สนับสนุนโดย
สกว.
HSM
ผังเว็บไซต์
|
ผู้จัดทำ
หน้าแรก
ค้นหา
ข้อมูลทั้งหมดใน chemtrack
สารเคมี / ผลิตภัณฑ์ / SDS / REACH
ข่าว / บทความ / ถาม-ตอบ
นานาสาระ
บอกข่าว เล่าความ
สารเคมีที่เป็นข่าวระดับโลก
เรียนรู้จากข่าว
เคมีทรรศนะเชิงนโยบาย
สาระเคมีภัณฑ์
พิษภัยใกล้ตัว
นาโนเทคโนโลยี และความปลอดภัย
QSAR
สารเคมีในอุตสาหกรรม
กฎหมาย
บัญชีวัตถุอันตราย
ยาเสพติด
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ยุทธภัณฑ์
สารอันตราย (แรงงาน)
ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารอันตราย (แรงงาน)
PICs (อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ)
POPs (อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ)
Basel (อนุสัญญาบาเซล)
Montreal (พิธีสารมอนทรีออล)
ระเบียบ REACH
แผน / นโยบายด้านการจัดการสารเคมี
เอกสารเผยแพร่
เอกสารทั่วไป
เอกสารการประชุมสัมมนา
จดหมายข่าว
ข้อมูลสถิติ
สถิตินำเข้าเคมีภัณฑ์อันตราย
สถิตินำเข้าสารกลุ่มที่น่าสนใจ
สถิตินำเข้าสารเคมีควบคุมตามข้อตกลงสากล
สถิตินำเข้าของเสียควบคุมตามอนุสัญญาบาเซล
สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี
แผนที่แสดงการกระจายสารเคมีในประเทศไทย
GHS-SDS
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
GHS
SDS
ศัพท์น่ารู้
ชนิดวัตถุอันตราย
REACH คืออะไร
CAS Number
EC Number
พิกัดอัตราศุลกากร
UN Class
UN Number
UN Guide
SDS & MSDS
GHS
QSARs
คำย่อเกี่ยวกับค่าเฝ้าระวังในการสัมผัสสาร
ถาม-ตอบ
กระดานถาม-ตอบ
คำถามที่พบบ่อย
บริการ
จัดทำ SDS
รายการอบรมและสัมมนา
In-house Training Courses
สิ่งพิมพ์จัดจำหน่าย
นาโนเทคโนโลยีและความปลอดภัย
การเสวนาเรื่อง สถานภาพองค์ความรู้เรื่องนาโนเทคโนโลยีและความปลอดภัย
สถานที่ประชุม
:
ห้องประชุม 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่ประชุม:
7 สิงหาคม 2550 เวลา 9.00 น. - 12.00น.
ดาวน์โหลด:
Nano Safety
นาโนเทคโนโลยีและความปลอดภัย
การเสวนาเรื่อง สถานภาพองค์ความรู้เรื่องนาโนเทคโนโลยีและความปลอดภัย
สถานที่ประชุม ห้องประชุม 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่ประชุม 7 สิงหาคม 2550 เวลา 9.00 น. - 12.00 น.
เมื่อวันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โครงการฐานการจัดการความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้จัดการเสวนาวิชาการ โดยมีการนำเสนอผลการศึกษา 2 เรื่องคือ
1. สถานภาพองค์ความรู้เรื่องนาโนเทคโนโลยี
โดย ดร.เลอสรร ธนสุกาญจน์ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ผลการศึกษาการดำเนินงานด้าน Nanosafety
โดย ดร.สุพิณ แสงสุข และ ดร.ณัฏฐิตา ชวนเกริกกุล จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ
การเสวนาเริ่มต้นด้วยการอธิบายลักษณะของวัสดุนาโน รวมทั้งการตระหนักถึงความปลอดภัยของวัสดุเหล่านี้ หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้าน Nanosafety ของต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รวมทั้งประเทศญี่ปุ่นและจีน ซึ่งขณะนี้องค์กรระดับโลกก็ให้ความสนใจเช่นกัน เช่นองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization - ISO) และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD) ต่อจากนั้นมีการบรรยายโดยสรุปถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยี ที่มีวางขายในท้องตลาดแล้ว ซึ่งพบว่ามีจำนวนมากกว่า 500 รายการ รวมถึงการวิเคราะห์จำนวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยีและความปลอดภัยในฐานข้อมูลสากล ซึ่งพบว่ามีน้อยมาก เมื่อเทียบกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีโดยรวม และมีการยกตัวอย่างงานวิจัยที่ตรวจพบความเป็นพิษของวัสดุนาโนชนิดต่างๆด้วย
หลังจากที่เปิดให้มีการอภิปราย ได้ทราบข้อมูลจากตัวแทนของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ว่าขณะนี้ทางศูนย์ฯ กำลังมีแผนการดำเนินงานทางด้านความปลอดภัยของนาโนเทคโนโลยี รวมทั้งได้นำเสนอข้อมูลว่าประเทศไทยโดยความร่วมมือของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีการส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร ของ ISO TC 229 ซึ่งดูแลเกี่ยวกับเรื่องของนาโนเทคโนโลยี สำหรับงานที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติจะทำในระยะแรก คือการให้บริการทดสอบสินค้า เนื่องจากขณะนี้มีโฆษณาเกินจริงเป็นจำนวนมาก
ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในช่วงแรกนี้ ยังไม่มีการพิจารณาเป็นพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยี แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเฝ้าระวังหลังจากที่สินค้าออกสู่ท้องตลาดแล้ว และเมื่อมีการร้องเรียนจากผู้บริโภค
© สงวนลิขสิทธิ์
หากมีข้อสงสัย หรือคำแนะนำ โปรดแจ้งมาที่
chemtrack@gmail.com
จำนวนผู้เข้าชม
43478043
ตั้งแต่ 17 กรกฎาคม 2546