สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การใช้สารเคมี Glyoxal

รบกวนสอบถามเรื่องความปลอดภัยในการใช้สารเคมี Glyoxal ด้วยครับ
พอดีผมต้องการใช้กล่องลูกฟูก ที่ทำด้วยกระดาษซึ่งเคลือบสารเคมี Glyoxal ไม่ทราบว่าสารเคมีตัวนี้มีอันตรายในการใช้งานหรือไม่ และไม่ทราบว่านอกจาก MSDS จะหาข้อมูลความปลอดภัยในการใช้งานได้จากไหนครับ

โดย:  ผู้ผลิตเครื่องมืแพทย์   [5 มี.ค. 2551 10:07]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การจัดการความปลอดภัย  /  พิษวิทยา  /  เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

จากการดูจาก MSDS ในเว็บ chemtrack นี้ ระบุไว้ว่า Glyoxal เป็นอันตรายเมื่อสูดดม.  ระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง
http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst107-22-2.html

แต่ไม่แน่ใจว่าเมื่อนำมาเคลือบอยู่บนกระดาษแล้วจะมีคุณสมบัติแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ และถ้าจะพิจารณาถึงความปลอดภัยในการใช้งานน่าจะต้องพิจารณาว่า สาร glyoxal ที่เคลือบอยู่บนกระดาษนั้นมีโอกาสหลุด หรือแพร่กระจายออกมาได้หรือไม่ น่าจะลองสอบถามจากผู้ผลิต (ต้องแน่ใจว่าข้อมูลที่ได้ไม่เป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์)

MSDS เป็นข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ ซึ่งจะระบุสมบัติและวิธีการใช้สารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ อย่างปลอดภัย จะไม่มี MSDS สำหรับผลิตภัณฑ์ นะคะ ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ ทางบริษัทผู้ผลิตจะมีคู่มือ/วิธีใช้ อย่างปลอดภัย แทน

บังเอิญว่าค้นใน google แล้วเจอรายงานนี้ เป็นรายงานเกี่ยวกับการประเมินความอันตรายของสาร glyoxal  ถ้าสนใจลองเข้าไปอ่านดูนะคะ
http://www.inchem.org/documents/sids/sids/107222.pdf



โดย:  ขวัญ ทีมงาน ChemTrack  [5 มี.ค. 2551 13:55]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

Glyoxal เป็นสารที่มีอันตรายไม่รุนแรงมาก
อันตรายที่พบจากการทำงาน คืออาการแพ้ทาง
ผิวหนัง และเคยมีรายงานว่าการสูดละอองของ
มันทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ
อย่างไรก็ตามอัตราการแพ้ก็ค่อนข้างสูง เช่นบาง
การศึกษามีถึง 9/14 คน
HUMAN EXPOSURE STUDIES/ Of 14 workers who had contact with 40% glyoxal, 9 exhibited a contact dermatitis with localizations mainly on the lower arms and fingers. Patch tests with a 20% glyoxal solution produced a positive reaction in 7 of 9 workers.
[International Programme on Chemical Safety's Concise International Chemical Assessment Documents. Number 57: Glyoxal (2004). Available from http://www.inchem.org/pages/cicads.html as of March 29, 2006. ]**PEER REVIEWED**
ถ้ากินเข้าไปในขนาดสูงมาก จะมีพิษต่อไตเหมือนกัน

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์  [6 มี.ค. 2551 07:41]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

การเคลือบกระดาษ มักไม่ใช้ Glyoxal โดยตรง  แต่มักจะใช้ Fluid Dispersion ( เตรียมจาก Clay / Pigment ,  Starch ,  Urea ,  Glyoxal   ฯลฯ  ซึ่งจะทำปฏิกิริยากันก่อน จนไม่มี Glyoxal อิสระ เหลืออยู่ ) ในการเคลือบเพื่อให้มี Wet - Rub  Resistance  หรือ  Wet  Strength

ดังนั้น กล่องกระดาษที่ " เคลือบ Glyoxal "  จึงไม่ควรมี Glyoxal หลงเหลืออยู่

ถ้าอยากหา ข้อมูล รายละเอียด เพิ่มเติม  ( ภาษาอังกฤษ )  ใช้  Google  Search  ---- >  [ http://www.google.com/  ;  http://www.google.co.th ]  --- >  search  โดยใช้คำ  Glyoxal  และ  Paper Coating

โดย:  นักเคมี  [26 เม.ย. 2551 14:43]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้