สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

แอมโมเนีย

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
หลายครั้งที่เราได้ยินข่าวว่ามีก๊าซแอมโมเนียรั่วจากเครื่องทำความเย็น ตู้เย็น ทำให้ผู้คนต้องอุดจมูกจึงหนีรอดออกมาได้ เราจึงน่าจะมาทำความรู้จักกันไว้ว่า มันคืออะไร ? และอาจอยู่ที่ไหนได้บ้าง ? เผื่อว่าสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราอาจมีแอมโมเนียผสมอยู่ก็ได้

“แอมโมเนีย” มีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก เราอาจจะเคยได้กลิ่นนี้ก็ได้ ที่เราเรียกว่า “เยี่ยวอูฐ” สำหรับดมเวลาเป็นลม แต่ถ้าเป็นก๊าซแอมโมเนียล้วนจะฉุนจนสำลัก บางทีก็ใช้ในลักษณะของสารละลาย เพราะสามารถละลายน้ำได้ดีมาก สารทำความสะอาดในบ้านเรือนอาจเป็นพวกแอมโมเนียผสมแอลกอฮอล เช่น น้ำยาล้างกระจก สำหรับก๊าซจะเป็นสารนำความเย็นบรรจุในแผงท่อโลหะของตู้เย็น หรือเครื่องทำความเย็นของโรงงาน

นอกจากนั้นยังใช้ในการผลิตปุ๋ย ซึ่งอยู่ในรูปของปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรต ใช้ในการผลิตพลาสติกประเภทเส้นใยไนล่อนที่ทำจากคาโปรแลคแทมหรือไฮโดรไซยาเนต เม็ดพลาสติกที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ก็มีการใช้แอมโมเนียเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมมีการใช้แอมโมเนียในการล้างฤทธิ์กรดของน้ำมันดิบ และใช้ป้องกันการกัดกร่อนของโลหะ ในการเก็บและขนส่งน้ำยางดิบที่กรีดจากต้นยาง ก็เติมแอมโมเนียลงไปเพื่อไม่ให้น้ำยางแข็งตัว เป็นต้น

จะเห็นได้ว่ามีการใช้แอมโมเนียอย่างกว้างขวางมาก ตัวสารแอมโมเนียเป็นด่างจึงมีฤทธิ์กัดกร่อนแบบด่างอื่น ๆ เช่นโซดาไฟ ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา อาจทำให้ตาบอดได้ ก๊าซแอมโมเนียบรรจุในถังอัดก๊าซ เวลาลำเลียงขนส่งการสูดเข้าไปแรง ๆ จะทำให้สำลักหายใจไม่ออก เพราะเกิดการบวมน้ำของทางเดินหายใจ มีอาการคลื่นไส้อาเจียร ปวดท้องรุนแรง เจ็บหน้าอก ชักและถึงตายได้ ถ้าสูดเข้าไปไม่มากนัก อาจจะเป็นแค่ปอดบวม เยื่อจมูกและตาอักเสบ เพราะละลายน้ำได้ดีและเกิดความร้อนด้วย สำหรับแอมโมเนียเหลวถ้าถูกผิวหนัง จะกัดผิวหนังด้วยความเย็นจัด

ในฐานะประชาชนทั่วไปถ้าจะมีโอกาสประสบอุบัติเหตุจากก๊าซรั่ว ซึ่งเกิดจากการรั่วจากเครื่องทำความเย็น หรือถังก๊าซรั่วระหว่างขนส่ง สำหรับคนที่ทำงานในกิจการที่เกี่ยวข้องเช่นในอุตสาหกรรมที่กล่าวข้างต้น ก็จะมีโอกาสมากหน่อย จึงควรรู้วิธีป้องกันและแก้ไขดังนี้

ปกติคนที่เกี่ยวข้องโดยตรงต้องรู้ว่ากำลังใช้ก๊าซนี้อยู่ก็จะมีอุปกรณ์ป้องกัน เก็บถังก๊าซไว้ในที่อากาศระบายได้ดี ห่างจากแหล่งติดไฟ ห้ามสูบบุหรี่ เมื่อได้กลิ่นเพียงเล็กน้อย ต้องหาทางป้องกันตัวเองก่อนเข้าไปปิดการรั่วไหล และเคลื่อนย้ายไปยังที่โล่ง ในกรณีไฟไหม้ ห้ามใช้น้ำ ถ้ามีผู้ป่วยต้องช่วยให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์เร็วที่สุด ถ้าจำเป็นให้ใช้การช่วยหายใจแบบปากต่อปาก หรือใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ ถ้าถูกผิวหนังควรชะล้างด้วยนํ้าปริมาณมาก ๆ ทาด้วยพอลลีเอธีลีน ไกลคอล 400 และส่งแพทย์...

หมายเหตุ

Ammonia

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Ammonia
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

"แอมโมเนีย มีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ฉุนรุนแรงมาก" แก้เป็น มีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก

โดย:  Sirakarnt  [8 ม.ค. 2551 20:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

แล้วแอมโมเนียที่ผสมอยู่ในครีมเปลี่ยนสีผมล่ะคะ  มีอันตรายหรือไม่  เพราะเวลาทำสีผมก็รู้สึกกลิ่นฉุนมาก บางครั้งลูกค้าบ่นว่าแสบตา  ยิ่งถ้าทำหลายศรีษะพร้อมกัน ก็รู้สึกคลื่นไส้ค่ะ

โดย:  ช่างผม  [28 พ.ค. 2551 18:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ขอบคุณ คห. 1 ค่ะ แก้เรียบร้อยแล้วคะ

ตอบคุณช่างผม คห.2 อาการที่คุณเล่ามานั้นเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นจากการสัมผัสหรือสูดดมแอมโมเนียคะ ปัจจุบันมีครีมเปลี่ยนสีผมที่ไม่มีแอมโมเนียผสมให้ใช้แล้ว น่าจะเปลี่ยนมาใช้แบบนี้นะคะ

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [28 พ.ค. 2551 20:40](แก้ไขล่าสุด: 28 พ.ค. 2551 20:40)
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

ผมเคยซื้อสารเคมีชนิดนี้ในราคาเมื่อปีที่แล้ว 1 ลิตร ราคา 120 บาท แต่ตอนนี้เพิ่มเป็น2เท่า 250 บาท บางร้าน ราคา 270 บาท ถามว่าทำไมแพงจังละคับ ใครเป็นคนเพิ่มราคากัน.

โดย:  เดี่ยว  [24 ก.ค. 2551 13:37]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

ใครมีวิธีกำจัด แอมโมเนีย บ้างครับ  ผู้รู้บอกทีครับ

โดย:  อุ  [3 ธ.ค. 2551 17:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

อยากทราบว่าแอมโมเนียมีสารอะไร  ถึงสามารถกำจัดคราบเปื้อนในเสื้อผ้าได้



โดย:  ลล  [22 ธ.ค. 2551 19:31]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

อยากให้  ร.ศ.สุชาตา ชินะจิตร  ช่วยตอบข้อข้องใจด้วยค่ะ


โดย:  ลล  [22 ธ.ค. 2551 19:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:8

ซื้อที่ไหน

โดย:  som  [27 เม.ย. 2552 11:40]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:10

แอมโมเนีย ต่าง กับไฮโดรเยนอย่างไร  ที่มีผสมอยู่ในครีมย้อมสีผม ช่วยตอบข้อข้องใจด้วยนะคะ

โดย:  Three  [25 มิ.ย. 2552 15:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:11

แอมโมเนียสามารถละลายในน้ำได้ ดังนั้นเมื่อมีการสัมผัสแอมโมเนียที่มีความเข้มข้นสูงๆ เราสามารถใช้น้ำสะอาดจำนวนมากล้างออกเพื่อให้อาการปวดแสบปวดร้อนทุเลาลงได้ ส่วนวิธีการกำจัดแบบง่ายก็คือการเจือจางในน้ำจำนวนมากๆ จนคิดว่ากลิ่นไม่ฉุนไม่เป็นอันตรายแล้วจึงค่อยนำไปทิ้งได้ครับ

โดย:  poppy  [27 ก.ค. 2552 17:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:12

สอบถามหน่อยค่ะว่าถ้าก๊าซแอมโมเนียเกิดรั่ว และปนเปื้อนในอาหาร โดยในอาหารมีกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย เล็กน้อยแบบพอได้กลิ่น สามารถนำมารับประทานได้มั๊ยคะ มีอันตรายมากหรือเปล่า รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยค่ะ

โดย:  POKO  [7 ส.ค. 2552 17:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:13

อยากขอข้อมูลเรื่อง สารไกลโฟเสต อย่างเช่นสว่นประกอบ สูตรโครงสร้าง หรือใครมีเว็ปช่วยกรุณาด้วยน่ะครับ

โดย:  tu  [19 ส.ค. 2552 11:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:14

แล้วแอมโมเนียมีกี่ชนิด

ใช้ทำอะไรได้บ้าง เช่น

น้ำยาง

แล้วอื่น


โดย:  NLD  [7 ก.ย. 2552 18:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:15

อยากทราบว่าถ้าแอมโมเนียเกิดการรั่วไหลออกมาจากเครื่องทำความเย็นแล้ว ถ้าเราแช่เนื้อในนั้น ถ้าเกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เราจะทดสอบอย่างไร และกฎหมายมีการบังคับว่าสารนี้จะต้องมีการปนเปื้อนเท่าไร   ใครรู้กรุณาช่วยตอบให้ทีนะคับ

โดย:  joe  [2 ก.ค. 2553 10:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:21

สวัสดีค่ะ  ธัญญ่า มี คำถามเกี่ยวกับ แอมโมเนียค่ะ  อยากทราบว่า วิธีการ หรือ ขั้นตอนการ ลดกลิ่น หรือ ขจัดกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย ให้มีกลิ่นที่ไม่ฉุนมากในทางเคมีแล้ว จะมีวิธีการแยกกลิ่นออกค่ะ NH3 ค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ

โดย:  Tanya Ponroungoen  [30 พ.ย. 2554 11:18]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:22

หนูมีคำถามเกี่ยวกับแอมโมเนียค่ะ คือว่าอยากทราบว่า แอมโมเนียมีฤทธิ์เป็น กรด หรือ เป็นด่างคะ

โดย:  jane  [10 มี.ค. 2555 16:14]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:23

Need Hydrochloric acid and Liquid ammonia, Carbon ammonia
Leethong
Vientiane lao p.d.r
00856 20 222 071 60
Email:teachinlao@hotmail.com


โดย:  leethong  [19 ก.ค. 2555 10:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:24

Your aneswr lifts the intelligence of the debate.

โดย:  Kari  [28 ก.ย. 2555 10:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:28

อยากถามว่าหลังฝนตกแล้วทำไมมักได้กลิ่นได้กลิ่นแอมโมเนีย  ช่วยตอบที

โดย:  adi156  [1 พ.ค. 2557 16:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:29

เมื่อเราผสมแอมโมเนียเข้ากับน้ำ,ทำไมถึงเกิดความร้อนครับ,แล้วเราจะมีวิธีลดความร้อนของน้ำที่ผสมแอมโมเนียได้อย่างไรครับ,ผู้มีความรู้ช่วยตอบด้วยครับ,ขอขอบคุณครับ


โดย:  โก้  [11 มิ.ย. 2557 23:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:30

ดื่มโซดา ทุกวันทำให้แอมโมเนีย เจือจางได้จริงไหมครับ เพราะผมทำงานสำผัส สูดดมทุกวัน มึนหัว ทุกวันเลย เวลาตื่นมาเช้าๆ

โดย:  เพชร  [15 ส.ค. 2557 22:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:31

ทุกวันต้องทำงาน กับสารแอมโมเนีย สามารถทำอย่างไร ที่จะทำให้สารสะสมในร่างกายเจือจาง ให้มากที่สุดเช่นจะกินอะไรไปล้างความเจือจาง หรือออกกำลังกาย ดื่มโซดาทำให้เจือจางได้จริงไหมครับ เพราะผมทำงานสำผัส สูดดมทุกวัน มึนหัว ทุกวันเลย เวลาตื่นมาเช้าๆ

โดย:  เพชร  [15 ส.ค. 2557 22:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:32

เหม็นกลิ่นคล้ายแอมโมเนียข้างตู้เย็น อันตรายไหม เพิ่งซื้อใหม่มาสามเดือนนี่เอง

โดย:  ประพัฒน์  [17 ก.ย. 2557 19:08]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:33

แอมโมเนียมีกลิ่นฉุนอยางแรง พอดีผสมกับนำมันเครืองอยู่ พอมีวิธีดับ
ไม

โดย:  มะ ยิงตูวา  [4 ม.ค. 2558 15:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 25:34

อยากทราบวิธีดับกลิ่นนำมันที่ถ่ายจากเครืองทำความเย็น กลิ่นแอมโมเนีย

โดย:  มะ  [4 ม.ค. 2558 15:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 26:38

น้ำยาดับกลิ่นแอมโมเนีย
น้ำยาดับกลิ่นแอมโมเนียนี้ ใช้เพื่อกำจัดกลิ่นอย่างถาวร โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
ส่วนประกอบ : Organic salts, Amine compounds, Betaine compounds,
Interface surface, Activators, Water
ลักษณะ : ของเหลวใส ไม่มีตะกอน
จุดเดือด : -
จุดวาบไฟ : สูงกว่า 62 องศาเซลเซียส
pH @ 25oC : 7.0 – 8.5
ความสามารถในการติดไฟ : ไม่สามารถติดไฟได้
ความสามารถในการละลายน้ำ : สามารถละลายน้ำได้ดี ไม่เป็นตะกอน

โดย:  mr sirichai kangvantham  [10 มี.ค. 2560 16:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 27:39

แอมโมเนียที่ละลายน้ำแล้วสามารถนำไฟฟ้าได้มั้ยคะ อยากทราบว่าแอมโมเนียเป็นอิเล็กโทรไลต์ประเภทไหนค่ะ

โดย:  ปัจจัย  [30 ต.ค. 2565 16:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 28:40

สวัสดีครับ ถ้าท่านใดมีความสนใจในการตรวจสอบแอมโมเนียในน้ำ หรือข้อมูลพื้นฐานของแอมโมเนีย เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบ สามารถเข้ามาแวะชมทางเว็บไซต์ของเราได้ครับ ผมแปะลิ้งค์ไว้ตามนี้ครับ https://th.hach.com/parameters/ammonia

โดย:  Hach Thailand  [1 พ.ย. 2566 09:33]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น