ETHYL ACRYLATE, 99.5+%, FCC
ชื่อพ้อง:
  Synonyms * Acrylate d'ethyle (French) * Acrylsaeureaethylester (German) * Aethylacrylat (German) * Akrylanem etylu (Polish) * Carboset 511 * Ethoxycarbonylethylene * Ethylacrylaat (Dutch) * Ethyl acrylate (ACGIH:OSHA) * Ethylakrylat (Czech) * Ethylester kyseliny akrylove (Czech) * Ethyl propenoate * Ethyl 2-propenoate * Etil acrilato (Italian) * Etilacrilatului (Romanian) * NCI-C50384 * 2-Propenoic acid, ethyl ester * RCRA waste number U113
หมายเลข CAS : 140-88-5
อันตราย (ตามระบบ GHS)
อุปกรณ์ป้องกัน/ข้อควรปฏิบัติทั่วไป
ของเหลวไวไฟสูง / เป็นอันตรายเมื่อกินเข้าไป / เป็นอันตรายเมื่อสัมผัสทางผิวหนัง / เป็นพิษเมื่อกินเข้าไป / เป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลไหม้อย่างรุนแรงและดวงตาได้รับอันตรายอย่างรุนแรง / ดวงตาได้รับอันตรายอย่างรุนแรง / ผิวหนังเกิดอาการแพ้ / คาดว่าอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อพันธุกรรม / คาดว่าอาจทำให้เกิดมะเร็ง / ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะเป้าหมาย (ระบบประสาท, เกี่ยวกับทางเดินหายใจ) / อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ หรือ อาจทำให้เกิดอาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ / เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ
การควบคุมเชิงวิศวกรรม
     ฝักบัวนิรภัยและอ่างล้างตา.  ใช้เครื่องมือที่ไม่เกิดประกายไฟ.  ต้องมีเครื่องระบายอากาศ.
สุขลักษณะทั่วไป
     ถอดและล้างเสื้อผ้าที่เปื้อนทันที.  ล้างให้สะอาดหลังการสัมผัส.
เครื่องป้องกันส่วนบุคคล
     การป้องกันทางเดินหายใจ:  เครื่องช่วยหายใจที่ผ่านการรับรองโดยรัฐ
     การป้องกันมือ:  ถุงมือชนิดที่ทนสารเคมี.
     การป้องกันดวงตา:  แว่นตาแบบก๊อกเกิลส์ที่ป้องกันสารเคมี.
ข้อปฏิบัติการใช้สาร
     คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติที่ปลอดภัย:  อย่าหายใจเอาไอระเหยเข้าไป.  ระวังอย่าให้เข้าตา, โดนผิวหนัง, หรือเสื้อผ้า.  หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง.
การเก็บรักษา
     สภาวะสำหรับการเก็บ:  ปิดให้สนิท.  เก็บให้ห่างจากความร้อน, ประกายไฟ, และเปลวไฟ.  เก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส

ข้อปฏิบัติกรณีหกรั่วไหลหรือเกิดเพลิงไหม้

การปฐมพยาบาล

ข้อควรปฏิบัติสำหรับบุคคลในกรณีที่หก หรือรั่วไหล
     อพยพคนออกจากบริเวณ.  ปิดแหล่งกำเนิดประกายไฟทุกแหล่ง.  ใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ.
วิธีป้องกันภัยของบุคคล
     สวมอุปกรณ์ช่วยหายใจแบบครบชุด, รองเท้าบูท และถุงมือยางแบบหนา.
วิธีการทำความสะอาดหลังการปนเปื้อน หรือรั่วไหล
     คลุมด้วยปูนขาวแห้ง, ทราย, หรือโซดาแอช.  เก็บในภาชนะที่ปิดโดยใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟและเคลื่อนย้ายออกสู่ที่โล่ง.  ระบายอากาศในบริเวณนั้น และล้างตำแหน่งที่สารหกรั่วไหลหลังจากเก็บสารออกหมดแล้ว.
อุปกรณ์ผจญเพลิง
     เหมาะสม:  Carbon dioxide, ผงเคมีแห้ง หรือโฟมที่เหมาะสม.
ความเสี่ยงเฉพาะ
     อันตรายเฉพาะ:  ของเหลวไวไฟ.  ปล่อยควันพิษออกมาภายใต้สภาวะที่เกิดไฟ.  ไอระเหยอาจเคลื่อนที่ไปในระยะทางที่ห่างไกลออกไปจากแหล่งกำเนิดประกายไฟและย้อนกลับมาติดไฟ.
     อันตรายจากการระเบิด:  ภาชนะอาจระเบิดเมื่อโดนไฟ.  สามารถเกิดสารผสมที่ระเบิดได้ในอากาศ.
อุปกรณ์ป้องกันพิเศษสำหรับผู้ผจญเพลิง
     สวมเครื่องช่วยการหายใจแบบครบชุดและเสื้อผ้าที่ใช้ป้องกัน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับผิวหนังและดวงตา.
เมื่อสูดดมสาร
     ถ้าสูดดมเข้าไป, ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์.  ถ้าไม่หายใจ ให้การช่วยหายใจ.  ถ้าหายใจลำบาก, ให้ออกซิเจน.
เมื่อสัมผัสสาร
     ในกรณีที่สัมผัสกับสาร, ให้ล้างผิวหนังทันทีด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก.
เมื่อสารเข้าตา
     ในกรณีที่สัมผัสกับสาร, ให้ล้างตาด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.
เมื่อกลืนกิน
     เมื่อกลืนกิน, ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่.  ไปพบแพทย์.
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเมื่อรู้สึกไม่สบาย ให้ปรึกษาแพทย์โดยด่วน
(ถ้าเป็นไปได้ให้แสดงฉลากของสารด้วย)
Reference: Sigma-Aldrich Pte Ltd #08-01 Citilink Warehouse Singapore 118529 Singapore, Catalog #W241806

โปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการนำข้อมูลไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของตน
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้แปลมิอาจรับผิดชอบได้

ลิขสิทธิ์คำแปลภาษาไทย ของจุฬาสงกรณ์มหาวิทยาลัย