COBALT(II) CHLORIDE, ANHYDROUS, BEADS, -10 MESH, 99.999%
ชื่อพ้อง:
  Synonyms * Cobalt chloride * Cobalt dichloride * Cobalt muriate * Cobaltous chloride * Cobaltous dichloride * Dichlorocobalt * Kobalt chlorid (German)
หมายเลข CAS : 7646-79-9
อันตราย (ตามระบบ UN)
อุปกรณ์ป้องกัน/ข้อควรปฏิบัติทั่วไป

T

N
เป็นพิษ.
เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม.
ข้อชี้บ่งสำหรับอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
     การสูดดมอาจทำให้เกิดมะเร็ง.  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน.  การสูดดม และการสัมผัสทางผิวหนัง อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้.  เป็นพิษอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ, อาจก่อให้เกิดผลเสียระยะยาวต่อสภาวะแวดล้อมในน้ำ.
     ก่อมะเร็ง  ประเภท 2
การควบคุมเชิงวิศวกรรม
     ใช้ในตู้ดูดควันสารเคมีเท่านั้น.  ฝักบัวนิรภัยและอ่างล้างตา.
สุขลักษณะทั่วไป
     ทำความสะอาดเสื้อผ้าที่เปื้อนก่อนนำมาใช้ใหม่.  ล้างให้สะอาดหลังการสัมผัส.  ทิ้งรองเท้าที่เปื้อน.
เครื่องป้องกันส่วนบุคคล
     การป้องกันทางเดินหายใจ:  เครื่องช่วยหายใจที่ผ่านการรับรองโดยรัฐในบริเวณที่ไม่มีการระบายอากาศและ/หรือการได้รับเหนือ TLV หรือ PEL
     การป้องกันมือ:  ถุงมือชนิดที่ทนสารเคมี.
     การป้องกันดวงตา:  แว่นตาแบบก๊อกเกิลส์ที่ป้องกันสารเคมี.
ข้อปฏิบัติการใช้สาร
     คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติที่ปลอดภัย:  อย่าหายใจเอาฝุ่นเข้าไป.  ระวังอย่าให้เข้าตา, โดนผิวหนัง, หรือเสื้อผ้า.  หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง.
การเก็บรักษา
     สภาวะสำหรับการเก็บ:  ปิดให้สนิท.
สิ่งที่ต้องมีเป็นพิเศษ:
     ใช้งานและเก็บภายใต้แก๊สเฉื่อย.  สารดูดความชื้น.

ข้อปฏิบัติกรณีหกรั่วไหลหรือเกิดเพลิงไหม้

การปฐมพยาบาล

ข้อควรปฏิบัติสำหรับบุคคลในกรณีที่หก หรือรั่วไหล
     อพยพคนออกจากบริเวณ.
วิธีป้องกันภัยของบุคคล
     สวมอุปกรณ์ช่วยหายใจแบบครบชุด, รองเท้าบูท และถุงมือยางแบบหนา.  สวมชุดปกคลุมมิดชิดแบบใช้แล้วทิ้งและทิ้งทำลายหลังจากใช้แล้ว.
วิธีการทำความสะอาดหลังการปนเปื้อน หรือรั่วไหล
     กวาด, เก็บไว้ในถุงและรอการกำจัด.  หลีกเลี่ยงการทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย.  ระบายอากาศในบริเวณนั้น และล้างตำแหน่งที่สารหกรั่วไหลหลังจากเก็บสารออกหมดแล้ว.
อุปกรณ์ผจญเพลิง
     เหมาะสม:  ใช้สารดับเพลิงที่เหมาะสมกับสภาวะรอบๆที่เกิดไฟ.  Carbon dioxide, ผงเคมีแห้ง หรือโฟมที่เหมาะสม.
ความเสี่ยงเฉพาะ
     อันตรายเฉพาะ:  ปล่อยควันพิษออกมาภายใต้สภาวะที่เกิดไฟ.
อุปกรณ์ป้องกันพิเศษสำหรับผู้ผจญเพลิง
     สวมเครื่องช่วยการหายใจแบบครบชุดและเสื้อผ้าที่ใช้ป้องกัน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับผิวหนังและดวงตา.
เมื่อสูดดมสาร
     ถ้าสูดดมเข้าไป, ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์.  ถ้าเริ่มหายใจลำบาก, ให้ตามแพทย์มา.
เมื่อสัมผัสสาร
     ในกรณีที่สัมผัสกับสาร, ให้ล้างผิวหนังทันทีด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก.
เมื่อสารเข้าตา
     ในกรณีที่เข้าตา, ให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.  ต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง.  ไปพบแพทย์.
เมื่อกลืนกิน
     เมื่อกลืนกิน, ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่.  ไปพบแพทย์.
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเมื่อรู้สึกไม่สบาย ให้ปรึกษาแพทย์โดยด่วน
(ถ้าเป็นไปได้ให้แสดงฉลากของสารด้วย)
Reference: Sigma-Aldrich Pte Ltd #08-01 Citilink Warehouse Singapore 118529 Singapore, Catalog #409332

โปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการนำข้อมูลไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของตน
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้แปลมิอาจรับผิดชอบได้

ลิขสิทธิ์คำแปลภาษาไทย ของจุฬาสงกรณ์มหาวิทยาลัย