สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

ต่อจากการแช่ดองสมุนไพร

จากคำถามครั้งก่อนที่อ่านเรื่องการสกัดสมุนไพรนั้น  ผมอยากทราบเรื่องความเข้มข้นของสารที่ได้ ช่วยเปรียบเทียบให้ทราบด้วย เพราะทราบมาว่าการใช้เมทานอลจะได้ปริมาณความเข้มข้นที่มากกว่าการใช้เอทานอล และรู้มาว่าเมทานอลมีราคาถูกกว่า ถ้าอย่างนั้นผู้ผลิตจะไม่หันไปใช้เมทานอลแทนอย่างนั้นหรือ โดยเขาอาจไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคก็เป็นได้  และอีกคำถามคืออยากทราบรายละเอียดมากกว่าใน MSDS เกี่ยวกับการสัมผัสทางผิวหนัง เพราะถ้าหากมีการใช้ในปริมาณที่น้อยๆ ~ 1 - 2 ml. / ครั้ง / วัน และไม่ได้ใช้ทุกวัน จะมีผลเป็นอันตรายหรือสะสมหรือไม่อย่างไร เนื่องจากข้อมูลใน MSDS ของเมทานอลเมื่อสัมผัสทางผิวหนังบอกว่าดูดซึมช้า  ในขณะที่ตัวเมทานอลเองมันก็มีการระเหยเร็วจึงไม่เข้าใจเกี่ยวกับอันตรายเมื่อถูกผิวหนัง และส่วนใหญ่ใน MSDS จะบอกถึงพิษเมื่อมีการสูดดมหรือกลืนกินเสียมากกว่า  ช่วยอธิบายให้ทราบด้วยเพราะไม่รู้จริงๆและไม่ได้อวดอ้างหรือลบหลู่  และนี่ถึอเป็นคำถามที่มีประโยชน์ต่อผู้ผลิตและเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค  ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้

โดย:  อยากรู้บ้าง   [16 พ.ค. 2551 11:58]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การจัดการความปลอดภัย  /  พิษวิทยา  /  เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

เรื่องการใช้เมทานอลหรือเอทานอลสกัดสมุนไพรนั้น อยู่ที่ความสามารถในการละลายของสาร 2 ชนิดนี้ อะไรละลายดีกว่ากัน ตอบไม่ได้ ต้องทดลองหรือค้นสิ่งที่อาจจะมีคนอื่นทำไว้แล้ว คำว่าสมุนไพรก็กว้างมาก เอาเป็นว่า ถ้าต้องการสารสกัดมาใช้โดยตรง เอทานอลจะปลอดภัยกว่า ผลต่อการสัมผัสผิวหนังระยะยาวคือ ทำให้เกิดการระคายเคือง เอทานอลใช้เป็นน้ำยาล้างแผลได้ แต่เมทานอลใช้ไม่ได้ พิษของสารทั้ง 2ชนิดเมื่อกลืนกิน มีความรุนแรงต่างกันมาก เมทานอลถึงขั้นตาบอด ใน MSDS พูดถึงพิษทางผิวหนังเหมือนกัน แต่พิษไม่เกิดแบบฉับพลัน เป็นอันตรายต่อผิวหนังหากสัมผัสบ่อยๆนานๆมากกว่า ถ้าต้องใช้กับคน ต้องหันไปใช้เอทานอล คงจำกันได้ว่าเคยมีผู้ผลิตผ้าเย็นโดยมีเมทานอลเป็นส่วนผสม ทำให้ผู้ใช้ตาบอดได้

โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [22 พ.ค. 2551 14:42]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

methanol สามารถดูดซึมทางผิวหนังได้พอสมควร
เหมือน solvent อื่นๆ นั่นคือสารใดที่สามารถละลายไขมัน
ได้ย่อมสามารถผ่านผิวหนังได้ทั้งนั้น
ถ้าสัมผัสไม่มากนัก ผลกระทบมักเกิดกับผิวหนังโดยตรง
เช่นมีการเสียไขมันปกคลุมผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคืองและแพ้

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ กรมควบคุมโรค  [23 พ.ค. 2551 08:05]
ข้อคิดเห็นที่ 1:3

คำชี้แจงสำหรับ การตอบคำถามที่  926            

ถ้า  ผมเป็น นักวิจัย ที่ต้องการสกัดสมุนไพร  ผมอาจเลือกใช้ เมทานอล ถ้าสมุนไพรที่สกัดได้ เข้มข้นมากกว่าการสกัดด้วย เอทานอล    เพราะ  ผมและทีมงานวิจัย  รู้ว่า จะแยก เมทานอล ออกจากสมุนไพรให้หมด ได้อย่างไร  และ รู้ว่า จะใช้ เมทานอล อย่างไร จึงจะปลอดภัย แก่ตนเองและผู้ร่วมงาน  

ถ้า  ผมเป็น ผู้ผลิต  ผมจะไม่เลือกใช้ เมทานอล แทน เอทานอล  - - -  ไม่เกี่ยวกับว่า คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคหรือไม่หรอก  - - -  แต่ ผมจะคำนึงถึงบริษัทของผมเอง    เพราะถ้ามี เมทานอล  ปนอยู่ใน ผลิตภัณฑ์ ยา อาหาร เครื่องสำอาง สบู่ แชมพู น้ำหอม ผ้าเย็น ฯลฯ ที่ผมผลิต  ( ซึ่ง ตรวจหา เมทานอล ได้ง่ายมาก )  ผมและบริษัทของผม  จะมีโอกาส แต่ ได้ กับ ได้  ( คือ ได้รับโทษ ทั้ง ทางกฎหมาย และ ทางสังคม )  

ถ้า  ผมเป็น ผู้ตอบคำถามในเว็บไซต์  ( อย่างที่กำลังทำอยู่นี้ )  ผมก็จะไม่  ตอบ - แนะนำ - ชี้นำ  ผู้อ่านทั่วไป  ( ซึ่งอาจไม่มีความรู้เพียงพอ )  ไปเลือกใช้  เมทานอล แทน เอทานอล  โดยปล่อยให้ ผู้อ่านเหล่านั้นและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่างๆ จากการใช้ เมทานอล

โดย:  นักเคมี  [24 พ.ค. 2551 17:30]
ข้อคิดเห็นที่ 2:4

Thanks for sharing. What a peluasre to read!

โดย:  Tangela  [4 มิ.ย. 2554 10:51]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้