NITROGEN, 99.998+%
ชื่อพ้อง:
  Synonyms * Nitrogen (ACGIH:OSHA) * Nitrogen gas
หมายเลข CAS : 7727-37-9
อันตราย (ตามระบบ UN)
อุปกรณ์ป้องกัน/ข้อควรปฏิบัติทั่วไป
ระดับอันตรายของ HMIS
     สุขภาพ:  0
     ความไวไฟ:  0
     ความไวต่อปฏิกิริยา:  0
ระดับอันตรายของ NFPA
     สุขภาพ:  0
     ความไวไฟ:  0
     ความไวต่อปฏิกิริยา:  0  สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นพิษ, ดูหัวข้อ 11.
ข้อมูลสำหรับสภาวะฉุกเฉิน
     ข้อควรระวัง:  ก๊าซแรงดันสูงที่ไม่ไวไฟ.
การควบคุมเชิงวิศวกรรม
     ต้องมีเครื่องระบายอากาศ.  ฝักบัวนิรภัยและอ่างล้างตา.
สุขลักษณะทั่วไป
     ล้างให้สะอาดหลังการสัมผัส.
เครื่องป้องกันส่วนบุคคล
     ทางการหายใจ:  เครื่องช่วยหายใจที่ผ่านการรับรองโดยรัฐในบริเวณที่ไม่มีการระบายอากาศและ/หรือการได้รับเหนือ TLV หรือ PEL
     มือ:  ถุงมือชนิดที่ทนสารเคมี.
     ตา:  แว่นตาแบบก๊อกเกิลส์ที่ป้องกันสารเคมี.
การปฏิบัติงาน
     เก็บและใช้ในที่อากาศถ่ายเทได้เพียงพอ.
ข้อปฏิบัติการใช้สาร
     ข้อปฏิบัติขณะใช้สาร:  อย่าหายใจเอาแก๊สเข้าไป.  ระวังอย่าให้เข้าตา, โดนผิวหนัง, หรือเสื้อผ้า.  หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง.
การเก็บรักษา
     เหมาะสม:  ปิดให้สนิท.  อุณหภูมิของท่อไม่ควรเกิน 125 องศาฟาเรนไฮซ์ (52 องศาเซลเซียส).
สิ่งที่ต้องมีเป็นพิเศษ:
     สารนี้บรรจุอยู่ภายใต้ความดัน.

ข้อปฏิบัติกรณีหกรั่วไหลหรือเกิดเพลิงไหม้

การปฐมพยาบาล

วิธีป้องกันภัยของบุคคล
     สวมอุปกรณ์ช่วยหายใจแบบครบชุด, รองเท้าบูท และถุงมือยางแบบหนา.
วิธีการทำความสะอาดหลังการปนเปื้อน หรือรั่วไหล
     ระบายอากาศในบริเวณนั้น และล้างตำแหน่งที่สารหกรั่วไหลหลังจากเก็บสารออกหมดแล้ว.
ข้อปฏิบัติกรณีที่หก หรือรั่วไหล
     อพยพคนออกจากบริเวณและให้อยู่เหนือลม.  ปิดรอยรั่วไหลถ้าทำได้โดยไม่เสี่ยง.
อุปกรณ์ผจญเพลิง
     เหมาะสม:  ใช้ละอองน้ำหรือหัวฉีดละอองเพื่อทำให้ถังแก๊สเย็น.  เคลื่อนย้ายถังแก๊สให้ห่างจากไฟถ้าไม่มีความเสี่ยง.
จุดวาบไฟ
     ไม่มีข้อมูล
อุณหภูมิที่ติดไฟได้เอง
     ไม่มีข้อมูล
ความไวไฟ
     ไม่มีข้อมูล
การผจญเพลิง
     อุปกรณ์ป้องกัน:  สวมเครื่องช่วยการหายใจแบบครบชุดและเสื้อผ้าที่ใช้ป้องกัน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับผิวหนังและดวงตา.
อันตรายจากการระเบิด
     ภาชนะอาจระเบิดเมื่อโดนไฟ.
กรณีที่ได้รับสารทางปาก
     เมื่อกลืนกิน, ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่.  ไปพบแพทย์.
กรณีที่ได้รับสารโดยทางสูดดม
     ถ้าสูดดมเข้าไป, ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์.  ถ้าไม่หายใจ ให้การช่วยหายใจ.  ถ้าหายใจลำบาก, ให้ออกซิเจน.
กรณีที่ได้รับสารทางผิวหนัง
     ในกรณีที่สัมผัสกับสาร, ให้ล้างผิวหนังทันทีด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก.
กรณีที่ได้รับสารทางตา
     ในกรณีที่เข้าตา, ให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.  ต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง.  ไปพบแพทย์.
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเมื่อรู้สึกไม่สบาย ให้ปรึกษาแพทย์โดยด่วน
(ถ้าเป็นไปได้ให้แสดงฉลากของสารด้วย)
Reference: Sigma-Aldrich, Catalog #295574

โปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการนำข้อมูลไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของตน
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้แปลมิอาจรับผิดชอบได้

ลิขสิทธิ์คำแปลภาษาไทย ของจุฬาสงกรณ์มหาวิทยาลัย