PHOSPHINE, 99.9995+%, ELECTRONIC GRADE
ชื่อพ้อง:
  Synonyms * Fosforowodor (Polish) * Gas-Ex-B * Hydrogen phosphide * Phosphine (ACGIH:OSHA) * Phosphorus hydride * Phosphorus trihydride * Phosphorwasserstoff (German) * RCRA waste number P096
หมายเลข CAS : 7803-51-2
อันตราย (ตามระบบ GHS)
อุปกรณ์ป้องกัน/ข้อควรปฏิบัติทั่วไป
ก๊าซไวไฟสูงมาก / ทำให้เสียชีวิตเมื่อหายใจเข้าสู่ร่างกาย / ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะเป้าหมาย (ระบบประสาท, ระบบทางเดินหายใจ, ตับ, ทางเดินอาหาร, ระบบหัวใจหลอดเลือด)
การควบคุมเชิงวิศวกรรม
     ฝักบัวนิรภัยและอ่างล้างตา.  ใช้ในตู้ดูดควันสารเคมีเท่านั้น.
สุขลักษณะทั่วไป
     ล้างให้สะอาดหลังการสัมผัส.  ทำความสะอาดเสื้อผ้าที่เปื้อนก่อนนำมาใช้ใหม่.
เครื่องป้องกันส่วนบุคคล
     การป้องกันพิเศษ:  สวมเครื่องช่วยหายใจ ถุงมือป้องกันสารเคมี แว่นนิรภัย และชุดป้องกันอื่นที่ผ่านการรับรองโดยรัฐ
ข้อปฏิบัติการใช้สาร
     คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติที่ปลอดภัย:  อย่าหายใจเอาไอระเหยเข้าไป.  ระวังอย่าให้เข้าตา, โดนผิวหนัง, หรือเสื้อผ้า.  หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง.
การเก็บรักษา
     สภาวะสำหรับการเก็บ:  ปิดให้สนิท.

ข้อปฏิบัติกรณีหกรั่วไหลหรือเกิดเพลิงไหม้

การปฐมพยาบาล

ข้อควรปฏิบัติสำหรับบุคคลในกรณีที่หก หรือรั่วไหล
     อพยพคนออกจากบริเวณและให้อยู่เหนือลม.  ปิดแหล่งกำเนิดประกายไฟทุกแหล่ง.  ปิดรอยรั่วไหลถ้าทำได้โดยไม่เสี่ยง.
วิธีป้องกันภัยของบุคคล
     สวมอุปกรณ์ช่วยหายใจแบบครบชุด, รองเท้าบูท และถุงมือยางแบบหนา.
วิธีการทำความสะอาดหลังการปนเปื้อน หรือรั่วไหล
     ระบายอากาศในบริเวณนั้น และล้างตำแหน่งที่สารหกรั่วไหลหลังจากเก็บสารออกหมดแล้ว.
อุปกรณ์ผจญเพลิง
     เหมาะสม:  ละอองน้ำ.  Carbon dioxide, ผงเคมีแห้ง หรือโฟมที่เหมาะสม.
ความเสี่ยงเฉพาะ
     อันตรายเฉพาะ:  ไอระเหยอาจเคลื่อนที่ไปในระยะทางที่ห่างไกลออกไปจากแหล่งกำเนิดประกายไฟและย้อนกลับมาติดไฟ.  วัสดุติดไฟได้เองในบรรยากาศ.  ปล่อยควันพิษออกมาภายใต้สภาวะที่เกิดไฟ.
     อันตรายจากการระเบิด:  ไอระเหยอาจเคลื่อนที่ไปในระยะทางที่ห่างไกลออกไปจากแหล่งกำเนิดประกายไฟและย้อนกลับมาติดไฟ.  ภาชนะอาจระเบิดเมื่อโดนไฟ.
อุปกรณ์ป้องกันพิเศษสำหรับผู้ผจญเพลิง
     สวมเครื่องช่วยการหายใจแบบครบชุดและเสื้อผ้าที่ใช้ป้องกัน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับผิวหนังและดวงตา.
เมื่อสูดดมสาร
     ถ้าสูดดมเข้าไป, ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์.  ถ้าไม่หายใจ ให้การช่วยหายใจ.  ถ้าหายใจลำบาก, ให้ออกซิเจน.
เมื่อสารเข้าตา
     ต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง.
เมื่อกลืนกิน
     เมื่อกลืนกิน, ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่.  ไปพบแพทย์ทันที.
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเมื่อรู้สึกไม่สบาย ให้ปรึกษาแพทย์โดยด่วน
(ถ้าเป็นไปได้ให้แสดงฉลากของสารด้วย)
Reference: Sigma-Aldrich Pte Ltd #08-01 Citilink Warehouse Singapore 118529, Catalog #295647

โปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการนำข้อมูลไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของตน
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้แปลมิอาจรับผิดชอบได้

ลิขสิทธิ์คำแปลภาษาไทย ของจุฬาสงกรณ์มหาวิทยาลัย