
( ประกาศนี้  ชี้ช่องว่า  ใช้ บอแรกซ์ ใน อาหาร  มีโทษ ปรับ เพียง  ไม่เกิน 20,000 บาท )    ( น่าเสี่ยง )

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2544    กำหนดบอแรกซ์เป็นสินค้าควบคุมฉลากต้องมีข้อห้าม “บอแรกซ์อันตราย อาจทำให้ไตวาย ห้ามใช้ในอาหาร” ถ้าไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่การแสดงฉลาก ไม่ถูกต้อง ระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท  ถ้าเป็นการกระทำของ ผู้ผลิตหรือผู้สั่งหรือนำเข้า  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
( พระราชบัญญัติ นี้  ชี้ช่อง ให้ใช้ บอแรกซ์ ในอาหาร เช่นกัน )        

ทำไม  การออกประกาศ หรือ กฎหมาย กลายเป็น การชี้ช่อง      (  ก. เพราะ เชื่อว่า  เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่กวดขันให้เป็นไปตามกฎหมาย    ข. เพราะ เชื่อว่า เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่สามารถ สุ่มตรวจ จนพบ ผู้ทำผิด ได้    ค. เพราะ เชื่อว่า ผู้บริโภค ไม่รู้กฎหมาย และ ไม่รู้เรื่องอันตรายจากสารเคมี    ง. เพราะ คนเลว ทำเลวแน่ๆ ไม่ต้องมีเหตูผล หรือ เหตุจูงใจ ใดๆ )        


คำอธิบาย  สำหรับ ชุดทดสอบ บอแรกซ์  
ตัวอย่างอาหาร  
-  xxxxxx และผลิตภัณฑ์จาก xxxxxx  yyyy  zzzzz  aaaaa  bbbb  ccccc  dddddd  eeee
-  ffffggg  ffffhhhhh  ffffiiii  
-  jjjjjjj ที่ทำจาก kkk  llllllll  mmmmmm  nn  oooooo  ppppp  
-  qqqq  rrrrrrr    

( คำอธิบายนี้  ชี้ช่อง ว่า  มี ผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างน้อย 20 ชนิด  ที่ " น่าจะ " ใส่ บอแรกซ์ ลงไป )

โดย:  นักเคมี  [4 เม.ย. 2552 21:03]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้