(+/-)-PROPYLENE OXIDE
ชื่อพ้อง:
  Synonyms * AD 6 (suspending agent) * Epoxypropane * 1,2-Epoxypropane * 1,2-Epoxypropane (ACGIH:OSHA) * 2,3-Epoxypropane * Ethylene oxide, methyl- * Methyl ethylene oxide * Methyloxacyclopropane * Methyl oxirane * NCI-C50099 * Oxirane, methyl- * Oxyde de propylene (French) * Propane, epoxy- * Propene oxide * Propylene epoxide * Propylene oxide * 1,2-Propylene oxide * Propylene oxide (DOT:OSHA)
หมายเลข CAS : 75-56-9
อันตราย (ตามระบบ GHS)
อุปกรณ์ป้องกัน/ข้อควรปฏิบัติทั่วไป
ของเหลวไวไฟสูงมาก / เป็นอันตรายเมื่อกินเข้าไป / ทำให้เสียชีวิตเมื่อกินเข้าไป / เป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลไหม้อย่างรุนแรงและดวงตาได้รับอันตรายอย่างรุนแรง / ดวงตาได้รับอันตรายอย่างรุนแรง / ผิวหนังเกิดอาการแพ้ / คาดว่าอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อพันธุกรรม / คาดว่าอาจทำให้เกิดมะเร็ง / คาดว่าอาจอันตรายต่อการปฏิสนธิหรือทารกในครรภ์ / อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ หรือ อาจทำให้เกิดอาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ / เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ
การควบคุมเชิงวิศวกรรม
     ฝักบัวนิรภัยและอ่างล้างตา.  ใช้เครื่องมือที่ไม่เกิดประกายไฟ.  ใช้ในตู้ดูดควันสารเคมีเท่านั้น.
สุขลักษณะทั่วไป
     ทำความสะอาดเสื้อผ้าที่เปื้อนก่อนนำมาใช้ใหม่.  ล้างให้สะอาดหลังการสัมผัส.
เครื่องป้องกันส่วนบุคคล
     การป้องกันทางเดินหายใจ:  เครื่องช่วยหายใจที่ผ่านการรับรองโดยรัฐ
     การป้องกันมือ:  ถุงมือชนิดที่ทนสารเคมี.
     การป้องกันดวงตา:  แว่นตาแบบก๊อกเกิลส์ที่ป้องกันสารเคมี.
ข้อปฏิบัติการใช้สาร
     คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติที่ปลอดภัย:  อย่าหายใจเอาไอระเหยเข้าไป.  หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดวงตา, ผิวหนัง และเสื้อผ้า.  หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง.
การเก็บรักษา
     สภาวะสำหรับการเก็บ:  ปิดภาชนะให้สนิท.  เก็บให้ห่างจากความร้อน, ประกายไฟ, และเปลวไฟ.
สิ่งที่ต้องมีเป็นพิเศษ:
     อาจทำให้เกิดความดัน.  เปิดอย่างระมัดระวัง.  ไวต่อความร้อน.  ทำให้เย็นถึง 0 องศาเซลเซียส ก่อนเปิด.

ข้อปฏิบัติกรณีหกรั่วไหลหรือเกิดเพลิงไหม้

การปฐมพยาบาล

ข้อควรปฏิบัติสำหรับบุคคลในกรณีที่หก หรือรั่วไหล
     อพยพคนออกจากบริเวณ.  ปิดแหล่งกำเนิดประกายไฟทุกแหล่ง.
วิธีป้องกันภัยของบุคคล
     สวมอุปกรณ์ช่วยหายใจแบบครบชุด, รองเท้าบูท และถุงมือยางแบบหนา.
วิธีการทำความสะอาดหลังการปนเปื้อน หรือรั่วไหล
     คลุมด้วยปูนขาวแห้ง, ทราย, หรือโซดาแอช.  เก็บในภาชนะที่ปิดโดยใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟและเคลื่อนย้ายออกสู่ที่โล่ง.  ระบายอากาศในบริเวณนั้น และล้างตำแหน่งที่สารหกรั่วไหลหลังจากเก็บสารออกหมดแล้ว.
อุปกรณ์ผจญเพลิง
     เหมาะสม:  Carbon dioxide, ผงเคมีแห้ง หรือโฟมที่เหมาะสม.
     ไม่เหมาะสม:  น้ำอาจมีประสิทธิผลในการทำให้เย็น, แต่อาจดับไฟไม่ได้.
ความเสี่ยงเฉพาะ
     อันตรายเฉพาะ:  ของเหลวไวไฟ.  ไอระเหยอาจเคลื่อนที่ไปในระยะทางที่ห่างไกลออกไปจากแหล่งกำเนิดประกายไฟและย้อนกลับมาติดไฟ.  ปล่อยควันพิษออกมาภายใต้สภาวะที่เกิดไฟ.
     อันตรายจากการระเบิด:  ไอระเหยอาจเคลื่อนที่ไปในระยะทางที่ห่างไกลออกไปจากแหล่งกำเนิดประกายไฟและย้อนกลับมาติดไฟ.  ภาชนะอาจระเบิดเมื่อโดนไฟ.
อุปกรณ์ป้องกันพิเศษสำหรับผู้ผจญเพลิง
     สวมเครื่องช่วยการหายใจแบบครบชุดและเสื้อผ้าที่ใช้ป้องกัน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับผิวหนังและดวงตา.
สภาวะของความไวไฟ
     ภายใต้สภาวะไฟไหม้, สารอาจสลายตัวไปเป็นสารผสมซึ่งไวไฟและ/หรือสามารถระเบิดได้ในอากาศ.
เมื่อสูดดมสาร
     ถ้าสูดดมเข้าไป, ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์.  ถ้าไม่หายใจ ให้การช่วยหายใจ.  ถ้าหายใจลำบาก, ให้ออกซิเจน.
เมื่อสัมผัสสาร
     ในกรณีที่ถูกผิวหนัง, ให้ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.  ถอดเสื้อและรองเท้าที่เปื้อนสาร.  ไปพบแพทย์.
เมื่อสารเข้าตา
     ในกรณีที่เข้าตา, ให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.  ต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง.  ไปพบแพทย์.
เมื่อกลืนกิน
     เมื่อกลืนกิน, ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่.  ไปพบแพทย์ทันที.
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเมื่อรู้สึกไม่สบาย ให้ปรึกษาแพทย์โดยด่วน
(ถ้าเป็นไปได้ให้แสดงฉลากของสารด้วย)
Reference: Sigma-Aldrich Pte Ltd #08-01 Citilink Warehouse Singapore 118529 Singapore, Catalog #56671

โปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการนำข้อมูลไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของตน
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้แปลมิอาจรับผิดชอบได้

ลิขสิทธิ์คำแปลภาษาไทย ของจุฬาสงกรณ์มหาวิทยาลัย