สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

แผนฉุกเฉินกรณีสารเคมืรั่วไหลในสถานประกอบการจะทำอย่างไร

สารเคมีที่เราใช้เช่น Methanol  Alcohol, Isoprophyl  Alcohol
เราจะนำมาล้างชิ้นงาน เราผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์  จะทำแผนฉุกเฉินอย่างไรครับ  ขอบพระคุณมากครับ

โดย:  คุณพิทักษ์   [19 มี.ค. 2551 15:52]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การจัดการความปลอดภัย  /  การตอบโต้เหตุฉุกเฉิน  /  สารเคมีในสถานประกอบการและความปลอดภัยในการทำงาน
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขอเข้ามาแนะนำหนังสือค่ะ ชื่อ
"คู่มือแนะนำ การปฏิบัติงานฉุกเฉินเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุอันตราย"
ของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

สามารถ search หารายละเอียดจากกูเกิลได้นะคะ
อาจพอเป็นประโยชน์ค่ะ

โดย:  เอ๋ ทีมงาน ChemTrack  [22 มี.ค. 2551 14:21]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

ethanol มีรหัส UN no.1170 and UN Guide 127  เป็นรหัสไปสู่ข้อมูลเกี่ยวกับสารตัวนี้ว่ามีอันตรายอย่างไร และบอกวิธีการจัดการ เช่น เมื่อหก รั่วไหล และการปฐมพยาบาล ข้อมูลแบบนี้ค้นได้จากคู่มือการระงับอุบัติภัยจากวัตถุอันตราย จัดพิมพ์โดยกรมควบคุมมลพิษ จะนำข้อความใน guide 127 มาให้ดูเป็นตัวอย่างค่ะ ส่วนสารตัวอื่นควรค้นหาเพิ่มเติม แต่เชื่อว่า หลักการทั่วไปคงไม่ต่างกันมากนัก

การหกหรือรั่วไหล
- กำจัดแหล่งกำเนิดไฟทุกชนิด
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายเทหรือขนย้ายต้องต่อสายดิน
- ห้ามสัมผัสหรือเหยียบย่ำ
- ระงับการรั่วไหล ถ้าทำได้โดยไม่เสี่ยง
- ป้องกันการไหลลงท่อและแหล่งน้ำ ชั้นใต้ดิน ที่อับอากาศ
- ใช้โฟมฉีดดักจับไอระเหย
- ดูดซับสารที่หกรั่วไหลด้วยดิน ทราย แล้วเก็บในภาชนะเพื่อนำไปกำจัด
- ใช้อุปกรณ์สะอาดและไม่เกิดประกายไฟเก็บรวบรวมสารที่ถูกดูดซับ

ยังมีเรื่องชุดป้องกัน อัคคีภัย การอพยพ การปฐมพยาบาล ฯลฯ ควรทำความรู้จักกับคู่มือนี้ และนำมาใช้ประกอบการวางแผนร่วมกับผู้รู้ได้ค่ะ


โดย:  รศ.สุชาตา ชินะจิตร  [1 เม.ย. 2551 09:27]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้