สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

เรื่องการทำคู่มือการใช้สารเคมี ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม

เนื่องจากทำงานด้านความปลอดภัย แต่จะต้องจัดทำเรื่องคู่มือในการทำงานด้านสารเคมี แต่มีปัญหา คือไม่สามารถจะจำกัดความหมายได้ ใคร่ขอให้ช่วยแนะนำด้วย เพราะว่า หากทำมุมกว้าง ก็จะไม่ได้ครบประเด็น ขอให้ช่วยจัดทำให้ดูบ้าง เพื่อเป็นความรู้ต่อไป
ขอบคุณค่ะ

โดย:  นนนน   [12 ม.ค. 2551 16:11]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การจัดการความปลอดภัย
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขอแนะนำเบื้องต้นเท่าที่มีความรู้ตอนนี้ ดังนี้นะคะ

โดยปกติแล้วสารเคมีอันตราย (สารเคมีเกือบทุกชนิด) จะมีเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet, SDS) ประจำตัวสารแต่ละตัวอยู่แล้ว ซึ่งใน SDS นี้จะบอกถึงคุณสมบัติต่างๆ ของสารเคมี การใช้อย่างปลอดภัย การกำจัด การจัดเก็บ การปฐมพยาบาล มาตรการการป้องกันส่วนบุคคล และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งถ้าสามารถปฏิบัติได้ตามที่กำหนดไว้ใน SDS ก็จะสามารถใช้หรือทำงานกับสารเคมีได้อย่างปลอดภัยแล้วนะคะ

ดังนั้นดิฉันคิดว่าสิ่งหนึ่งที่น่าจะมีในคู่มือด้านการทำงานกับสารเคมีควรให้ผู้ที่ทำงานกับสารเคมีให้ความสำคัญและศึกษาทำความเข้าใจใน SDS ก่อนเป็นอย่างแรก ค่ะ

โดย:  ขวัญ ทีมงาน ChemTrack  [12 ม.ค. 2551 16:52]
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอขอบคุณมากค่ะ แต่เรื่องการทำข้อมูลตามที่บอกต้องทำนโยบาย แต่หากจะขอข้อมูล สารเคมี บ้างจะหาได้ที่ใด(ฉบับภาษาไทย)
หวังว่าจะได้ข้อมูล  1.น้ำมันจักร,สเปรย์กาว สำหรับ โต๊ะตัด,และน้ำยาทำความสะอาดของการฉีดผ้าเปื้อน

โดย:  นนนน  [14 ม.ค. 2551 16:49]
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ข้อมูลสารเคมี 1.น้ำมันจักร,สเปรย์กาว สำหรับ โต๊ะตัด,และน้ำยาทำความสะอาดของการฉีดผ้าเปื้อน

ต้องเรียกร้องจาก บ. ที่คุณซื้อครับ จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ฉะนั้นต้องให้ฝ่ายจัดซื้อขอมาจากผู้ขายนะครับ
ลองอ่าน http://www.chemtrack.org/News.asp?TID=6&FID=2

เพราะน้ำมันจักร หรือ กาว ฯลฯ แต่ละยี่ห้อจะมีส่วนผสมเป็นของตัวเอง ดังนั้น SDS ที่ได้จะไม่เหมือนกัน

โดย:  ปั๊ป ทีมงาน ChemTrack  [14 ม.ค. 2551 21:04]
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

ขอขอบคุณที่ให้ข้อมูล อีกเรื่องนะค่ะ หากเราจะจัดการเกี่ยวกับการจัดวางสารเคมีมีข้อแนะนำหน่อยได้เปล่าค่ะว่าควรจะดำเนินการอย่างไร และอบรมให้ผู้เกี่ยวข้องอย่างไรดี เพื่อให้เข้าใจ ในการปฏิบัติ และหากมี ภาษา อื่นด้วยจะติดต่อให้เขียนได้ที่ใด (พนง.เป็นพม่าเยอะ) ค่ะ

โดย:  นนน  [15 ม.ค. 2551 15:22]
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

การจัดเก็บสารเคมีลองอ่านดูจากเว็บไซต์นี้ได้ตามลิงค์นี้นะคะ http://www.chemtrack.org/News.asp?TID=6
แต่ถ้าจะให้ดีและเฉพาะเจาะจงกับสารเคมีตัวนั้นๆ ต้องดูใน SDS หัวข้อที่  7 ข้อปฏิบัติในการใช้และการเก็บรักษา (Handling and Storage)
ส่วนในเรื่องการอบรมขั้นแรก ดิฉันคิดว่าน่าจะอบรมให้พนักงานทุกคนเข้าใจความหมายของข้อความและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อยู่บนฉลากของสารเคมีแต่ละขวด
ส่วนเรื่องภาษานั้นเคยเห็นในหลายๆ เว็บไซต์โฆษณาไว้ว่าสามารถแปล SDS ไปเป็นภาษาต่างๆ ได้แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีภาษาพม่าหรือเปล่านะคะ ลองดูในลิงค์พวกนี้ดูนะคะ
http://www.ustext.com/msds.html
http://www.nexreg.com/en/msds_authoring/msds_translation.php
http://www.msdswriter.com/
หรือค้นเพิ่มเติมใน google ดูนะคะ ลองใช้คำว่า Safety data sheet translation



โดย:  ขวัญ ทีมงาน ChemTrack  [16 ม.ค. 2551 14:09]
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

การทำเรื่องคู่มือ   จะต้องทำรบกวน ขอข้อมูลSDS  ที่เป็นภาษาไทย  น้ำมันจักร
LIGHT LIQUID PARAFFIN ค่ะ และ ขอเรื่องสเปรย์กาวTouch n'Stick Spray Adhesive
เพื่อได้ข้อมูลในการอบรมต่อไป

โดย:  คนเดิม  [16 ม.ค. 2551 15:21]
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

มี CAS no. มั๊ยครับ

น้ำมันจักร หรือ กาว ฯลฯ แต่ละยี่ห้อจะมีส่วนผสมเป็นของตัวเอง ดังนั้น SDS ที่ได้จะไม่เหมือนกัน  ดังนั้น ขอจากผู้ขายครับ
http://www.chemtrack.org/News.asp?TID=6&FID=2

โดย:  ปั๊ป ทีมงาน ChemTrack  [17 ม.ค. 2551 11:57]
ข้อคิดเห็นที่ 8:8

ดูที่ MSDS ไม่มีค่ะ ขอรายละเอียดอีกว่าดูที่ใด สเปรย์กาว เขียน TOUCH n'stick Spray adhesive  4001159903 ใกล้จะรู้รายละเอียดหมดแล้ว
ขอขอบคุณล่วงหน้า

โดย:  คนเดิม  [17 ม.ค. 2551 18:48]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :9

ถ้าต้องการเตือนแบบง่ายๆ ไม่ต้องมีศัพท์แสงทางเทคนิคมากนัก น่าจะให้ความรู้ถึงอันตรายและวิธีป้องกันทั่วไป เช่นถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารระเหยหรือน้ำมันจากปิโตรเคมี แค่ให้รู้ว่า เป็นสารไวไฟ ควรทำอย่างไร ในแง่การเข้าสู่ร่างกายก็มี 3 ทาง คือปากจมูกและผิวหนัง ขอแนะนำว่า ให้สำรวจว่าเกี่ยวข้องอยู่กับสารชื่ออะไรบ้าง หา SDS อ่านบทความเบื้องต้นจาก"พิษภัยใกล้ตัว" จากเว็ปนี้  ให้พอจับความได้ แล้วจัดทำคำแนะนำที่เหมาะสม หาวิธีสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักและป้องกันได้

โดย:  รศ.สุชาตา ชินะจิตร  [18 ม.ค. 2551 08:55]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :10

การจัดทำคู่มือความปลอดภัยสำหรับพนักงาน ควรประกอบด้วย  ชนิดประเภททของสารเคมีท่ใช้ คุณสมบัติ อันตรายท่อาจเกิดขึ้นขณะปฎิบัติงาน กระบวนการผลิต การขนย้าย การเก็บรักษา และกฎข้อบังคับ  การป้องกันตนเอง และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ฯลฯ   อาจใช้ภาษาๆ ท่เข้าใจง่าย  ข้อมูลต่าง ๆ อาจต้องค้นคว้าจากหลายส่วน แต่ที่สำคัญ คือต้องทราบส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ก่อน

โดย:  นางแสงโฉม เกิดคล้าย  [18 ม.ค. 2551 11:36]
ข้อคิดเห็นที่ 9:11

ขอขอบคุณค่ะ ได้ความรู้มากจะพยายามทำหากพนง.ได้ความเข้าใจและมีประโยชน์ที่ดีต่อไป  (รายละเอียดผลิตภัณฑ์จะศึกษาต่อไป)

โดย:  คนเดิม  [19 ม.ค. 2551 11:16]
ข้อคิดเห็นที่ 10:12

เจอ MSDS ของสเปรย์กาว ที่เขียน TOUCH n'stick Spray adhesive  4001159903 แต่เป็นภาษาอังกฤษคะ (http://www.touch-n-seal.com/assets/pdf/touchnstick_msds.pdf) ตาม MSDS เขาจัดเป็นสารประเภท 2.1 แปลว่าเป็นก๊าซไวไฟ ส่วนผลกระทบจากการสัมผัสจะเป็นในเรื่องของการระคายเคืองค่ะ ลองอ่านดูคะ

โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [5 มี.ค. 2551 13:37]
ข้อคิดเห็นที่ 11:13

ต้องขอขอบคุณมากค่ะเพราะว่า จำเป็นต้องทำ แต่หากไม่ความรู้ ก็จะไม่สามารถให้ความปลอดภัยกับใครแม้แต่ตนที่มีหน้าที่
ทางคุณทำหน้าที่อะไรค่ะ ตอบให้ แล้วเสียเวลาในการทำหน้าที่หรือไม่ หากเสียก็ขอฝากว่า เป็นการทำบุญนะค่ะ อย่าว่ากัน..

โดย:  คนเดิม  [5 มี.ค. 2551 15:27]
ข้อคิดเห็นที่ 12:15

มทืมใทใมใทมใ

โดย:  ทอ  [3 ก.ค. 2555 19:58]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้