สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

1,3-บิวทาไดอีน (1,3-Butadiene)

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
บิวทาไดอีนตัวนี้ได้มาจากน้ำมันปิโตรเลียม แต่ละปีมีการผลิตสารตัวนี้ปริมาณมาก ร้อยละ 75 ใช้ทำยางสังเคราะห์ ที่เราใช้กับรถยนต์นี่แหละ อีกส่วนหนึ่งเอาไปทำพลาสติก เช่นพวกอะคริลิก บิวทาไดอีนเป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นน้ำมันจางๆ เวลารั่วจะระเหยง่าย และสลายได้เร็วในอากาศและแสงแดด ในอากาศที่ร้อนและแดดจัด ครึ่งหนึ่งของปริมาณที่รั่วจะสลายได้ภายใน 2 ชั่วโมง แต่ถ้าแดดไม่จัด อาจใช้เวลาถึง 2-3 วัน ความที่มันระเหยง่าย จึงไม่น่าจะตกค้างในน้ำหรือในดิน ยิ่งกว่านั้นยังมีจุลชีพช่วยย่อยสลายได้อีก จึงไม่น่าจะสะสมในสัตว์น้ำได้มากนัก คนงานที่ได้รับสารนี้ทีละน้อย เป็นเวลานานอาจมีอันตรายต่อหัวใจและปอด พิษเฉียบพลันเมื่อกลืนกินเข้าไป เป็นอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สายตาพร่ามัว คลื่นไส้ เพลีย ชีพจรช้าลง ความดันลด และถึงขั้นหมดสติได้ ผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับสารนี้ก็คือคนงานในโรงงานผลิตและใช้สารนี้

หมายเหตุ

Butadiene

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Butadiene
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น