สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

REACH มีคำย่อหลาย ๆ คำที่ไม่เข้าใจความหมาย เช่น HPV อยากทราบว่าจะหาข้อมูลได้จากที่ใด รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยนะคะ

EPA_HPV_90 :    EPA HPV 94 :
EU_HPV :              EU_PRIORITY :
ICCA HPV :            ICCA NEW :
OECD :



โดย:  ปิ่นแก้ว   [3 ก.ย. 2548 09:00:00]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด EU REACH  /  ฐานข้อมูล แหล่งสารสนเทศ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

แลกเปลี่ยนกันตามความเข้าใจของตัวเองนะค่ะ หากใครมีข้อมูลชัดเจนถูกต้องช่วยแลกเปลี่ยนด้วยนะค่ะ
คือในหลายประเทศเขาจะมีโครงการศึกษาข้อมูลของสารเคมีในประเทศกันมานานแล้ว ก่อนที่สหภาพยุโรปกำหนดระเบียบ REACH ค่ะ เกณฑ์อันหนึ่งที่ประเทศต่าง ๆ ใช้เป้นตัวกำหนดว่าจะศึกษาสารตัวใดก็คือ ปริมาณการผลิตหรือนำเข้า (HPV) สารใดมีปริมาณการผลิตหรือนำเข้ามาก ๆ ก็จะต้องศึกษาคุณสมบัติ โทษภัย กันก่อน ว่าอย่างนั้นค่ะ ดังนั้น จึงเห็นว่ามี HPV หลาย HPV รายละเอียดแต่ละตัวก็ประมาณนี้ค่ะ
EPA_HPV : เป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา ดำเนินการภายใต้ US HPV Chemical Challenge Program เริ่มในปี คศ. 1990 โดยใช้หลักเกณฑ์คือ สารที่มีปริมาณการผลิตหรือนำเข้าตั้งแต่ 1 ล้านปอนด์/ปีขึ้นไป ในปี 1990 มีการประกาศรายชื่อสารเคมีออกมาประมาณ 2,800 ตัว รายชื่ออันนี้คือ EPA_HPV_90 ต่อมาในปี 1994 EPA ประกาศรายชื่อสารเคมีเพิ่มเติมอีกประมาณ 500 ตัว อันนี้เป็น EPA_HPV_94 ค่ะ
EU_HPV : เป็นรายชื่อสารที่มีปริมาณการผลิตหรือนำเข้าในสหภาพยุโรปอย่างน้อย 1,000 ตัน ต่อปี ต่อผู้ผลิตหรือนำเข้าอย่างน้อย 1 ราย  ตามข้อกำหนดของระเบียบ REACH สารเคมีในกลุ่มนี้จะต้องดำเนินการจดทะเบียน เป็นกลุ่มแรก ๆ จึงต้องหาข้อมูลอันตรายต่าง ๆ ของสารในกลุ่มนี้โดยเร่งด่วน ทั้งนี้ จะเห็นว่ารายชื่อสารขึ้นกับปริมาณที่ผลิตหรือนำเข้าต่อปี โดยผู้ประกอบการอย่างน้อย 1 ราย ทำให้รายชื่อสารในกลุ่มนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้
EU_PRIORITY : เทียบได้กับโครงการศึกษาข้อมูลของประเทศอื่น ๆ เช่น โครงการ US HPV Chemical Challenge Program ของสหรัฐฯ ที่ทำก่อนจะมีการกำหนด REACH โดยสหภาพยุโรปเองก็มีโครงการลักษณะเดียวกันเหมือนกันคือศึกษาข้อมูลสารเคมีเร่งด่วนก่อน รายชื่อสารเคมีที่ต้องเร่งศึกษาก่อนก็คือ EU_PRIORITY ค่ะ
OECD : กลุ่มประเทศ OECD เองก็มีโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อศึกษาอันตรายของสารเคมีเช่นเดียวกัน โดยมีความริเริ่มศึกษาจากสารที่ประเทศสมาชิกรายงานว่ามีปริมาณการผลิตและนำเข้าสูง ๆ ก่อน ซึ่งตอนเริ่มโครงการมีประมาณ 4,100 ตัว (รายชื่อนี้= OECD) โดยคนที่ทำการศึกษาประเมินอันตรายของสารเหล่านี้ได้แก่ ICCA (International Council of Chemical Associations) ซึ่งรับไปศึกษาประมาณ 1,000 ตัว (รายชื่อตรงนี้ = ICCA_HPV)และ CEFIC รับไปอีกส่วนหนึ่ง

ประเด็นที่จะเกี่ยวข้องกับ REACH คือ ข้อมูลจากโครงการศึกษาเหล่านี้จะใช้เป็นข้อมูลในการจดทะเบียนสารตามระเบียบ REACH ได้หรือไม่ และอีกประเด็นหนึ่งคือ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาของ ICCA ว่ากันว่าเมื่อศึกษาเสร็จ ตามกำหนดคือสิ้นปี 2547 จะตกเป็นข้อมูลสาธารณะที่ผู้ประกอบการสามารถใช้ได้ฟรีค่ะ แต่ปัจจุบันความคืบหน้าในส่วนนี้มีไม่มากค่ะ

โดย:  วลัยพร  [3 ก.ย. 2548 10:21:00]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

คำอธิบายศัพท์และคำย่อ หาได้ที่ http://siweb.dss.go.th/reach/Glossary/show_list_Glossary.asp และ http://siweb.dss.go.th/reach/R_word/word_Show_search.asp

โดย:  SOS  [17 ต.ค. 2550 10:26]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้