TRICHLOROETHYLENE, STANDARD FOR GC
ชื่อพ้อง:
  Synonyms * Acetylene trichloride * Algylen * Anamenth * Benzinol * Blacosolv * Blancosolv * Cecolene * Chlorilen * 1-Chloro-2,2-dichloroethylene * Chlorylen * Circosolv * Crawhaspol * Densinfluat * 1,1-Dichloro-2-chloroethylene * Dow-tri * Dukeron * Ethinyl trichloride * Ethylene trichloride * Fleck-flip * Flock FLIP * Fluate * Germalgene * Lanadin * Lethurin * Narcogen * Narkosoid * NCI-C04546 * Nialk * Perm-A-chlor * Petzinol * Philex * RCRA waste number U228 * Threthylen * Threthylene * Trethylene * Tri * Triad * Trial * Triasol * Trichlooretheen (Dutch) * Trichloorethyleen, tri (Dutch) * Trichloraethen (German) * Trichloraethylen, tri (German) * Trichloran * Trichloren * Trichlorethylene, tri (French) * Trichloroethene * Trichloroethylene (IUPAC) * 1,1,2-Trichloroethylene * 1,2,2-Trichloroethylene * Trichloroethylene (ACGIH:OSHA) * Tri-clene * Tricloretene (Italian) * Tricloroetilene (Italian) * Trielene * Trielin * Trielina (Italian) * Trieline * Trilen * Trilene * Trilene TE-141 * Triline
หมายเลข CAS : 79-01-6
อันตราย (ตามระบบ GHS)
อุปกรณ์ป้องกัน/ข้อควรปฏิบัติทั่วไป
เป็นพิษเมื่อกินเข้าไป / ระคายเคืองต่อผิวหนัง / ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง / คาดว่าอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อพันธุกรรม / อาจทำให้เกิดมะเร็ง / อาจทำอันตรายต่อการปฏิสนธิหรือทารกในครรภ์ / อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ หรือ อาจทำให้เกิดอาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ / ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะเป้าหมาย (ระบบประสาทส่วนกลาง) / อาจเป็นอันตรายเมื่อกินเข้าไปหรือหายใจเข้าสู่ร่างกาย / เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ / เป็นพิษต่อสัตว์น้ำเกิดขึ้นในระยะยาว
การควบคุมเชิงวิศวกรรม
     ใช้ในตู้ดูดควันสารเคมีเท่านั้น.  ฝักบัวนิรภัยและอ่างล้างตา.
สุขลักษณะทั่วไป
     ทำความสะอาดเสื้อผ้าที่เปื้อนก่อนนำมาใช้ใหม่.  ล้างให้สะอาดหลังการสัมผัส.
เครื่องป้องกันส่วนบุคคล
     การป้องกันทางเดินหายใจ:  เครื่องช่วยหายใจที่ผ่านการรับรองโดยรัฐในบริเวณที่ไม่มีการระบายอากาศและ/หรือการได้รับเหนือ TLV หรือ PEL
     การป้องกันมือ:  ถุงมือชนิดที่ทนสารเคมี.
     การป้องกันดวงตา:  แว่นตาแบบก๊อกเกิลส์ที่ป้องกันสารเคมี.
ข้อปฏิบัติการใช้สาร
     คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติที่ปลอดภัย:  อย่าหายใจเอาไอระเหยเข้าไป.  ระวังอย่าให้เข้าตา, โดนผิวหนัง, หรือเสื้อผ้า.  หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง.
การเก็บรักษา
     สภาวะสำหรับการเก็บ:  ปิดให้สนิท.  ใช้และเก็บภายใต้ไนโตรเจน.

.  เก็บในที่แห้งและเย็น.
สิ่งที่ต้องมีเป็นพิเศษ:
     ไวต่อแสง.  ใช้งานและเก็บภายใต้แก๊สเฉื่อย.

ข้อปฏิบัติกรณีหกรั่วไหลหรือเกิดเพลิงไหม้

การปฐมพยาบาล

ข้อควรปฏิบัติสำหรับบุคคลในกรณีที่หก หรือรั่วไหล
     อพยพคนออกจากบริเวณ.
วิธีป้องกันภัยของบุคคล
     สวมอุปกรณ์ช่วยหายใจแบบครบชุด, รองเท้าบูท และถุงมือยางแบบหนา.  สวมชุดปกคลุมมิดชิดแบบใช้แล้วทิ้งและทิ้งทำลายหลังจากใช้แล้ว.
วิธีการทำความสะอาดหลังการปนเปื้อน หรือรั่วไหล
     ให้ดูดซึมบนทรายหรือเวอร์มิคูไลต์และบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทสำหรับนำไปกำจัด.  ระบายอากาศในบริเวณนั้น และล้างตำแหน่งที่สารหกรั่วไหลหลังจากเก็บสารออกหมดแล้ว.
อุปกรณ์ผจญเพลิง
     เหมาะสม:  ละอองน้ำ.  Carbon dioxide, ผงเคมีแห้ง หรือโฟมที่เหมาะสม.
ความเสี่ยงเฉพาะ
     อันตรายเฉพาะ:  ปล่อยควันพิษออกมาภายใต้สภาวะที่เกิดไฟ.
อุปกรณ์ป้องกันพิเศษสำหรับผู้ผจญเพลิง
     สวมเครื่องช่วยการหายใจแบบครบชุดและเสื้อผ้าที่ใช้ป้องกัน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับผิวหนังและดวงตา.
เมื่อสูดดมสาร
     ถ้าสูดดมเข้าไป, ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์.  ถ้าเริ่มหายใจลำบาก, ให้ตามแพทย์มา.
เมื่อสัมผัสสาร
     ในกรณีที่สัมผัสกับสาร, ให้ล้างผิวหนังทันทีด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก.
เมื่อสารเข้าตา
     ในกรณีที่เข้าตา, ให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.  ต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง.  ไปพบแพทย์.
เมื่อกลืนกิน
     เมื่อกลืนกิน, ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่.  ไปพบแพทย์.
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเมื่อรู้สึกไม่สบาย ให้ปรึกษาแพทย์โดยด่วน
(ถ้าเป็นไปได้ให้แสดงฉลากของสารด้วย)
Reference: Sigma-Aldrich Pte Ltd #08-01 Citilink Warehouse Singapore 118529 Singapore, Catalog #02667

โปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการนำข้อมูลไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของตน
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้แปลมิอาจรับผิดชอบได้

ลิขสิทธิ์คำแปลภาษาไทย ของจุฬาสงกรณ์มหาวิทยาลัย