Hydrogen sulfide for synthesis
MERCK Schuchardt
F+ T+
หมายเลข CAS:7783-06-4
หมายเลข UN:1053
กลุ่มการจัดเก็บ:2 A
ห้ามทิ้งลงสู่ระบบสุขาภิบาล ดิน หรือสิ่งแวดล้อม
====================
อันตราย / อาการ
อันตราย ไวไฟสูงมาก เป็นพิษมากเมื่อสูดดม เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำ
ข้อมูลสำหรับไฮโดรเจนซัลไฟด์ ขีดจำกัดในการได้กลิ่น 0.025-8 ppm เมื่อหายใจเข้าไปในปริมาณน้อยกว่า 100 ppm: เยื่อจมูกอักเสบ กลัวแสง ระคายเคืองต่อเยื่อเมือก ไอ ระคายเคืองเมื่อเข้าตา
ข้อมูลเสริม ปริมาณมากกว่า 500 ppm: ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ การเคลื่อนไหวผิดปกติ หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจผิดปกติ กระสับกระส่าย ชัก การสูดดม อาจก่อให้เกิด การบวมเนื้อในทางเดินหายใจ
ปริมาณมากกว่า 1000 ppm: หยุดหายใจเฉียบพลัน
ผลระยะยาว: ก่อให้เกิดอันตรายต่อ ปอด หัวใจ ตา
====================
อุปกรณ์ป้องกัน / ข้อควรปฏิบัติทั่วไป
GLASS GLOVE RESPIRATOR
 NO SMOKING  NO FIRE
เก็บภาชนะในที่อากาศระบายได้ดี เก็บห่างจากแหล่งติดไฟ ห้ามสูบบุหรี่ เมื่อถูกผิวหนัง ล้างทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก สวมชุดป้องกัน, ถุงมือที่เหมาะสม ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือรู้สึกไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ทันที พร้อมทั้งแสดงฉลากของสารเคมี ไม่ควรปล่อยสารลงสู่สิ่งแวดล้อม ศึกษาคำแนะนำเฉพาะจาก MSDS
====================
ข้อปฏิบัติกรณีหกรั่วไหล หรือเกิดเพลิงไหม้
ข้อควรระวังส่วนบุคคล ใส่เครื่องช่วยหายใจทันที ไม่ควรสัมผัสกับสาร การทำงานในห้องปิด ต้องแน่ใจว่ามีแหล่งอากาศบริสุทธิ์เพียงพอ
มาตรการปกป้องสิ่งแวดล้อม ป้องกันไม่ให้ไหลลงสู่ระบบสุขาภิบาล, ดิน หรือสิ่งแวดล้อม
วิธีทำความสะอาด/ดูดซับ ปิดการรั่วไหลของแก๊ส เคลื่อนย้ายถังไปยังที่โล่ง ซึ่งต้องแน่ใจว่าไม่ก่อให้เกิดอันตรายในระหว่างการเคลื่อนย้าย
สารดับไฟที่เหมาะสม คาร์บอนไดออกไซด์, ผงเคมีดับเพลิง
====================
การปฐมพยาบาล
FIRST AID
เมื่อสูดดม ให้รับอากาศบริสุทธิ์ ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ ให้ออกซิเจนถ้าจำเป็น นำส่งแพทย์ทันที
เมื่อถูกผิวหนัง ชะล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกทันที
เมื่อเข้าตา ชะล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก โดยลืมตากว้างในน้ำ นำส่ง / พบจักษุแพทย์
เมื่อกลืนกิน ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำปริมาณมาก กระตุ้นให้อาเจียนแล้วนำส่งแพทย์ทันที
ข้อมูลเสริม บุคลากรปฐมพยาบาล ต้องแน่ใจว่าป้องกันตัวเองดีพอ
====================
Copyright 1998-1999 Merck Ltd., Thailand
ลิขสิทธิ์คำแปลภาษาไทย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมโรงงานอุตสาหกรรม