สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

อันตรายจากการตกค้างของปูนขาวในผลิตภัณฑ์

ต้องการทราบว่ามีเกณฑ์กำหนดค่า (ปูนขาว) CaO ในผลิตภัณฑ์ว่าไม่ควรเกินเท่าไร และมีอันตรายต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง มีมาตรฐานไหนรองรับบ้าง

โดย:  kate   [8 พ.ค. 2551 14:32]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การจัดการความปลอดภัย  /  พิษวิทยา  /  สารเคมีในสถานประกอบการและความปลอดภัยในการทำงาน
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

ไม่ทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึง คือผลิตภัณฑ์ด้านใดเช่นวัสดุก่อสร้าง หรืออาหาร
โดยทั่วไปปูนขาวมีพิษไม่มากนัก พิษมักเกินกับคนงานที่ทำงานกับปูนขาว
ลักษณะพิษเป็นการระคายเคืองเฉพาะที่ ซึ่งบางครั้งอาจรุนแรงได้
เช่นเกิดอาการแพ้ กัดกร่อนผิวหนัง ทางเดินหายใจ เยื่อบุตา ทางเดินอาหาร
ถ้ากินเข้าไปโดยตรงอาจทำให้หลอดอาหารไหม้ และทะลุได้

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ กรมควบคุมโรค  [9 พ.ค. 2551 06:14]
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

ผลิตภัณฑ์หมายถึงน้ำตาลค่ะ ในขบวนการผลิตน้ำตาลต้องใช้ปูนขาวในการลดค่าสีลงถ้ามองว่ามีกาตกค้างของปูนขาวมีเกรณ์บอกไหมค่ะว่าไม่ควรเกินเท่าไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายและเป็นโรคอะไรได้บ้าง

โดย:  kate  [9 พ.ค. 2551 11:50]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

อยากทราบว่า อุณหภูมิมีผลต่อการเกิดปฏิกริยาระหว่างปูนขาว(CaO)กับกรดฟอสฟอริคอย่างไร(H3PO4) เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ

โดย:  chem  [9 พ.ค. 2551 15:07]
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

ถ้า ไม่มีการตกค้างของปูนขาวคำถามนี้คงจะจบไปเฉยๆ

อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย
เนื่องจากน้ำตาล

http://en.wikipedia.org/wiki/Sugar#Human_health        


เรื่องที่ควรรู้      
http://www.sweet-smarts.com/facts.php

โดย:  นักเคมี  [9 พ.ค. 2551 22:57]
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

ทวนคำถาม ก่อน    

อยากทราบว่า อุณหภูมิมีผลต่อการเกิดปฏิกริยาระหว่างปูนขาว(CaO)การเกิดปฏิกริยาระหว่างปูนขาว(CaO)กับกรดฟอสฟอริคอย่างไร(H3PO4) เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ
กับกรดฟอสฟอริคอย่างไร(H3PO4) เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ

ลองคิดดูว่า  จะตอบคำถามนี้ด้วยตนเอง ได้ไหม   ถ้ารู้ว่า
ปฏิกริยา ระหว่าง ปูนขาว(CaO) กับ กรดฟอสฟอริค (H3PO4)
เป็นปฏิกริยาคายความร้อน

อุณหภูมิมีผลต่อ   จุดสมดุลย์ ของ  การเกิดปฏิกริยา   ..............
อุณหภูมิมีผลต่อ  อัตราเร็ว ของ  การเกิดปฏิกริยา   ................

โดย:  นักเคมี  [9 พ.ค. 2551 23:08]
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

ถึง ผู้ถาม คำถามนี้ และ อีกหลายคำถาม ที่เกี่ยวข้องกัน    ( ดูออกนะ )

น้ำตาล    ปูนขาวที่ " คิดว่า "  มีปนอยู่ในน้ำตาล    ยาฆ่าแมลง    สารประกอบ กลุ่มฟีนอลที่ปนอยู่ในน้ำ และ ไม่รู้ว่า

มาจากอ้อย หรือเปล่า  และ  ไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องกับ ยาฆ่าแมลง หรือเปล่า    ฯลฯ        ทำให้คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง  ?  
และ การตั้งคำถามแบบ ???? ของคุณ  ทำให้ได้คำตอบแบบไหนบ้าง    คิดว่า ผู้ตอบ และ ผู้พยายามตอบ และ ผู้

พยายาม ..............    เข้าใจ คำถาม และ ปัญหา ของคุณ ไหม ?

โดย:  นักเคมี  [9 พ.ค. 2551 23:32]
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

ปัญหาที่ถามมีอยู่2ปัญหา
1. เรื่องของฟีนอลมาจากการเก็บตัวอย่างน้ำ condensate ของขบวนการต้มเคี่ยวไปวิเคราะห์ตามมาตรฐาน มอก ของน้ำบริโภคแล้วพบว่าค่าฟีนอลลิก ซับสแตนด์เกินค่ามาตรฐาน ทำให้ต้องหาสาเหตุว่าเกินจากปัญหาใดได้บ้างทำให้ค่ามันเกินไป จากที่หาพบว่าตัวนี้เป็นส่วนประกอบของพลาสติกและพวกยาฆ่าแมลงแต่ระบบน้ำ Condensate ไม่ได้ใช่พลาสติกแต่อาจจะมีพวกซีลยางในส่วนของวาวล์ เลยมุ่งประเด็นในส่วนของย่าฆ่าแมลงที่น่าจะมีผลิตจากสารประกอบ  กลุ่ม Phenol   พยายามอธิบายแล้วไม่ทราบว่าจะรู้เรื่องไหมค่ะ
2.ปัญหาที่สองเกิดจากการผลิตน้ำตาลทรายจะมีขบวนการลดค่าสีน้ำเชื่อมลงโดยใช้ปูนขาวทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ในระบบ Haccp จะมีการวิเคราะห์จุดอันตราย เรามีการวิเคราะห์เรื่องการตกค้างของปูนขาวในน้ำเชื่อมซึ่งต้องหามารตฐานมารองรับว่าเกรณ์ที่สามารถยอมรับให้ปนเปื้อนไปได้เท่าไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นถ้ามีปริมาณที่เกินเกรณ์มาตรฐาน

ขอโทษด้วยนะค่ะที่อธิบายให้ไม่ละเอียดพอ ทำให้ผู้ตอบ งง พยายามอธิบายแล้วนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยตอบเพราะอยากทราบจริงๆ

โดย:  kate  [10 พ.ค. 2551 11:11]
ข้อคิดเห็นที่ 7:8

คำตอบนี้  เป็นการตอบโดยรวม ของ คำถามนี้  ( คำถามที่  919 ) และ คำถามอื่น ที่เกี่ยวข้องกัน  ( เช่น  คำถามที่  921 ,  916 )    
ผู้ถาม และ ผู้สนใจ  ควรอ่านคำถาม และ คำตอบ ของคำถามเหล่านี้  ทั้งหมด  รวมทั้งส่วนที่ลิงค์ไปยัง เว็บไซต์ อื่นๆ  ซึ่งให้ความรู้และข้อมูลเรื่อง น้ำตาล  การผลิตน้ำตาล  อันตรายจากการบริโภคน้ำตาล    แล้วจึงกลับมาดูคำตอบนี้  


ปัญหา 1.  การตรวจพบ  สารกลุ่มฟีนอล ( Phenolic Substances ) ในตัวอย่างน้ำ condensate ของขบวนการต้มเคี่ยวน้ำตาล   ( วิเคราะห์ น้ำ แล้วพบว่า ค่า Phenolic Substances เกินค่าที่กำหนดใน มาตรฐาน มอก. ของ น้ำบริโภค )  
ตัวอย่าง คำอธิบาย ที่เป็นไปได้  { และคำวิจารณ์ หรือ คำแนะนำ }
ก.  เป็นผลการวิเคราะห์ลวง  ( False  Analysis  Result )  ที่เกิดจากสารเคมีหรือสารจากธรรมชาติ บางชนิด ที่ให้ผลวิเคราะห์ว่าเป็น Phenolic Substances    { คำอธิบายนี้  แม้เป็นจริง ก็คงไม่ช่วยแก้ปัญหา  ต้องดูคำอธิบายอื่นๆ ต่อ }    
ข.  Phenolic Substances ที่ตรวจพบ อาจเป็น
สารกลุ่มฟีนอล ที่มีอยู่ในอ้อยตามธรรมชาติ  
สารกลุ่มฟีนอล ที่มีในน้ำมันเกียร์และน้ำมันไฮดรอลิคที่ใช้ในเครื่องจักรหรือในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและหกรั่วไหลหรือตกค้างหรือปนเปื้อนอยู่ในอุปกรณ์การผลิต     { ต้อง ตรวจสอบ ว่า มีการใช้และการหกรั่วไหลหรือตกค้างหรือปนเปื้อน หรือไม่ }    
สารกลุ่มฟีนอล ที่เป็นผลจากการใช้ ยาฆ่าหญ้า ( Herbicides ) ในขั้นตอนก่อนการปลูก หรือ ก่อนการตัด หรือ จากการใช้ ยาฆ่าแมลง  ( Insecticides ) ก่อนการตัด    { ควร ตรวจสอบ ตรงๆ ว่า มี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง หรือ สารที่เกิดจากการสลายตัวของยาเหล่านี้ ปนอยู่ใน น้ำเชื่อมที่กำลังเคี่ยว  น้ำ condensate   น้ำตาลที่ผลิตได้  หรือไม่  ( ถึงแม้ว่า จะมีโอกาสไม่มากนัก  เพราะ ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง หรือ สารที่เกิดจากการสลายตัวของยาเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะไม่ใช่สารประกอบฟีนอล ) }    
ค.  ตามคำตอบของผู้ทรงคุณวุฒิ ในคำถามที่  916  ( สารประกอบฟีนอลระเหยออกมาร่วมกับไอน้ำ ในขณะต้มเคี่ยว )  { ถ้าเป็นจริง ก็ดี  เพราะจะได้ไม่มี สารประกอบฟีนอล เหลืออยู่ใน น้ำเชื่อมที่กำลังเคี่ยว  และ ใน น้ำตาลที่ผลิตได้ }  
   
{ คำแนะนำโดยรวม  :  
ไม่น่าจะต้องกังวล เรื่อง สารประกอบฟีนอล เพราะ อาจจะไม่มีเหลืออยู่ใน น้ำเชื่อมที่กำลังเคี่ยว  และ ใน น้ำตาลที่ผลิตได้
ถ้าไม่ใช้น้ำ Condensate เพื่อการบริโภค ก็ไม่ควรจะต้องวิตกอะไรเรื่องน้ำ  
แต่ ถ้าต้องการ นำ น้ำ Condensate กลับมาใช้ใหม่ในการผลิต  ( ในชีวิตจริง ใครๆ ก็ รีไซเคิลน้ำ กันทั้งนั้นแหละ )  ก็ยังพอจะมีทางเลือกที่ทำได้จริง  เช่น  นำ น้ำ Condensate นี้ มาผ่าน Activated Carbon  หรือ  Activated Charcoal  เพื่อกำจัด สารประกอบฟีนอล และ สารอื่นๆที่ปนอยู่  ก่อนนำไปใช้ใหม่ }

ปัญหา 2. “ การผลิตน้ำตาลทรายจะมีขบวนการลดค่าสีน้ำเชื่อมลงโดยใช้ปูนขาวทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ในระบบ HACCP จะมีการวิเคราะห์จุดอันตราย เรามีการวิเคราะห์เรื่องการตกค้างของปูนขาวในน้ำเชื่อม  ซึ่งต้องหามาตรฐานมารองรับว่า เกณฑ์ที่สามารถยอมรับให้ปนเปื้อนไปได้เท่าไรและอันตรายที่จะเกิดขึ้นถ้ามีปริมาณที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน “    ( คำถามเดิม  แต่ แก้คำที่ผิดให้นิดหน่อย และ เว้นวรรค ให้ชัดเจน )    

ปัญหาของคุณ น่าจะอยู่ที่ความเข้าใจเรื่อง   “ . . . ขบวนการลดค่าสีน้ำเชื่อมลงโดยใช้ปูนขาวทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  . . . . “  นี่แหละครับ  

การใช้ปูนขาวในการผลิตน้ำตาล  เป็นวิธี โบราณ มาก ก ก ก   ที่ได้ผล และค่าใช้จ่ายต่ำ  จึงยังมีการใช้จนถึงทุกวันนี้โดยมีการพัฒนาให้มีการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ร่วมด้วย    แต่มีคนส่วนน้อย ที่พยายามทำความเข้าใจกับรายละเอียดของวิธีนี้    ซึ่งควรจะเรียกว่า    
“ การลดหรือกำจัดสีของน้ำเชื่อม โดยใช้ปูนขาว  และ  การกำจัดปูนขาวส่วนที่เหลือ โดยใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ”  ผมขอลองวิเคราะห์หลักการของวิธีนี้ให้ดู ในฐานะนักเคมี

ปูนขาวที่เติมลงในน้ำเชื่อม จะ ทำปฏิกิริยา กับ สารที่มีสีและสารเจือปนอื่นๆ ( อาจทำให้ สีจางลง และหรือ เกิดตะกอนที่สามารถแยกออกได้  ฯลฯ )    
“ ปูนขาว “ ส่วนที่เหลือ หลังจาก ทำปฏิกิริยา จะอยู่ในสภาพสารละลาย แคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์ ซึ่งละลายในน้ำเชื่อม ได้ดีมาก และ ทำให้  น้ำเชื่อม  มีสภาพเป็นด่าง  ( เช่น อาจมีค่า pH ระหว่าง 12 ถึง 13 )    
การเติม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปริมาณที่พอดี จะช่วยกำจัด “ ปูนขาว “ ส่วนที่เหลือ โดยทำให้เกิด ตะกอนแคลเซี่ยมคาร์บอเนต       ( ซึ่งแยกออกได้ด้วยการกรอง )  
 
ถ้า  เติม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้อยเกินไป  จะทำให้มี  “ ปูนขาว “ เหลืออยู่  และ น้ำเชื่อม  จะมีสภาพเป็นด่าง  

ถ้า  เติม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากเกินไป  จะทำให้ แคลเซี่ยมคาร์บอเนต ( และ ตะกอนอื่นๆที่ละลายได้ เมื่อสภาพเป็นด่างลดลง ) ละลายกลับมาอยู่ในน้ำเชื่อม    
และ   ถ้าเติม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากจน น้ำเชื่อม มีสภาพเป็นกรด  และ ถ้า มีสารประกอบกลุ่มฟีนอล ปนอยู่ด้วยในน้ำเชื่อม  ( ตามข้อสงสัยใน ปัญหา 1 ) เกลือของสารประกอบกลุ่มฟีนอลบางชนิด ที่อาจอยู่ในสภาพสารละลายหรือตะกอน จะถูกเปลี่ยนเป็น สารประกอบกลุ่มฟีนอล และมีโอกาสระเหยออกมา ในขณะต้มเคี่ยวน้ำเชื่อม และปนอยู่ใน น้ำ condensate ได้ในที่สุด  


ดังนั้น  ในระบบ HACCP เมื่อ วิเคราะห์ เรื่อง โอกาสการตกค้างของ ปูนขาว ในน้ำเชื่อม และ น้ำตาล  
ควรมุ่งสนใจ ที่  
ปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ใช้  
ค่าความเป็นกรด-ด่าง หลังจากเติม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะทำให้แยกสิ่งเจือปน ออกได้มากที่สุด  
การล้างผลึกน้ำตาล  ( หรือ การตกผลึกซ้ำ )  
การวิเคราะห์ปริมาณสารเจือปนในน้ำตาล  
( ในกรณี น้ำตาลทรายขาว  ถ้าผ่านเกณฑ์มาตรฐานปัจจุบันได้  ก็ถือว่า ปลอดภัย สำหรับการบริโภค ได้ )  
( ในกรณี น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี  และ ไม่มีการใช้ปูนขาว  ก็ควรจะใช้เกณฑ์มาตรฐานปัจจุบันได้ )  
และถ้ามีข้อมูลสนับสนุน ถึง โอกาส การปนเปื้อน ในขั้นตอนใด อีก  ก็ควร หาวิธี ควบคุม-ป้องกัน เพิ่มด้วย


โดย:  นักเคมี  [10 พ.ค. 2551 23:12]
ข้อคิดเห็นที่ 8:9

ขอถามล่ะกัน น้ำตาลทรายมีค่าpHเท่าไร ใครก็ได้ช่วยตอบทีเถอะ ต้องส่งครูพรุ่งนี้แล้วอ่ะ ช่วยหน่อยน่ะ

โดย:  เด็กเรียน  [13 ธ.ค. 2552 11:33]
ข้อคิดเห็นที่ 9:10

ช่วยตอบคำถามข้างบนนี้ด้วยน่ะ ขอร้องล่ะ ต้องส่งครูพร่งนี้แล้ว ขอให้คนเข้ามาอ่านกันเยอะเยอะด้วยเถิด สาธุ


โดย:  เด็กเรียน  [13 ธ.ค. 2552 11:35]
ข้อคิดเห็นที่ 10:11

อยากทราบว่าสารที่เจือปนอยู่ในหินปูนจะมีผลต่อคุณภาพของหินปูนไหมคะถ้าจะเอามาทำปูนแดงและจะมีวิธีการตรวจสอบและกำจัดสารนั้นยังไง
ขอบคุณคะ

โดย:  ราส  [8 พ.ย. 2554 15:55]
ข้อคิดเห็นที่ 11:12

อยากทราบปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในกระบวนการผลิตน้ำตาล ช่วยด้วย):

โดย:  S  [16 เม.ย. 2557 10:58]
ข้อคิดเห็นที่ 12:13

อยากทราบปูนขาวที่เอามาปรุงดินได้จริงไหมคะพสกดินเสื่อมเขาแนะนำใส่ปูนขาว

โดย:  Soon  [20 ก.ย. 2563 18:34]
ข้อคิดเห็นที่ 13:14

น้ำตาลทรายมีค่าpHเท่าไร
น้ำตาลมีหลายประเภท เช่น ขาว หรือทรายแดง
ซึ่งในการผลิตแล้ว pHจะไม่คงที่ จะอยู่ในช่วง 4-8

โดย:  คนโรงงาน  [13 มี.ค. 2564 09:33]
ข้อคิดเห็นที่ 14:15

คนโบราณกินน้ำอ้อย ต่างจากคนปัจจุบันกินน้ำตาลทราย  นี้คืออันตรายที่คนปัจจุบันต้องเผชิญ ซึ่งคนโบราณไม่พบ และยังถือง่าน้ำอ้อยคือยา  ที่ต่างจากคนปัจจุบันที่บอกว่า น้ำตาลคือสารพิษ

โดย:  ชายคนนึง  [17 มี.ค. 2567 02:24]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้